(เครดิต ทีมที่ปรึกษา รั้วสังกะสี)ตอน11-ลำดับการแต่งตาม N-Chart Table
ตาราง N-Chart(เครดิตภาพประกอบจากพี่อ๊อด ราชรี) แสดงให้เห็นลักษณะของ road map ในการตกแต่ง engine pajero sport และอื่นๆ ด้วย concept ที่ให้การตอบสนองที่เป็นธรรมชาติของการขับขี่ อีกทั้งทำให้เครื่องยนต์ตอบสนองอัตราเร่งด้วยความเร็วรอบและการหมุนของใบและบูสเทอร์โบ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการใช้งานในชีวิตประจำวัน ที่ไม่ต้องดูแลรักษาแบบ N-standard หรืออาจจะคอยสังเกตุหรือจับการเปลี่ยนแปลงของการทำงานบ้างหากเล่นในแบบ N-advance โดยที่ทุกอย่างที่เป็นของติดรถของเครื่องยนต์ STD fac. ยังคงไว้แบบเดิมเพราะต้องการประสิทธิภาพของอายุใช้งาน การบำรุงรักษาและการหน่วงอายุการทำงานของความเสื่อมของเครื่องยนต์ ให้อยู่กับเรานานๆจนเลขวัดระยะทางตีกลับมาอีกรอบก็เป็นได้
หมายเหตุ: รถที่ไม่มีการดูแลรักษา ซ่อมบำรุงตามอายุใช้งาน การขับที่สร้างความเค้นให้เครื่องยนต์ด้วยภาระต่างๆ มีผลทำให้เครื่องยนต์และสภาพรถของท่าน เสื่อมก่อนเวลาอันควรและอาจเสื่อมกว่ารถที่ตกแต่งเครื่องยนต์แต่ดูแลรักษาเป็นประจำ จากตารางจะแบ่งเป็น 2 ซีก(สังเกตุจากสี) สีเขียว N-standard สามารถใช้งานได้หลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์ ใช้รถแบบปกติหลังอุณหภูมอเครื่องยนต์พร้อม
ไม่ต้องมีการดูแลรักษาอะไรเพิ่มเติม ไม่ต้องมีเครื่องตรวจวัดอะไร ให้คอยมอนิเตอร์ดูแล
สีเขียว N-advance สามารถใช้งานได้หลังจากสตาร์ทเครื่องยนต์ ใช้รถแบบปกติหลังอุณหภูมอเครื่องยนต์พร้อม
การใช้งานรถที่แต่งเครื่องยนต์ใน mode นี้แนะนำให้ติดอุปกรณ์ มอนิเตอร์ค่าแรงดันต่างๆ
เพื่อคอยดู คอยตรวจสอบให้อยู่ในระยะใช้งานที่แนะนำกันไว้ และสังเกตุความผิดปกติของเกจวัด
หรือเสียงการทำงานของเครื่องยนต์ หรืออาการตอบสนองของเครื่องยนต์ และเปลี่ยนผลิตภัณฑ์
ของเหลว ให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละบุคคล (อย่าหลงคำโฆษณา มากเกินไป)
มาดูกันว่าในตารางทำไมให้ค่าเซฟตี้ ไม่เท่ากันหรือต่างกันโดยปกติแล้วเครื่องยนต์ที่ออกมาขายในตลาดนั้นจะมีค่าเซฟตี้แฝงอยู่ในเครื่องประมาณ 30-35 % มีเผื่อไว้สำหรับการรองรับการสึกหรอ การเสื่อมของสภาพเครื่องยนต์ ความร้อนที่เกิดขึ้น ณ.จุดต่างๆ การละเลยต่อการดูแลรักษา และการยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ทั้งหมดนี้เราสามารถดึงประสิทธิภาพเหล่านี้ออกมาได้อย่างไร โดยที่คำนึงถึงพื้นฐานการออกแบบและการ เซฟเครื่องยนต์เพื่อการใช้งานประจำวัน
Step I : เมื่อทำแล้วจะให้การตอบสนองที่ดีขึ้นประมาณ 5-10 % อัตราเร่งตอบสนองพอสมควร การทำไม่ยุ่งยากและไม่ยุ่งอะไรกับตัวเครื่องยนต์เลย หากเป็นกล่องข้าวน้อยที่แนะนำ เป็นรุ่นปลั๊กสามารถถอดและใส่ได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่มีการตัดต่อสาย และปลั๊กใช้เป็นรุ่นที่ใช้งานในห้องเครื่องยนต์ได้ ไม่มีผลเรื่องความร้อนในการใช้งานสภาวะปกติ จากการตกแต่งที่เพิ่มขึ้น
เพียงเท่านี้ยังถือว่าเหลือๆ สำหรับเครื่องยนต์อีกมากพอสมควร ประมาณ 25-30 % เลยทีเดียวStep II : หลังจากแล้วจะให้การตอบสนองที่ดีขึ้นประมาณ 15-20 % มีการดัดแปลงsensor ท้ายรางเพิ่มให้ทนแรงดันสูงกว่าเดิม จึงทำให้เครื่องยนต์มีกำลังจากแรงดันจากกล่องดันรางที่เพิ่มมากขึ้น และหากมีการเพิ่มบูสเทอร์โบโดยการรองแหวนนั้น ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต้องดูแลอะไรเพิ่มเติม เพราะบูสคงได้อย่างมากไม่เกิน 16-17 psi และไม่ไหลไปกว่านี้เนื่องจากยังไม่ตัดสะพานลมจากเทอร์โบมาประยุกต์ใช้งาน Step 2 นี้สามารถทำให้รถมีอัตราเร่งที่รวดเร็วดีกว่าเดิมมากจนรู้สึกได้ การออกตัวไม่มีคำว่าอืด การตอบสนองคันเร่งไวทุกจังหวะ อัตราเร่งแซงที่ความเร็วต่างๆทันใจพอสมควร ที่รอบใช้งานจะรู้สึกว่าการกดคันเร่งเบาขึ้นมาก เรื่องความร้อนเกิดขึ้นไวกว่าเดิมประมาณ 1-3 องศา เนื่องมาจากอัตราตอบสนองของเครื่องยนต์ที่จัดจ้านกว่าเดิม แต่การระบายความร้อนหลักยังสามารถรองรับได้
สำหรับการแต่งในขั้นนี้ถือว่ายังเซฟเครื่องยนต์อยู่พอสมควร ประมาณ 15-20 % (หากจูนไม่มากและอยู่ในค่าที่แนะนำ และการใช้งานที่เหมาะสม)
หมายเหตุ: การใช้กล่องดันราง ที่จูนค่าการดันรางสูงเกินไป จะเป็นการเค้นให้หัวฉีดทำงานหนักกว่าเดิมและแรงดันที่สูงกว่าเดิมมากๆ จะเป็นอันตรายกับระบบฉีดเชื้อเพลิง เช่น รางหัวฉีด และระบบปั๊มคอมมอลเรียล รวมถึงการขับขี่ที่รอบเครื่องยนต์สูงตลอดเวลา เป็นการลดความยั่งยืนของเครื่องยนต์ลงตลอดเวลา ฉะนั้นควรเล่นในแบบมีขีดจำกัด และไม่ตกแต่งเพิ่มเติมมากไปกว่าคำแนะนำที่กล่าวมา Step III : การจาก upgrade จาก step 2 >> step 3 นี้คือการเปลี่ยนปลายหัวฉีด เพื่อลดภาระการเค้นแรงดันผ่านหัวฉีดตัวเดิม จากหัวฉีดที่ใหญ่ขึ้นจะสามารถจ่ายน้ำมันได้มากกว่าเดิมในหนึ่งช่วงเวลา เมื่อเป็นเช่นนี้เราก็สามารถลดการดันรางลงได้มากกว่าเดิม หากเราปรับบูสเทอร์โบให้สูงขึ้นจนสัมพันธ์กับรองเครื่องยนต์และความต้องการของหัวฉีดแล้ว จะเห็นประสิทธิภาพจากหัวฉีดใหญ่ชัดเจนกว่าเดิม อีกอย่างที่จะสังเกตุได้ชัดคือเครื่องยนต์ทำงานเบาขึ้น การยืนพื้นที่ความเร็วนิ่งขึ้น การเรียกรอบและความเร็วสามารถทำได้ง่ายโดยที่มีการเปลี่ยนแปลงของรอบน้อยมากกว่าปกติเพราะจากน้ำมันที่จ่ายเยอะกว่าทำให้รถมีกำลังมากว่า ขณะมีน้ำหนักบรรทุก ขณะออกแรงฉุดลาก ขณะไต่ทางชัน รถที่หัวฉีดใหญ่จะได้เปรียบกว่าเสมอ อัตราการสิ้นเปลืองมากกว่าเดิมแน่นอน แต่จะใช้ช่วงเวลาสั้นกว่าเดิม ฉะนั้นในการเดินทางด้วยระยะทางยาวๆ รอบเครื่องคงที่ รถที่หัวฉีดใหญ่จะมีกำลังมากกว่าตลอดช่วง และที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือเรื่องควันที่อาจจะมากกว่าเดิม เพราะรถที่ออกแบบมาจากโรงงานจะคำนึงถึงสิ่งพวกนี้ด้วย จึงไม่สามารถตอบสนองให้ได้หมดทุกอย่าง สำหรับรถที่ตกแต่งมาถึงจุดนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเกจมอนิเตอร์ค่าชี้วัดต่างๆจากเกจของเครื่องยนต์ปกติ เช่น เกจวัดบูส เกจวัด engine temp เกจวัด water temp เป็นต้น จากสิ่งที่พูดมานี้แหละคือการลดภาระของเครื่องยนต์ลง จึงทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มที่ในสภาวะที่กดดันน้อย เกิดการเสื่อมจากการใช้งานปกติน้อยลงกว่า จึงมี
ผลทำให้ค่าเซฟเครื่องยนต์สูงขึ้นมาอีกหน่อย อยู่ประมาณ เกือบ 20 % (จูนอยู่ในค่าที่แนะนำและการใช้งานที่เหมาะสม)
หมายเหตุ: การเปลี่ยนปลายหัวฉีด ควรคำนึงถึงเรื่องเครื่องมือและความชำนาญของช่างรวมถึง วัสดุของปลายหัวฉีดที่นำมาใช้ หลีกเลี่ยงของราคาต่ำ และของที่ไม่มีคุณภาพ เพราะปัญหาอาจเกิดจากสิ่งพวกนี้มากกว่าวิธีการ โปรดพิจารณาก่อนตัดสินใจ Step IV : การจาก upgrade จาก step 3 >> step 4 นี้คือการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่มีการเปลี่ยนปลายหัวฉีดที่ใหญ่กว่าเดิม เพื่อบูสเพื่อหวังผลเรื่องการตอบสนอง เพิ่มน้ำมันให้ปั๊มคอมมอลเรียล เพื่อค่าแรงดันรางที่เหมาะสม และมีการปรับแต่งการระบายไอเสียให้ดีกว่าเดิม เช่นการดัดแปลงหม้อพัก หรือการเปลี่ยนท่อไอเสีย ต่างๆ (แต่ยังไม่แนะนำให้เปลี่ยนกรองอากาศ) เพราะของเดิมที่มากับรถยังรองรับได้สบายและช่วยหน่วงเครื่องยนต์รอบต่ำเพื่อสร้างแรงบิดสำหรับเกียรออโต้ได้ดี ช่วยลดความชื้นในอากาศ ช่วยป้องกันละอองน้ำจากแรงดูดของเทอร์โบ เมือขับรถลุยฝน ใน step นี้มีการเพิ่มภาระเครื่องยนต์ขึนกว่า Step 3 พอประมาณ แต่ทั้งนี้ให้กำหนดด้วยปริมาณการบูสของเทอร์โบและระมัดระวังเรื่องการเรียกแรงบิดในรอบต่ำ การออกตัวที่รุนแรง การใช้รถและเกียรเมื่ออุณหภูมิไม่พร้อมใช้งาน การเลือกสารหล่อลื่นให้เหมาะสมกับการใช้งาน การคอยตรวจตรา ค่าชี้วัดต่างๆเวลาขับขี่ ต้องระวังและหมั่นคอยดูแลอยู่เป็นระยะ จุดนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเกจมอนิเตอร์ค่าชี้วัดต่างๆจากเกจของเครื่องยนต์ปกติ เช่น เกจวัดบูส เกจวัด engine temp เกจวัด water temp เป็นต้น จากการเพิ่มความสามารถของเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนหัวฉีดที่ใหญ่ขึ้นแบบนี้ จะเห็นประสิทธิภาพจากหัวฉีดใหญ่ชัดเจนกว่าเดิมมาก เครื่องยนต์ทำงานเบาขึ้นกว่าเดิม อัตราเร่งรอบต่ำดีมาก การยืนพื้นที่ความเร็วนิ่งมาก การเรียกรอบและความเร็วสามารถทำได้ง่ายด้วยการเปลี่ยนแปลงของรอบที่สวิงน้อยกว่าปกติ รถมีกำลังมาก แรงฉุดลากดี อัตราการสิ้นเปลืองมากกว่า step 3 แต่จะใช้ช่วงเวลาสั้นกว่าปกติ การเดินทางด้วยระยะทางยาวจะมีกำลังต่อเนื่องดีมากกว่า การใช้เชื้อเพลิงที่เผาผลาญไปคุ้มค่า เรื่องควันที่อาจจะมากกว่าเดิม
ยังพอเหลือค่าเซฟเครื่องยนต์ อยู่ประมาณ เกือบ 10-12 % และควรปรับจูนอยู่ในค่าที่เหมาะสมหรือค่าที่แนะนำและ ฝึกการใช้งานที่เหมาะสมกับการตอบสนองของเครื่องยนต์ที่ปรับแต่งมา
ข้อเด่นของการเปลี่ยนหัวฉีดจะได้ผลประมาณนี้- กำลังมามากกว่าเดิม ตลอดช่วง
- แรงบิดรอบตันมาไว โดยทีบูสยังไม่มา หากบูสมาจะได้แน่นๆอีกแบบ (แต่ควันมากแน่นอน ต้องปรับวิธีขับเพื่อลดควัน)
- สามารถลดการเค้นดันรางลงได้
- ถ้า 140 แรงม้าให้เพิ่มบูท 3-5 psi / ถ้า VG ไม่ต้องเพิ่ม
- อัตราเร่งเมื่อมีรอบและบูส มาเต็มกำลัง (มาพร้อมควันที่เผาไหม้มากเกินจังหวะ ต้องหัดประคองจังหวะ)
- กินน้ำมันมากกว่าเดิม แต่กินสั้นกว่าเดิมต่อการใช้รอบเร่ง ระยะทางยาวได้เปรียบ
- ถ้าเปลี่ยนกรองอากาศให้โล่ง จะช่วยเรื่องส่วนผสมและควันบางลงได้ (แต่ไม่แนะนำให้เปลี่ยน ให้ใช้ของเดิมและบูส อยู่ใน concept)
ข้อด้อยของการเปลี่ยนหัวฉีด(ตาม concept) ที่ทดสอบมา- ควันมากกว่าเดิม ช่วงต้นและช่วงหัวคันเร่ง (ต้องปรับวิธีการเติมคันเร่ง)
- แรงดันของกำลังที่มากกว่าเดิม
อาจจะส่งผลถึงซีลและลูกยางต่างๆ (หากเอารถที่มีอายุใช้งานมากกว่า 70000 โลมาปรับแต่ง)
- สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงโดยรวมมากกว่าเดิม 1-1.5 กิโลลิตร (ในเมือง)
- สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงโดยรวมมากกว่าเดิม 0-1 กิโลลิตร (นอกเมือง)
- อาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้น้ำมันสังเคราะห์ 100%
เพื่อเป็นข้อมูลนะครับ
BBB gang (แก๊งค์กระเป๋าแหก)
***แค่นี้ก่อนนะครับ มีโอกาสพบกันได้ในตอยต่อไป.....