Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Performance Talks & Engine Modifications
ว่าด้วยเรื่องหม้อ....คร้าาาาาบ....ฟ้้วววววววว
พี่นะ [Na ratchada]:
มาเพิ่มข้อมูลคั้นเวลาครับ
อ้างอิงเครดิต จาก พี่นะ@ปามาเนีย post#3 http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,84.msg18986/topicseen.html#msg18986
:L4363: :L2739:
การกำเนิดของความร้อน ลองสังเกตุกันดู
รถเดิมๆปกติที่ไม่ได้ใส่กล่องดันรางคอมมอลเรียล จะให้ค่าแรงดันคอมมอลเรียล(CRP)เป็นไปตามการออกแบบที่คำนวณไว้ ดังนั้นจากรูปจะสังเกตุว่าเส้นสีฟ้าคือแรงดันที่ค่อยๆเพิ่มขึ้นซึ่งมีสโลปไม่ชันมากจะค่อยๆขึ้นตามจังหวะการเพิ่มน้ำหนักของคันเร่งหรือระยะของคันเร่งลึกลงเรื่อยๆ จะสังเกตุว่าเส้นสีแดงก็คือเส้นของความร้อนที่เกิดจากขบวนการสันดาปของเครื่องยนต์เมื่อยิ่งมากยิ่งเร็วขึ้นเท่าไหร่ก็สร้างความร้อนมากขึ้นเท่านั้น ฉะนั้นการเกิดของความร้อนจึงขึ้นตามแรงดันcrp ที่เพิ่มขึ้น และเส้นสีเขียวด้านล่างคืออัตราการระบายความร้อนของหม้อน้ำซึ่งสามารถระบายได้ทันและเหมาะสมกับความร้อนที่เกิดขึ้นในช่วงต่อหนึ่งหน่วยของเวลา ตามหลักการออกแบบเชิงพานิช(เชิงพานิชก็คือต้นทุนที่ดีที่สุดและได้สัดส่วนของกำไรที่ดีที่สุด) ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากนัก
ต่อมามาดูรูปนี้ เมื่อเราดันราง
เมื่อรถเราไปใส่กล่องดันราง ก็คือการใส่อุปกรณ์ไปหลอกล่อให้กล่องECU จ่ายน้ำมันมากกว่าปกติเพื่อสร้างค่าแรงดัน crp ใหม่ โดยปกติแล้วการคำนวณที่ผิดผลาดของกล่องecu นั้นก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ แต่เขาก็ยังออกแบบ sensorท้ายรางมาช่วยไม่ไให้แรงดันcrpสูงมากเกินไปจนรางฉีดคอมมอลเรียลมีปัญหา ซึ่งพอค่าสูงเกินกำหนด sensor ท้ายรางจะเปิดทิ้งทำให้แรงดันลดลง กำลังลดลง อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ พอเราไปใส่กล่องและปรับแต่งsensorท้านรางแล้วจะทำให้ sensor ทนแรงดันมากขึ้นกว่าเดิม ผผลก็คือเครื่องยนต์สามารถสร้างแรงดัน crp ได้สูงมากกว่าเดิมในระยะการกดคันเร่งที่เท่ากันเมื่อมีการหลอกแรงดันcrpแล้วจะทำให้แรงดันสูงมากกว่าปกติ ทำให้รถมีอัตราเร่งดีขึ้นมาก ดังรูปที่เส้นสีฟ้ามีการยกตัวขึ้นตามความสามารถของการปรับจูน และเมื่อค่า crp เริ่มช้นและตั้งสูงขึ้นก็เกิดความร้อนขึ้นตามเป็นปกติของการทำงานของเครื่องยนต์ และหากเราค่อยๆกดเติมคันเร่งก็คือการค่อยๆเพิ่มค่า crp ให้ค่อยๆสูงขึ้นแบบรูปแรกบน การเกิดความร้อนก็ช้าลงตามปกติ
คราวนี้มาดูเรื่องการกดคันเร่งเร็ว กดแช่ เค้น กับการกดช้า มีผลอย่างไร
สังเกตุจากภาพแรกเมื่อเราใส่กล่องดันรางก็ทำให้รถเรามีความสามารถดีดเส้นสีฟ้าขึ้นไปได้และทำให้ได้อัตรเร่งที่ดีกว่าเดิมแจาเรากดคันเร่งแต่พอหอมปากหอมคอ ค่อยๆเติม ค่อยๆริน ค่อยๆกดเติมแบบรินน้ำชา(สูตรรั้วสังสะสี) รถเราก็จะมีอัตราเร่งขึ้นตามจังหวะกดและการเกิดความร้อนก็ค่อยๆเกิดตามปกตินั้นแหละ พอเรากดช้าการเดิความร้อนช้าทำให้หม้อน้ำมีโอกาสระบายความร้อนได้ทันการเกิดของความร้อนในหนึ่งช่วงเวลาก็เป็นแบบนี้เรื่อยไป
คารวนี้พอเรามากดคันเร่งแบบยัดคันเร่ง เค้นคันเร่ง กันและรกเราก็เปิดความสามารถโดยการดันราง ทำท้ายรางกันมาแล้ว คราวนี้เส้นสีฟ้าสามารถตั้งชันได้ง่ายมาก ผลคือรถจะมีแรงฉุดดึงที่เร็ว เสียงเครื่องที่มีกำลังขึ้น ค่า crp สูงขึ้นโดยฉับพลัน ในขณะเดียวกันความร้อนก็มาในฉับพลันเมื่อกัน แต่เราลืมไปหรือป่าวว่าการระบายความร้อนของหม้อน้ำเราเชิงพานิชนั้นมันคืออะไร คือมันก็ระบายตามspecของมัน แต่เราสร้างความร้อนต่อเนื่องและอยู่นอกเหนือขีดจำกัดของสโลปของแรงดัน crp จึงเกิดการระบายความร้อนไม่ทันและช่วงเค้นก็จะกลายเป็นความร้อนสะสมในเครื่องที่ยังระบายไม่หมด พอเรายิ่งเค้นยิ่งสูงของเก่าก็สะสม ของใหม่ก็สร้างความร้อนก็เลยสูงตามแค่นั้นเอง จังหวะนี้หากเรามี SMG ก็จะร้องเตือนบอกว่า " พอก่อนเว้ยเฮ้ย! ยกหน่อยรอให้หม้อน้ำระบายความร้อนก่อนเดี๋ยวกดใหม่ " ถ้าเราเชื่อเราก็ยกค้างไว้ water temp ก็ลดลง สักพักก็กดใหม่ได้ แต่ถ้าเราไม่ยกล่ะก็ร้องลั่นอยู่แบบนั้นจนกว่าอะไรจะบินออกจากเครื่องสักชิ้น2ชอ้นคงจะหยุด ถ้ามันมากพอ
นี้คือเหตุการณ์ปกติของมันนะครับ ฉะนั้นเรียนรู้และเข้าใจมันก่อนว่าความร้อนมาจากไหน และเกิดได้อย่างไร หากงงและสับสนว่าทำไมคันอื่นยี้ห้ออื่นไม่เป็น รบกวนกลับไปอ่านตอน2 และต้นของตอน 3 ใหม่อีกครั้งครับ
แนวทางแก้ปัญหาของปามาเนีย คืออะไร มาดูรูปนี้
จากภาพเมื่อเรายอมรับแล้วว่าการเกิดความร้อนคืออะไร และเราพอจะลดจังหวะตรงนั้นอีกสักหน่อยได้อย่างไร ก็เลยใช้ทฤษฎีจากรั้วสังกะสีที่สอนเรามามาวอเคาระห์และวางแผนการทำอย่างไรให้ เส้นสีเขียวมี range กว้างขึ้นเพื่อให้มีความสามารถรั้งเส้นสีแดงไว้ในขณะที่เส้นสีฟ้ากำลังถูกเค้นขึ้นไปเพื่อรีดแรงและอัตราเร่ง ก็คือการทำอย่างไรก็ได้ในการระบายความร้อนให้เร็ว ระบายความร้อนสะสมให้เร็ว ช่วยให้ความสามารถในการระบายความร้อนในหนึ่งช่วงเวลามากขึ้น ก็คือการทำให้น้ำคายความร้อนให้อยู่ในอุณหภูมิใช้งานให้เร็วที่สุด เพื่อวนเวียนในระบบ จึงเป็นที่มาของเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของการคายความร้อนของเครื่องยนต์
หมายเหตุ : สิ่งที่ทำ สิ่งที่แก้ไข และสิ่งที่ทดสอบ ไม่ได้ทำเพื่อให้เพื่อนสมาชิกไปเค้นความเร็วปลายและอัตราเร่งกันนะครับ ทำเพื่อ safety เครื่องยนต์และเพื่อประสิทธิภาพในส่วนที่เราดัดแปลงแก้ไขเท่านั้น อย่าเอาวิธีนี้ไปใช้แล้วบอกว่ายืนพื้นอยู่ 200+ แค่ 15 นาที เครื่องพังเลย แบบนั้นต้องปรึกษาร้านเฉพาะทางแล้วนะครับ
พี่ดล (2523):
ความรู้ทั้งนั้นครับ พี่นะ :L2900: หน้าพาไปเลี้ยงเหล้าขาวสักขวด :sd23: น้องๆแซวเล่นครับ :L2901:
บุญเลิศ:
นั่งอ่านรวดเดียว 5หน้า
ต้องพูดว่าทางโรงงานSetupมาโดยมี ระยะความปลอดภัย(Safety Factor)ไว้ระดับหนึ่ง
ส่วนพวกเราที่ไม่เคยพอใจกับสิ่งที่โรงงานให้มา โดยเฉพาะพี่นะ ที่หลอกล่อสารพัดให้เออออห่อหมก
และพยายามเตือนอยู่ตลอดเรื่องนี้ตลอด แต่เรามักจะฟังแต่หม้อ ..เอ้ย ความแรงงงงงง อย่างเดียว
สุดท้าย เพิ่มเงินอีกนิด ขยายระยะความปลอดภัย(Safety Factor) ขึ้นอีกหน่อย
และฟังเสียงเตือนจากพี่นะ จาก16ตอน
!ค่าซ่อมมันแพง อยากแรงพึงระวัง (ยังอ่านไม่หมดเลย มันไม่มันเหมือนนิยายของ ตูมตามอิอิ ) :sd10:
พี่นะ [Na ratchada]:
--- อ้างจาก: dol2523 ที่ 5 มีนาคม 2013, 22:07:34 ---ความรู้ทั้งนั้นครับ พี่นะ :L2900: หน้าพาไปเลี้ยงเหล้าขาวสักขวด :sd23: น้องๆแซวเล่นครับ :L2901:
--- End quote ---
มากรุงเทพเมื่อไหร่พา 8 เทพไปให้เลี้ยงข้าวเลยครับ :L2904:
พี่นะ [Na ratchada]:
--- อ้างจาก: bchan ที่ 5 มีนาคม 2013, 23:09:13 ---นั่งอ่านรวดเดียว 5หน้า
ต้องพูดว่าทางโรงงานSetupมาโดยมี ระยะความปลอดภัย(Safety Factor)ไว้ระดับหนึ่ง
ส่วนพวกเราที่ไม่เคยพอใจกับสิ่งที่โรงงานให้มา โดยเฉพาะพี่นะ ที่หลอกล่อสารพัดให้เออออห่อหมก
และพยายามเตือนอยู่ตลอดเรื่องนี้ตลอด แต่เรามักจะฟังแต่หม้อ ..เอ้ย ความแรงงงงงง อย่างเดียว
สุดท้าย เพิ่มเงินอีกนิด ขยายระยะความปลอดภัย(Safety Factor) ขึ้นอีกหน่อย
และฟังเสียงเตือนจากพี่นะ จาก16ตอน
!ค่าซ่อมมันแพง อยากแรงพึงระวัง (ยังอ่านไม่หมดเลย มันไม่มันเหมือนนิยายของ ตูมตามอิอิ ) :sd10:
--- End quote ---
เออสวัสดีครับ ไม่ทราบว่าพี่ชื่ออะไรครับอ่านออกเสียงว่าอะไร ผมทักไม่ถูกเลย พอดีอยู่จากชื่อก็ไม่กล้าออกเสียงครับ
อ่าน 16 ตอนจบแล้วมาสรุปให้ฟังอีกทีนะครับ
:L2753:
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version