Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Technics, Maintenance & Problem solving

ทดสอบเรื่องเกียร์ล็อคกับ 2400 โค้ง

<< < (8/26) > >>

พี่แกะ (PKT):
 :sd23:ข้อมูลแน่น ขอบคุณครับพี่ตาม :sd23:

พี่นะ [Na ratchada]:
อ้างอิงข้อมูลจากชายในตำนาน  บ้านปาโซไทยเนีย  อยู่ทุกบ้าน5555 http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,98.msg484.html#msg484

!ค่าซ่อมมันแพง อยากแรงพึงระวัง...ตอน14-ทำไมเกียร์ทำงานไม่ตรงความต้องการของเรา ?

--- อ้างจาก: Na ratchada ที่ 22 กันยายน 2012, 15:45:57 ---(เครดิต ทีมที่ปรึกษา รั้วสังกะสี)

ตอน14-ข้อสงสัยเรื่องทำไมเกียร์เหมือนทำงานไม่ตรงความต้องการ  เหมือนเกียร์ค้าง  ในบางครั้ง ??



จากระบบเกียร์ IGS ( intelligent gear system ) ที่เราเรียกกันเสมอๆนั้น   มีการออกแบบที่มีเงื่อนไขซับซ้อนอยู่พอสมควร  ซึ่งในแต่ละเงื่อนไขนั้นเป็นการออกแบบการทำงานของระบบให้สอดคล้องกับประเภทรถ  ประเภทการใช้งาน  และประเภทการดูแลรักษา  รวมถึงความนุ่มนวลในการทำงาน

ในเกียร์ของปาเจโร่ สปอต รุ่นที่เป็นระบบออโตเมติก  นั้นออกแบบมาสำหรับการใช้งานทั่วไป  เน้นการตอบสนองที่นุ่มนวล  ไม่มีแรงกระตุกหรือกระชากระหว่างการเปลี่ยนเกียร์  สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเมื่ออุณหภูมิน้ำมันเกียร์สูงได้ระดับพร้อมใช้งาน  น้ำมันเกียร์จะถูกอุ่นจากความร้อนของหม้อน้ำและจะใช้ความร้อนของหม้อน้ำรักษา temp ของ oil gear และใช้ลมอากาศพัดผ่านเสื้อเกียร์ช่วยระบายความร้อนจากข้อดีที่รถสูง   เมื่อน้ำมันเกียร์มีอุณหภูมิสูงพร้อมใช้งานจะมีแรงดันจากน้ำมันกียร์มาช่วยให้ระบบทำงานได้ดีขึ้น   แรงดันและอุณหภูมิของน้ำมันเกียร์ในรุ่นที่ไม่มี oil gear ให้สังเกตุจาก engine temp หรือ water temp (ค่าที่เหมาะสมคือช่วงประมาณ   185-205 องศา F หรือประมาณ  83-96 องศา C ) สำหรับเครื่อง 4D56 Ti (Turbo intercooler)   และทนแรงบิดสูงสุดใช้งานได้มากกว่า  600 Nm  ในรอบใช้งานปกติ   แต่ไม่ได้หมายถึงว่าพอแรงบิดสูงกว่า 600 Nm แล้วจะพังในทันทีนะครับ  ยังมีตัวแปรอื่นๆอีก

แต่จากการทดสอบและใช้งานจริง  จะมีตัวแปรเรื่องความเสื่อมสภาพของเครื่องยนต์  คุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น   น้ำหนักบรรทุก  จากดูแลรักษา   ความร้อนสะสม  การตกแต่งสมถนะเครื่องยนต์มาเป็นตัวแปรร่วมด้วยมากมาย   หากจะปรับแต่งกล่องอะไรก็แล้วแต่   ให้ระวังเรื่องผลจากกาปรับแต่งให้มาก  ว่าวางเป้าหมายไว้ที่อะไรและคาดหวังอะไรในการปรับแต่ง  และหากต้องการปรับจริงแนะนำให้ปรับแต่งจากแรงบิดเดิมในรุ่นดังเดิม (140แรงม้า)หรือรุ่น Turbo ธรรมดา   ไม่เกิน  70%  และในรุ่นที่ปรับแต่งเครื่องยนต์มาจากโรงงาน(178แรงม้า)  ไม่เกิน 35 %   ทั้งนี้ให้ระวังเรื่องแรงบิดในรอบต่ำไม่ควรเกิน  520-580 Nm  ในช่วงรอบไม่เกิน  1400 - 2100 rpm และระวังเรื่องการออกรถด้วยแรงบิดสูงๆในรอบต่ำบ่อยๆจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเกียร์อย่างมาก

คราวนี้มาเข้าปัญหาเรื่องการใช้งานเกียร์ในเงื่อนไขของการทำงานของเครื่องยนต์ที่มีความแตกต่างจากการใช้งานปกติ  ในสภาวะต่างๆ 
1.   เมื่อความกดอากาศมีการเปลี่ยนแปลง  อุณหภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลง   การทำงานของเกียร์กับความสัมพันธ์ของรอบเครื่องอาจมีความผิดปกติอันเนื่องมาจาก  ตัวแปรภายนอก   บ้างแต่อาจไม่มากนัก   วิ่งสักพักจนเครื่องร้อน   อาการจะดีขึ้น

2.   การใช้รถบนทางลาดชัน  ด้วยเกียร์ D โดยการขับด้วยรอบเครื่องที่ต่ำและเพิ่มความเร็วคันเร่งในขณะที่รถอยู่ในลักษณะการฉุดลากเครื่องยนต์   หรือน้ำหนักบรรทุกเยอะหรือกำลังไต่ทางชันที่มีระยะทางยาว   จนมีผลทำให้ในหนึ่งช่วงเวลาอัตราตอบสนองของเกียร์และรอบเครื่องห่างกันมาก    ระบบจะรู้ทันทีว่าขณะนี้รถกำลังอยู่ในสภาวะต้องการแรงฉุดลากจึงคงเกียร์นั้นไว้   แต่หากเราไปเพิ่มความเร็วด้วยการกดคันเร่ง    ระบบจะพยายามเร่งเครื่องเพื่อเปลี่ยน step gear แต่ด้วยเงื่อนไขนั้นคงอยู่ระบบ gear จึงยังไม่เปลี่ยน( gear hold to safe mode)   บางคนชอบเรียกว่าเกียร์ล็อค   บางทีถึงกับเอ๋อ  งง ไปเลยก็มี    ผลคือมีการตอบสนองแต่รอบเครื่องแต่เครื่องเร่งไม่ไป    แต่หากวิ่งมาด้วยรอบเครื่องที่สูงกว่าพอประมาณและนิ่งจะได้ความสัมพันธ์ของเกียร์กับแรงฉุดลากในรอบต่ำขณะเข้าเกียร์ D ได้การตอบสนองที่ดีกว่า   แต่ความจริงจะเป็นเช่นนั้นหรือป่าว  ต้องอยู่ที่จังหวะและโอกาศเท่านั้น  ( วิธีแก้ไข : หากพบอาการนี้  ให้เปลี่ยน Gear มาที่ select mode แล้วลดลง 1 step  เครื่องจะกลับมามีแรงทรงตัวขับเคลื่อนขึ้นไปได้  ด้วยการคงที่รอบเครื่องไว้  จนพ้นทางลาดชันนั้น)

ระบบนี้จะเอาเงื่อนไขจาก speed sensor กับ รอบเครื่องยนต์ มาเข้าเป็นเงื่อนไขกับช่วง 1 หน่วยเวลา    โดยลักษณะการเกิดจากการใช้งานจริงจะมีลักษณะดังนี้
                      2.1  รถกำลังไต่ขึ้นทางชัน  ความเร็วต่ำ  รอบเครื่องสูง   ห่างกันเกินไป (สาเหตุจากการเร่งส่งเพราะกลัวไม่ขึ้น  กลัวรถไหล)
                      2.2  ใช้เกียร์ D ขึ้นทางชันมา  หากความเร็วพอจะไปได้แต่หากความเร็วไม่พอ รอบเครื่องตกจึงจำเป็นเร่งส่ง  พอไม่ขึ้นสับเกียร์เป็น +/-  โอกาสที่จะเกิด
                             การ hold gear ก็ยังเกิดขึ้นได้เพราะรถรับรู้เงื่อนไขแล้ว
                      2.3  ใช้เกียร์ +/- ก่อนขึ้นทางชัน   แต่เร่งจนรอบสูงไม่สัมพันธ์กับความเร็วก็อาจจะเกิดอาการได้  แต่โอกาสน้อยกว่ามาก
                      2.4  รถที่ติดตั้งกล่องคันเร่ง  แต่จังหวะแบบนี้แล้วกดคันเร่งจะยิ่งเป็นการเพิ่มระยะห่างของความสัมพันธ์  โอกาสเกิดง่ายมาก  ต้องประคองจังหวะดีๆ
                      2.5  รถรุ่น 4wd หากใช้  4hi   4low  ก็รักษาระดับความเร็วกับรอบให้รถมีกำลังก็สามารถขึ้นได้ด้วยเกียร์ D  แต่หากแรงตกรอบสูงเมื่อไหร่  ลดเกียร์ด้วย
                             ระบบ +/- ได้ 1-2 step   อาจไม่พบอาการดังกล่าว   เพราะรถมีแรงหน่วงรอบจากการขับเคลื่อน 4 ล้อ
                      2.6  รถกำลังลงทางชัน   ความเร็วดีกว่า  รอบเครื่องต่ำลง  (แบบนี้ไม่ค่อยเกิด  แต่ระวังเบรคเฟด  อย่ากดเบรคบ่อย   หากรู้ว่าเบรคไหลอย่าตกใจ  ใช้เบรค
                             มือช่วยประคองได้โดยการกดปุ่มที่ปลายก้านค้างไว้  แล้วดึงขึ้นเป็นจังหวะ  ทดแทนแบบประคอง)
                      2.7  ให่พิจารณาเลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสม  ก่อนเข้าหาอุปสรรค รับรองจะไม่เจออาการดังกล่าว
                             

3.   หลังจาก  ผ่านอุปสรรคในข้อ 2 แล้วลงมาบนพื้นราบหรือแนวระนาบ   หากพบหรือมีอาการเกียร์ค้างไม่ยอมเปลี่ยน  อย่าเพิ่งตกใจ   เพราะเครื่องยนต์จะไม่รู้ว่าคุณยังต้องการสภาวะฉุดลากอยู่หรือป่าว  ให้ทำดังนี้
                a.   ขับไปปกติแบบนั้นแหละ  ใช้รอบเครื่องปกติ  วิ่งด้วยระยะทางยาวสักนิด  อย่าเร่งมาก  เดี๋ยวระบบจะคืนกลับมาเอง
                b.   ขับด้วยรอบเครื่องนิ่งๆไปสักพัก  อย่าเร่งมาก  ระบบจะกลับสู่สภาวะปกติ
                c.   หรือจอดรถเข้าเกียร์ N ปล่อยเดินเบาสักพัก   ค่อยเข้า Gear D ออกตัวไป
                d.   หรือจอดรถดับเครื่อง   สักพักแล้วค่อย start ใช้งานใหม่ 
                e.   หรือให้เลือกตัดสินใจใช้เกียร์ให้ถูกต้อง  ก่อนเข้าสู่อุปสรรค


หมายเหตุ: การดัดแปลงเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังต่างๆมีผลต่อการปฎิเสธ การรับประกันของศูนย์บริการรถยนต์  โปรดคำนึงถึงข้อดี ข้อเสีย  และข้อจำกัดเรื่องการใช้งานให้มากๆ  ก่อนพิจารณาตัดสินใจ  โดยขอให้ตกแต่งอยู่ในกรอบสีแดงนี้เท่านั้น
--- End quote ---

ใครอยากทดสอบแนะนำไปที่ห้างใดหรือตึกใดก็ได้ที่ทางขึ้นตึกชันๆ ยาวๆ  ให้จอดรถล้อหน้าแตะมุมเงยเดินเบาแล้วเข้าเกียร์ D  เดินหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ  ค่อยๆเร่งเติมสักพีกจะเกิดอาการแรงห้อย   ลองกดคันเร่งส่งซิ  รถจะไม่ค่อยขึ้นยิ่งเร่งยิ่งห้อยยิ่งเร่งมากควันออกตูดสักพักเกียร์จะกระชากหน่อยแล้วไต่ขึ้นไปแบบรอบสูงๆ  อาจเจออาการ gear hold ได้บ้าง


และสำหรับที่บอกว่า engine temp ขึ้นสูงนั้นเพราะอ่างน้ำมันเครื่องเอียง   เร่งเครื่องมาก  รอบสูง  การเสียดสีเยอะความร้อนขึ้นเป็นธรรมดาครับ   ไม่เกี่ยวกับอาการgear hold เลยครับ    ถ้าจะเป็นแบบนั้นจริงน่าจะมีอย่างเดียวคือเกียร์ไหม้ครับ

SMG วัดความร้อนจากระบบ  ระบบเอาความร้อนจาก sensorที่คอท่อจากเครื่อง   ขณะที่ Engine temp สูงนั้นคือความร้อนจาก water temp + ความร้อนสะสมใน engine temp โชว์มาที่ SMG   ถ้าอยากรู้ว่าจริงไหมต่างกันอย่างไรต้องติดตัววัดแบบผมครับทั้ง  water temp  และ SMG จะเห็นว่า SMG วัดได้มากกว่าชั่วขณะ   

ส่วน oil gear temp นั้นเอาความร้อนของหม้อน้ำขาออกซึ่งผ่านการคลายความร้อนแล้ว   ฉะนั้นการที่ SMG ร้องที่ 95 หรือที่เท่าไหร่ก็ได้ที่ตั้งเตือนกันไว้   ไม่ได้หมายความว่า  Oil gear จะมี temp สูงเท่านั้นนะครับ  สบายใจได้เลย

ฝากอีกเรื่องคือ  ค่าความเร็วล้อจาก SMG อย่าเอาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณหรือเปรียบเทียบนะครับ  เพราะค่านั้นสามารถตั้งค่าพารามิเตอร์ทดหน่วยแทนได้   หากยังไม่มีการปรับเทียบกับ GPS  หรือกับเสาหลักกม. ข้างถนนสัก  20-30 เสาเทียบกับไมล็รถแล้วคิดเฉลี่ย %แล้ว   จะเป็นค่าที่ไม่รู้จะอ้างอิงกับอะไร  ต้องตั้งก่อนจึงจะนำมาใช้งานได้ตรงครับ

เพื่อเป็นข้อมูลเสริมจากเรื่องเล่าของพี่ตามนะครับ   หากสนใจตอนอื่นๆ   รบกวนที่ห้องเครื่องยนต์เลยครับ  จัดไว้ให้ถึง 16 ตอนเลย
 :L2736:

พี่โต้ง Tongsom:
ขอแชร์นิดหน่อยครับ ผมก็เพิ่งไปมา 16- 17 ที่ผ่านมา ไปตลาด แม่สอด ริมเมย คนนั่ง 5 คน ของเต็มหลังรถ Temp. ตั้งไว้ที่ 100 ถึงร้องเตือน
กล่องดันราง set ไว้ที่ Racing ตลอด. Smart G. เบอร์ 5 ( ตูดถึงดำปี๋ )
Temp. ขณะขับขึ้น ไม่เกิน 93 ขาขึ้น หรือ ขาชัน ขับที่ตัว D ตลอด
ความเร็ว ใช้ลักษณะ เลี้องคันเร่ง การส่งตัว ทางคดเคี้ยว ถ้าไม่มีรถสวน ขับแบบลัดตัดโค้ง
พอหมดทางชัน จะเจอขาลง เปลี่ยน จาก D - 3 ใช้ Engine brake ช่วย แตะเบรค แผ่วๆ แล้ว สับจาก 3 - มา D
สลับ ไปมา เป็น ช่วงๆ แล้วแต่จังหวะ ในขณะนั้น ได้โอกาส แซง ก็ต้องแซง ที่เค้าแบ่งเลนส์ เส้นทึบไว้ให้

ขาขึ้น ไม่เจออาการ Lock แต่อย่างใด
 


ขากลับ สายๆวันที่ 17 ก่อนถึง ตลาด มูเซอ รถเยอะ พอสมควร ลักษณะ การขับเหมือนเดิม
มีครั้งเดียว ที่ Temp ขึ้นไปถึง 100 Smart G. ร้องเตือน สาเหตุ เพราะ ใช้ เกียร์ 3 บ่อยๆ Engine Brake สับมา D. แตะเบรคเลี้องช่วยด้วย สลับ D - 3 - D ตามจังหวะ ส่งตัว เลี้องตัว
Temp ลด ลงมาเรื่อยๆ มาอยู่ที่ 92 - 93 บางครั้ง ลงมาที่ 89 แต่มีโอกาส แซงก็แซง เช่นกัน

ขากลับ จาก แม่สอด ถึง ทางราบ ไม่เกิดอาการใดๆครับ

อย่างที่ พี่ตาม เขียนไว้ " ผลการทดสอบแบบนี้.....สรุปว่า ถ้ายังยัดคันเร่งอยู่....เกียร์ก็ล็อคอยู่ดี....แต่ถ้าค่อยๆขึ้น ไม่กดคันเร่งแรง....แบบนี้ไม่ล็อคครับ....และจากการทดสอบอุปกรณ์กล่องคันเร่งไฟฟ้าก็มีผลกับการล็อคของเกียร์เช่นกันครับ "

อาจเป็นไปได้ว่า ผมไม่ได้ ยัดแรง แต่อาศัย เลี้อง ไป เลี้อง มา ลัดตัดโค้ง ถ้าเห็นข้างหน้าว่าง
คุณ พ่อ และ คุณ แม่ ผม 70 กว่าแล้ว คงจะฉวัดเฉวียงไม่ได้ เด๋ยวคนแก่เมารถ

พี่นะ [Na ratchada]:

--- อ้างจาก: โต้ง Tongsom ที่ 20 เมษายน 2013, 23:38:37 ---อาจเป็นไปได้ว่า ผมไม่ได้ ยัดแรง แต่อาศัย เลี้อง ไป เลี้อง มา ลัดตัดโค้ง ถ้าเห็นข้างหน้าว่าง [/color][/size]
คุณ พ่อ และ คุณ แม่ ผม 70 กว่าแล้ว คงจะฉวัดเฉวียงไม่ได้ เด๋ยวคนแก่เมารถ

--- End quote ---

ขับแบบพี่โต้งแสดงว่าความเร็วเดิน  และเลี้ยงความเร็วได้รอบเดินมีกำลัง  โอกาสเกิดน้อยครับ    แต่ถ้าเร่งรีบเมื่อไหร่ยัดตอนกำลังไต่แบบนั้นเมื่อไหร่ก็คงเจอครับ
แต่การยัดครั้งแรกๆรถยังไม่ hold gear นะครับ   ครั้ง 2 ครั้ง 3 นู๊นแหละมันถึงจะช่วยประคองเกียร์ไว้ให้ครับ

พี่คม:
เวลาที่เกียร์ล็อคนี่ เสียงเครื่องยนต์มันดังอื้อๆใช่ไม๊ครับ เหมือนมันตื้อไป ผมลองผลักเกียร์มาดูมันก็แสดงเป็นเกียร์สี่อยู่นะครับ แต่เสียงเครื่องยนต์ยังกับว่ามันยังไม่ได้เปลี่ยนเกียร์ หรือว่ามันล็อคไปแล้วผมยังวิ่งยัดอยู่

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version