ความเข้าใจเรื่องพื้นฐานเรื่องเครื่องยนต์เครื่องยนต์ถูกออกแบบมาจากการถอดแบบเทคโนโลยีของการสร้าง Engine Lab ของรถแข่ง โดยที่ลดค่าพิกัดต่างๆลง เพื่อความคงทน เพื่อลดการสึกหรอ เพื่ออายุการใช้งาน เพื่อลดการดูแลรักษา เพื่อเชิงการค้า เพื่อความได้เปรียบของการช่วงชิงตลาดของคู่แข่ง จากการทดลองทดสอบการทำงานหลายๆอย่าง ทั้งภาคทฎษฎีและปฏิบัตินั้น บางครั้งอาจจะไม่ตรงกันเสมอไป แต่ก็ไม่ได้ต่างกันชัดเจนจากการคำนวณเท่าไหร่ เพราะตัวแปรหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ความสึกหรอของเครื่องยนต์ อายุการใช้งาน การดูแลรักษา ความพร้อมของ engine temp ในการใช้งานทุกครั้ง และความไม่บันยะบันยังของผู้ใช้งาน ทำให้ค่าในกระดานทดสอบหรือค่าแนะนำ สูงกว่าค่าที่เล่นกันจนเครื่องยนต์หลุดกระจายเป็นชิ้นๆ (สาเหตุอาจมาจากแรงม้าเหลือเฟือ เลยพยศดีดเครื่องจนกระจายก็ได้)
เมื่อเครื่องยนต์เชิงพานิชออกสู่ตลาดผู้บริโภค แฝงด้วยกำไรและ margin อะไรก็ตามอย่าเพิ่งไปสนใจหรือนำประเด็นมาถกเถี่ยงกัน ว่าซื้อรถราคาเป็น ล้าน ทำไมได้มาแบบนี้ ถ้าคิดดีๆมันก็แค่ 10 กว่าแสนเองนะครับ มาสนใจในสิ่งที่เราเลือกมาแล้วดีกว่า ว่าสามารถต่อยอดอะไร ได้อย่างไร กันบ้าง
เมื่อเราจะเอารถมาเสริมพลังให้เครื่องยนต์ ก็คือการเพิ่มกำลังให้รถ การเพิ่มการทำงานให้เครื่องยนต์ การบังคับให้รถทำงานหนักขึ้น เพื่อหวังเอาท์พุท ที่ได้มาคือความแรง แต่แปลกทำไมไม่หวังเอาท์บาว กันบ้างเลย (เอาท์พุท = ผลลัพท์ , เอาท์บาว = ผล+ประสิทธิภาพ ) ดังนั้นการจะเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์นั้นสามารถดึงค่าเซฟตี้กลับมาใช้งานได้ แต่ควรเหลือเผื่อไว้บ้าง และการเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์นั้นให้เน้นไปที่อุปกรณ์(hardware)และการควบคุมคู่กันไป อย่าไปเน้นอย่างไดอย่างหนึ่งมากเกินไป เพราะความง่ายของการตกแต่งบางอย่างเช่นเปลี่ยนการควบคุมของระบบนั้นทำได้ไม่มากเท่าไหร่ สุดท้ายก็หนีไม่พ้นการเปลี่ยน hardware ให้รองรับ แต่การทำแบบแรกมักสร้างผลกำไรให้ง่ายกว่าการจับประแจรื้อเครื่องยนต์ ที่อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าใส่กล่องเทพต่างๆ ไม่ต้องแปลกใจอะไรหรอกว่าทำไมร้านค้ามักไม่พูดทำนองนี้ เพราะถ้าพูดไปก็ต้องเปลี่ยนป้ายร้านค้าเป็นชมรม โรงเรียน หรือศูนย์ช่วยเหลือฯ แล้วของที่วางอยู่ในร้านจะไปขายใครล่ะทีนี้
การที่เราให้เครื่องทำงานมากขึ้น ก็คือการเพิ่มความสิ้นเปลืองและเพิ่มความร้อนจากการทำงานที่มากขึ้นของเครื่องยนต์นั่นเอง ฉะนั้นหากเราจะเพิ่มการทำงานของเครื่องยนต์แล้วนั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเพิ่มไปถึงจุดไหน เพิ่มได้เท่าไหร่ ตรงไหนคือจุดพัง แล้วในการเพิ่มแต่ละครั้งตรวจวัด ปรับค่ากันด้วยอะไร ให้โปรดคำนึงถึงสิ่งพวกนี้เป็นหลัก หากเป็นรถเราเองจะใช้วิธีจูนจนชิ้นนั้นพังแล้วบอกว่านี้คือจุดสูงสุด ก็ไม่น่าจะใช่เพราะหลายอย่างมีองค์ประกอบที่กล่าวมาแล้ว จะบอกว่ารู้สึกว่ามันแรงกว่าเดิมหรือวัดด้วยปลายรองเท้า ก็ต้องดูอีกว่าช่วงที่วัดกลางวันหรือกลางคืน ความหนาแน่นของอากาศต่างกันไหม พื้นรองเท้าหนาบางไม่เท่ากัน สุดท้ายก็ต้องพึ่งเครื่องวัดหรือไปยืนหน้าสลด จ่ายตังค์หน้าไดโนเทสนั้นแหละ ถึงจะรู้ หรือได้ข้อมูลลับจากที่ไหนสักที่ว่าค่าที่ได้มานี้เป็นค่าที่ทดสอบมาแล้วจากการทดลองจริง พังจริง ก็อาจจะไม่มีใครเชื่อว่าจาก 100 คนจะเชื่อถึง 80 คนหรือป่าว แบบนี้ก็ต้องพิจารณาจากข้อมูลที่จะแชร์ให้อีกครั้ง ก็แล้วกัน ถึงบอกว่าอ่านผ่านๆอย่าท่องจำแต่ให้เข้าใจ
คำถาม : การแต่งเครื่องยนต์ ให้มีแรง ให้มีกำลัง ให้อัตราเร่งดี กินน้ำมันไหม
?
ตอบง่ายๆ : โอ่กินแน่นอนครับ ! ( แต่กินสั้น )
Note : รถที่แต่งจนมีกำลังและอัตราเร่งดี สามารถใช้เชื้อเพลิงได้คุ้มค่ากว่าเมื่อวิ่งทางยาวและความเร็วรอบเครื่องยนต์ต่อเนื่อง , แต่หากใช้ในเมืองต้องระวังอย่าเร่งบ่อย เพราะความรวดเร็วรุ่นแรงที่ได้มา ต้องแลกกับน้ำมันที่เผาทิ้งไปเสมอ , ฉะนั้นต้องเรียนรู้รถ เรียนรู้เครื่องยนต์ และเรียนรู้วิธีการและหลักการ จะได้รู้ทันช่างที่ชอบแนะนำและพูดจาไม่ค่อยเคลียเรื่องแต่งเครื่องยนต์แล้วไม่กินน้ำมัน หรือประหยัดกว่าเดิม
เอาแค่นี้ก่อน เดี๋ยวว่างๆมาต่อ ตอนต่อไป