(เครดิต ทีมที่ปรึกษา รั้วสังกะสี)ตอน14-ข้อสงสัยเรื่องทำไมเกียร์เหมือนทำงานไม่ตรงความต้องการ เหมือนเกียร์ค้าง ในบางครั้ง ?? 
จากระบบเกียร์ IGS ( intelligent gear system ) ที่เราเรียกกันเสมอๆนั้น มีการออกแบบที่มีเงื่อนไขซับซ้อนอยู่พอสมควร ซึ่งในแต่ละเงื่อนไขนั้นเป็นการออกแบบการทำงานของระบบให้สอดคล้องกับประเภทรถ ประเภทการใช้งาน และประเภทการดูแลรักษา รวมถึงความนุ่มนวลในการทำงาน
ในเกียร์ของปาเจโร่ สปอต รุ่นที่เป็นระบบออโตเมติก นั้นออกแบบมาสำหรับการใช้งานทั่วไป เน้นการตอบสนองที่นุ่มนวล ไม่มีแรงกระตุกหรือกระชากระหว่างการเปลี่ยนเกียร์ สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเมื่ออุณหภูมิน้ำมันเกียร์สูงได้ระดับพร้อมใช้งาน น้ำมันเกียร์จะถูกอุ่นจากความร้อนของหม้อน้ำและจะใช้ความร้อนของหม้อน้ำรักษา temp ของ oil gear และใช้ลมอากาศพัดผ่านเสื้อเกียร์ช่วยระบายความร้อนจากข้อดีที่รถสูง เมื่อน้ำมันเกียร์มีอุณหภูมิสูงพร้อมใช้งานจะมีแรงดันจากน้ำมันกียร์มาช่วยให้ระบบทำงานได้ดีขึ้น แรงดันและอุณหภูมิของน้ำมันเกียร์ในรุ่นที่ไม่มี oil gear ให้สังเกตุจาก engine temp หรือ water temp (ค่าที่เหมาะสมคือช่วงประมาณ 185-205 องศา F หรือประมาณ 83-96 องศา C ) สำหรับเครื่อง 4D56 Ti (Turbo intercooler) และทนแรงบิดสูงสุดใช้งานได้มากกว่า 600 Nm ในรอบใช้งานปกติ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าพอแรงบิดสูงกว่า 600 Nm แล้วจะพังในทันทีนะครับ ยังมีตัวแปรอื่นๆอีก
แต่จากการทดสอบและใช้งานจริง จะมีตัวแปรเรื่องความเสื่อมสภาพของเครื่องยนต์ คุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น น้ำหนักบรรทุก จากดูแลรักษา ความร้อนสะสม การตกแต่งสมถนะเครื่องยนต์มาเป็นตัวแปรร่วมด้วยมากมาย
หากจะปรับแต่งกล่องอะไรก็แล้วแต่ ให้ระวังเรื่องผลจากกาปรับแต่งให้มาก ว่าวางเป้าหมายไว้ที่อะไรและคาดหวังอะไรในการปรับแต่ง และหากต้องการปรับจริงแนะนำให้ปรับแต่งจากแรงบิดเดิมในรุ่นดังเดิม (140แรงม้า)หรือรุ่น Turbo ธรรมดา ไม่เกิน 70% และในรุ่นที่ปรับแต่งเครื่องยนต์มาจากโรงงาน(178แรงม้า) ไม่เกิน 35 % ทั้งนี้ให้ระวังเรื่องแรงบิดในรอบต่ำไม่ควรเกิน 520-580 Nm ในช่วงรอบไม่เกิน 1400 - 2100 rpm และระวังเรื่องการออกรถด้วยแรงบิดสูงๆในรอบต่ำบ่อยๆจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเกียร์อย่างมากคราวนี้มาเข้าปัญหาเรื่องการใช้งานเกียร์ในเงื่อนไขของการทำงานของเครื่องยนต์ที่มีความแตกต่างจากการใช้งานปกติ ในสภาวะต่างๆ 1. เมื่อความกดอากาศมีการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลง การทำงานของเกียร์กับความสัมพันธ์ของรอบเครื่องอาจมีความผิดปกติอันเนื่องมาจาก ตัวแปรภายนอก บ้างแต่อาจไม่มากนัก วิ่งสักพักจนเครื่องร้อน อาการจะดีขึ้น
2. การใช้รถบนทางลาดชัน ด้วยเกียร์ D โดยการขับด้วยรอบเครื่องที่ต่ำและเพิ่มความเร็วคันเร่งในขณะที่รถอยู่ในลักษณะการฉุดลากเครื่องยนต์ หรือน้ำหนักบรรทุกเยอะหรือกำลังไต่ทางชันที่มีระยะทางยาว จนมีผลทำให้ในหนึ่งช่วงเวลาอัตราตอบสนองของเกียร์และรอบเครื่องห่างกันมาก ระบบจะรู้ทันทีว่าขณะนี้รถกำลังอยู่ในสภาวะต้องการแรงฉุดลากจึงคงเกียร์นั้นไว้ แต่หากเราไปเพิ่มความเร็วด้วยการกดคันเร่ง ระบบจะพยายามเร่งเครื่องเพื่อเปลี่ยน step gear แต่ด้วยเงื่อนไขนั้นคงอยู่ระบบ gear จึงยังไม่เปลี่ยน( gear hold to safe mode) บางคนชอบเรียกว่าเกียร์ล็อค บางทีถึงกับเอ๋อ งง ไปเลยก็มี ผลคือมีการตอบสนองแต่รอบเครื่องแต่เครื่องเร่งไม่ไป แต่หากวิ่งมาด้วยรอบเครื่องที่สูงกว่าพอประมาณและนิ่งจะได้ความสัมพันธ์ของเกียร์กับแรงฉุดลากในรอบต่ำขณะเข้าเกียร์ D ได้การตอบสนองที่ดีกว่า แต่ความจริงจะเป็นเช่นนั้นหรือป่าว ต้องอยู่ที่จังหวะและโอกาศเท่านั้น ( วิธีแก้ไข : หากพบอาการนี้ ให้เปลี่ยน Gear มาที่ select mode แล้วลดลง 1 step เครื่องจะกลับมามีแรงทรงตัวขับเคลื่อนขึ้นไปได้ ด้วยการคงที่รอบเครื่องไว้ จนพ้นทางลาดชันนั้น)
ระบบนี้จะเอาเงื่อนไขจาก speed sensor กับ รอบเครื่องยนต์ มาเข้าเป็นเงื่อนไขกับช่วง 1 หน่วยเวลา โดยลักษณะการเกิดจากการใช้งานจริงจะมีลักษณะดังนี้
2.1 รถกำลังไต่ขึ้นทางชัน ความเร็วต่ำ รอบเครื่องสูง ห่างกันเกินไป (สาเหตุจากการเร่งส่งเพราะกลัวไม่ขึ้น กลัวรถไหล)
2.2 ใช้เกียร์ D ขึ้นทางชันมา หากความเร็วพอจะไปได้แต่หากความเร็วไม่พอ รอบเครื่องตกจึงจำเป็นเร่งส่ง พอไม่ขึ้นสับเกียร์เป็น +/- โอกาสที่จะเกิด
การ hold gear ก็ยังเกิดขึ้นได้เพราะรถรับรู้เงื่อนไขแล้ว
2.3 ใช้เกียร์ +/- ก่อนขึ้นทางชัน แต่เร่งจนรอบสูงไม่สัมพันธ์กับความเร็วก็อาจจะเกิดอาการได้ แต่โอกาสน้อยกว่ามาก
2.4 รถที่ติดตั้งกล่องคันเร่ง แต่จังหวะแบบนี้แล้วกดคันเร่งจะยิ่งเป็นการเพิ่มระยะห่างของความสัมพันธ์ โอกาสเกิดง่ายมาก ต้องประคองจังหวะดีๆ
2.5 รถรุ่น 4wd หากใช้ 4hi 4low ก็รักษาระดับความเร็วกับรอบให้รถมีกำลังก็สามารถขึ้นได้ด้วยเกียร์ D แต่หากแรงตกรอบสูงเมื่อไหร่ ลดเกียร์ด้วย
ระบบ +/- ได้ 1-2 step อาจไม่พบอาการดังกล่าว เพราะรถมีแรงหน่วงรอบจากการขับเคลื่อน 4 ล้อ
2.6 รถกำลังลงทางชัน ความเร็วดีกว่า รอบเครื่องต่ำลง (แบบนี้ไม่ค่อยเกิด แต่ระวังเบรคเฟด อย่ากดเบรคบ่อย หากรู้ว่าเบรคไหลอย่าตกใจ ใช้เบรค
มือช่วยประคองได้โดยการกดปุ่มที่ปลายก้านค้างไว้ แล้วดึงขึ้นเป็นจังหวะ ทดแทนแบบประคอง)
2.7 ให่พิจารณาเลือกใช้เกียร์ที่เหมาะสม ก่อนเข้าหาอุปสรรค รับรองจะไม่เจออาการดังกล่าว
3. หลังจาก ผ่านอุปสรรคในข้อ 2 แล้วลงมาบนพื้นราบหรือแนวระนาบ หากพบหรือมีอาการเกียร์ค้างไม่ยอมเปลี่ยน อย่าเพิ่งตกใจ เพราะเครื่องยนต์จะไม่รู้ว่าคุณยังต้องการสภาวะฉุดลากอยู่หรือป่าว ให้ทำดังนี้
a. ขับไปปกติแบบนั้นแหละ ใช้รอบเครื่องปกติ วิ่งด้วยระยะทางยาวสักนิด อย่าเร่งมาก เดี๋ยวระบบจะคืนกลับมาเอง
b. ขับด้วยรอบเครื่องนิ่งๆไปสักพัก อย่าเร่งมาก ระบบจะกลับสู่สภาวะปกติ
c. หรือจอดรถเข้าเกียร์ N ปล่อยเดินเบาสักพัก ค่อยเข้า Gear D ออกตัวไป
d. หรือจอดรถดับเครื่อง สักพักแล้วค่อย start ใช้งานใหม่
e. หรือให้เลือกตัดสินใจใช้เกียร์ให้ถูกต้อง ก่อนเข้าสู่อุปสรรค