Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Performance Talks & Engine Modifications

นำส่วนผสม...กล่องข้าวน้อย2 มาพักไว้ก่อน (รอพี่อ๊อดมาปรุงใหม่)

<< < (3/14) > >>

พี่นะ [Na ratchada]:
มาเพิ่มเติมข้อมูล ครับ

***พอดีมีเพื่อนสมาชิก สอบถามว่าวิธีที่ทางเราแนะนำ  3 step  นี้คือสูงสุดของการแต่งเครื่องยนต์หรือป่าว ?????

----ขอตอบว่า ไม่ใช่ครับ  อาจเรียกได้ว่าขั้นพื้นฐานเท่านั้นครับ   ในการเสริมเติมแต่งให้ได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สัก 20-30 %  บนพื้นฐาน Hardware Engine เดิมๆ    ไม่เพิ่มเติมท่อไอเสีย  หรือกรองอากาศชนิดพิเศษ   และทำให้การดูแลบำรุงน้อยกว่า

*** ส่วน Step สูงกว่านี้นั้น   ต้องจูนกล่องหลัก     หรือ กล่องยก+กล่องดันมีแบรนด์     Hardware บางส่วนต้องปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับ   การระบายต้องดี   ระบบถ่ายเทความร้อนดี   ระบบดี   Software Tunning ตามไปได้หมด    แบบนั้นเฉพาะทางต้องปรึกษาผู้ชำนาญการและผู้มีประสบการณ์เฉพาะด้านครับ      เราไม่ได้ไปกันที่จุดนั้นครับ

ข้อมูลที่แนะนำกันไป  ไม่ใช่ขั้นสูงสุดที่เล่นได้   แต่เป็นขั้นที่ต่ำกว่าขั้นสูงสุด 1 ขั้น   เพื่อหวังผลเรื่อง Safety ด้วย     ส่วนการตอบสนองที่ได้มาเรียกได้ว่าดีกว่าเดิมมากครับ

การให้ข้อมูลก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า  เราให้ข้อมูลเทียบกับของที่เราเคยเล่น  เคยลอง กันมา  มีดี-มีเด่น-มีด้อย  แตกต่างกันไป   แต่โดยรวมเรียกได้ว่าดีกว่าครับ 
และของที่เคยเล่นกันมาไม่ใช่ไม่ดี   เพราะเราก็ไม่ได้ถอดระบบออก  แค่ใส่ terminate ไว้    อยากใส่เมื่อไหร่ก็ได้ครับ


****ขอย้ำอีกครั้ง !   กล่องทุกประเภท  ใส่แล้ว  ให้ผลใกล้เคียงกัน   อยู่ที่คนจูนและทีมสนับสนุนมากกว่าที่ใส่ใจกันมากน้อยแค่ไหน   และมีปัญหาสามารถรับผิดชอบได้มากน้อยเพียงใด

***ข้อมูลเชิงเทคนิคบางอย่าง  ไม่ได้เอามาจากทางร้านที่ดูแลให้ทั้งหมด     แต่มีทีมสนับสนุนข้อมูลเทคนิคเพิ่มเติมมาให้ แบบไม่อ้างอิงตำราและคู่มือ ( แล้วแต่จะพิจารณาเชื่อถือ ครับ )


เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับเล่นสนุกๆ กันครับ

พี่นะ [Na ratchada]:
มาแช่ต่อเรื่องความร้อนและอัตรา boost  จากเครื่อง  2500 GT  Y2010  + Step 3 with Autometer Guage

ความเร็วแช่   100-120     boot 10-11 psi             ความร้อน  83-85C  /  187F

ความเร็วแช่   130-140     boot 12-14 psi             ความร้อน  85-87C  /  190F

ความเร็วแช่   150-160     boot 14 -16 psi            ความร้อน  90-92C  /  195 F

ความเร็วแช่   170-190     boot 17-18 psi             ความร้อน  95-98C  /  195-210F


boot peak 19 psi  จังหวะส่ง /  และลดลง  2-3 psi  จังหวะแช่

*** องศาฟาเรนไฮ เป็น  องศาเซสเซียส  =  (องศา F - 32) x 5 / 9 =  ?  องศา C

***ฉะนั้นถ้าจะแช่  แช่กันที่ความร้อน 90-93C  หรือ   195F  กันพอครับ    ที่เหลือไว้ช่วงกดแซง   จะได้ใช้กันยาวๆ

พี่นะ [Na ratchada]:
(เครดิตพี่อ๊อด ราชรี)
การขึ้น Dyno ครั้งนี้ แม้กระทั่งทีมงาน ติดตั้ง ก็ยังไม่รู้มาก่อนว่าเรา 2 คนแอบไปขึ้นเองมาเรียบร้อย
เพราะฉะนั้น นี่ไม่ใช่ผลจากการที่ทางทีมงาน iFrit เตรียมตัวปรับจูนไว้ล่วงหน้า เพื่อการปรับแต่งกราฟให้สวย
หรือเพื่อการปรับค่าแรงบิดแรงม้าให้สูงๆสำหรับการขึ้น Dyno

ผลที่ได้ของรถผมและรถพี่นะ ในแบบ step 3 ที่จูนจากความรู้และการทำการบ้านมาอย่างหนักของทีมงาน iFrit
บวกกับความรู้สีกจากการบอกเล่าจากการขับขี่จริงๆ ของทั้งผมและพี่นะ เพื่อการปรับเปลี่ยนค่าการจูน

ผลที่ได้ ของผมทางขวา ของพี่นะทางซ้าย step 3 เหมือนกัน แต่หัวฉีดคนละรุ่นกัน


รถของผม แรงบิดสูงสุด 426.7 ที่ 2,135 rpm
แรงม้าสูงสุด 183 BHP  ที่ 3,860 rpm

รถของพี่นะ แรงบิดสูงสุด 474.2 ที่ 1,765 rpm
แรงม้าสูงสุด 177.3 BHP  ที่ 3,855 rpm

พี่นะ [Na ratchada]:
(เครดิตพี่อ๊อด ราชรี)
ทำความเข้าใจกับกล่องข้าวน้อย ภาค 2 กันซักเล็กน้อยครับ

ในชุดจะประกอบไปด้วย กล่องกับชุดสายไฟที่เป็นแบบปลั๊กเสียบ


เวลาติดตั้งก็จะทำการเสียบปลั๊กในห้องเครื่อง จากนั้นก็ลากสายเข้ามาในรถเสียบเข้ากับตัวกล่อง


จะมีสายอีก 1 ชุดไปเสียบที่ขั้ว OBD ใต้พวงมาลัย แล้วลากไปต่อเข้าที่กล่อง เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง


ในชุดจะมีปลั๊กหน้าตาแบบนี้แถมมาด้วย ให้เก็บเอาไว้


และจะใช้ก็ต่อเมื่อมีการนำรถเข้าศูนย์และศูนย์จำเป็นต้องเสียบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขั้ว OBD ใต้พวงมาลัย
ก็ให้ถอดขั้วที่เสียบใต้พวงมาลัยออก จากนั้นก็นำปลั๊กที่แถมมาเสียบแทนที่ตัวกล่อง
เป็นการยกเลิกการใช้งานกล่องโดยสมบูรณ์


แต่หากวันนึงไม่ต้องการมันแล้ว ต้องการจะถอดออก ก็ทำการถอดปลั๊กที่ในห้องเครื่อง ถอดปลั๊กใต้พวงมาลัย
เก็บสายทั้งหมด ตัวรถก็กลับอยู่ในสภาพเดิม ไม่มีใครรู้ว่าเคยใส่กล่องมา

แต่หากมีการทำ step 2 เพื่อให้ใช้ประสิทธิภาพของกล่องให้เต็มที่ จะมีการทำท้ายราง
ซิ่งนั่นหมายถึงว่ามีการดัดแปลงในส่วนนี้แล้ว เพราะฉะนั้นส่วนของท้ายรางและตัวรางก็จะหมดประกันไป
แต่ไม่ต้องเป็นห่วงว่ารางจะเสียจะแตก เพราะทาง iFrit เข้าใจจุดนี้ดี จึงพิถีพิถันในการทำและติดตั้งท้ายราง
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาได้ในอนาคต ซึ่งผมก็มั่นใจในทีมงาน iFrit


และถามว่าต้องอุด EGR ด้วยหรือไม่ ผมก็แนะนำว่า ไม่อุดก็ใช้ได้ แต่ส่วนมากแล้วก็จะอุดกัน

ที่ step 2 เป็นอะไรที่ผมได้ลองใช้งานมาแล้วถือว่า พอแล้วสำหรับรถใช้งานบ้านๆทั่วไป ไม่ได้เอาไปแข่ง
การตอบสนอง ความกระฉับกระเฉงถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว เป็น step ที่ไม่ต้องเน้นการดูแลมาก
ใช้งานอย่างเดียว ตรงตาม concept ที่ผมและพี่นะวางไว้คือ แรงระดับนึง ใช้กันยาวๆ ไม่ต้องคอยปรับจูนหรือดูแลอะไรให้มากมาย

ถามว่าแรงกว่านี้ได้อีกมั๊ย ตอบว่าได้ครับ แรงแบบปลอดภัยนั่นคือ step3 หรืออยากแรงกว่านั้นผมก็ทราบดีว่ายังไปได้อีกเยอะ
แล้วจะต้องเตรียมอะไรไว้บ้าง เปลี่ยนโน้น เปลี่ยนนี่ และอย่างน้อยก็ค่าซ่อมรถล่ะครับ

ยังมีอุปกรณ์อีก 1 ตัว ที่แยกขายตางหาก นั่นคือ Smart Gauge รุ่นพิเศษสำหรับกล่อง iFrit
โดยความสามารถของมันมีมากมาย มีไว้แล้วได้ใช้ประโยชน์อีกเยอะเลย ซึ่งผมจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไปครับ

พี่นะ [Na ratchada]:
ที่พวกเรายอมเหนื่อยกันมาก็เพราะ  การปรับจูนเทคโนโลยีเข้ากับข้อจำกัดของเครื่องยนต์   ที่มีข้อมูลสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา    จึงมีทีมที่ไม่ประสงค์ออกนาม   คอยช่วยเหลือและสนันสนุน  การทดสอบและการ review การใช้งาน   ทุก Step   ทั้ง  1   2   และ 3   เพื่อหาค่าและกำหนดเป็น mode มาตรฐานสำหรับปาเจโร่ สปอต โดยเฉพาะ  ครับ

กรณีหากมีความเสียหายเกิดขึ้นหรือผลจากการใส่กล่อง IFRIT ที่มีการติดตั้งหรือยินยอมจากทีมงานเอง    จนศูนย์ปฏิเสธการรับประกันนั้น    ทางทีมงานมีทางออกและการแก้ไขให้รถของท่านกลับมาใช้งานได้แบบเดิมด้วยอะไหล่แท้และการบริการแบบทันที (**ทั้งนี้ต้องไม่มีการปรับแต่ง  ดัดแปลงเพิ่มเติม   ที่มากกว่าลิมิตควบคุมนะครับ)

แรงแบบอยู่ในข้อจำกัด  ไม่ต้องดูแลมากมายพิเศษอะไร   ไม่ต้องเปลี่ยนอะไหล่อื่นๆรองรับ   ไม่ต้องใช้น้ำมันเครื่องชนิดพิเศษ   ไม่ต้องเปลี่ยนกรองอากาศเปลือยหรือแต่ง    ไม่ต้องเปลี่ยนระบบไอเสียใดๆ    ไม่ต้องขยับบูสหรือหนุนอะไรให้วุ่นวาย    ใน Step 2 ที่แนะนำกันนี้ ครับ

Note : การปรับจูนและเป้าหมายของพวกผม  ไม่ใช่แรงที่สุด  หรือแรงบิดที่มากที่สุด   แต่คือการปรับแต่งเพื่อเอาค่าที่ดีที่สุดของข้อจำกัดในเครื่องยนต์  โดยที่ไม่เปลี่ยนอะไหล่หลักๆ  และไม่ต้องดูแลรักษา   สิ่งที่ต้องการคือ
 1. ความสมูธ ของอัตราเร่ง  ในช่วงทุกรอบเครื่องยนต์ 
 2. การเดินรอบด้วยรอบเครื่องที่ไม่สูงมาก   
 3. การต่อเกียร์ที่สัมพันธ์ความเร็วรอบ
 4. อัตราเร่งแซงทุกช่วงจังหวะ  ที่รอบต่ำ 
 5. อัตราเร่งแซงที่รอบกลาง   
 6  และช่วงหวังผล  80-120 km/h 
 7. และสุดท้ายคือความคุ้มค่าของน้ำมันเชื้อเพลิง   
 8. ตลอดไปจนถึงการดูแลรับผิดชอบหลังการขาย

แค่นี้แหละครับ  จะกล่องอะไร  ยี่ห้ออะไรก็ได้  ถ้าให้ได้เท่านี้   เราจะพิจารณาเลือกใช้ครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version