(เครดิต ทีมที่ปรึกษา รั้วสังกะสี)ตอน9 -จูนเยอะ,จูนหนัก,จูนน้อยๆ,บูสไหล เป็นอย่างไร , แล้วปัญหาเกิดจากอะไร
***จูนเยอะ จูนหนัก จูนน้อยๆ เป็นอย่างไรท้ายรางของเครื่อง pajero เรามีค่า limit แรงดันสูงสุดอยู่ที่ 240 Mpa ส่วนค่าแรงดัน peak ไม่ควรเกิน 220 Mpa และแรงดันใช้งานออกแบบอยู่ที่ประมาณ 165-185 Mpa ฉะนั้นด้วยเงื่อนไขตรงนี้จึงมีการออกแบบและกำหนดอุปกรณ์ที่เรียกว่าท้ายราง โดยให้ทำการปลดปล่อยและคลายแรงดันที่ประมาณ 170-180 Mpa เพื่อไม่ให้แรงดันในท้ายรางสูงเกินกำหนดจนได้รับความเสียหาย ตรงนี้จะทำหน้าที่คล้ายๆกับเวสเกตที่ควบคุมปริมาณการ Boost ของเทอร์โบ ที่แนะนำกันไปนั่นเอง
สำหรับรถแต่ละคัน การประกอบเครื่องยนต์แต่ละตัวมีผลกับประสิทธิภาพและแรงม้าด้วยในบางครั้ง ฉะนั้นค่าที่วัดได้จริงจะไม่เท่ากันทุกคันเสมอไป ส่วนของท้ายรางก็เช่นกันบางคันท้ายรางอาจจะเปิดที่แรงดัน 168 Mpa บางคันไปเปิดที่แรงดัน 175 หรือบางคันดีหน่อยเปิดที่ 180 Mpa เลยก็มี หรือบางคันแรกๆเปิดที่ 185 พอมาหลังๆ ท้ายรางเปิดบ่อยๆอาจเปิดที่ 170 Mpa ก็เป็นได้ จึงจำเป็นต้องมีตัววัดค่าการสร้างและปั๊มแรงดันรางขึ้นมาใช้งาน
ต่อมาทาง ผู้ใช้งานหรือนักจูนก็หาวิธีมาเล่นกับท้ายรางต่างๆ เช่น หนุนท้ายราง เพื่อให้เปิดที่แรงดันมากกว่า 170-180Mpa หรือบางรายอุดท้ายรางไปเลยเพื่อให้สร้างแรงดันสูงสุดโดยควบคุมจากเกจวัดต่างๆกันเองก็มี และที่นิยมเล่นกล่องดันรางกันก็เพื่อหลอกให้กล่องสั่งปั๊มสร้างแรงดันให้มากกว่าเดิม โดยกล่องหลงเชื่อจึงยอมสร้างออกคำสั่งให้ปั๊มสร้างให้ปล่อยไปที่ท้ายราง ให้สูงๆ และก็จะคลายแรงดันทิ้งตามการปรับแต่งท้ายรางว่าจะปล่อยทิ้งที่แรงดันเท่าไหร่ ตรงนี้แหละที่เรียกว่า จูนหนัก จูนเยอะ จูนเบา ก็คือปรับจูนหลอกให้สร้างแรงดันมากและปรับแก้ให้คลายแรงดันช้า จูนเบา จูนน้อย ก็คือการหลอกให้สร้างแรงดันเพิ่มขึ้นเพียงหอมปากหอมคอเท่านั้น ที่บอกว่า ค่าแรงดัน peak ไม่ควรเกิน 220 Mpaนั้น คืออาจมีผลทำให้รางหัวฉีดทนแรงดันชั่วขณะไม่ไหว อาจมีการร้าวหรือรั่วตามซีล ประเก็นต่างๆ จนทำให้แรงดันรั่วและรถหมดกำลัง จนไปนอนอู่ในที่สุด ฉะนั้นจะเล่นกันให้มันส์ ก็อย่าเกิน 200 Mpaครับ
***ทำไม Boost ไหล , แล้วปัญหาจากอะไร ( กรณีเวสเกตกระป๋องที่ติดรถมา)กลับมาที่เวสเกต หรือ
ประตูสู่ความหายนะ การทำงานของมันได้รับคำสั่งเป็นแรงดันลมเฉยๆ ทั้งดูดทั้งเป่า ในตัวเวสเกต จะมีชั้นผ้าใบคอยเป็นห้องกั๊กลมไว้ เมื่อเทอร์โบหมุนปั่นด้วยความเร็วก็จะสร้างแรงดันลมมาเป่าที่หัวเวสเกต ส่วนอัตราการไหลต่อวินาที หรือปริมาณการไหลไม่ขอพูดถึง เอาเป็นว่าหากมีตัววัดที่เป็นค่า psi มาวัดก็จะอ่านค่าเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายกว่า เท่าที่เคยได้คำตอบมาเขาบอกว่า ชั้นผ้าใบจะทำงานคล้ายผนังที่ยืดหยุ่นหรือคล้ายลูกโป่ง ประมาณว่าหากมีแรงดันมากในช่วงเวลาอันสั้นจะดันจนให้ตัวและยืดหยุ่นได้ง่ายกว่า การค่อยๆเพิ่มปริมาณความหนาแน่นของแรงลมที่มาดัน ตรงจุดนี้เองที่บอกว่า boost peak คือมันจะไหลเพิ่มประมาณ 1-2 psi หากรถกำลังรีดแรง หรือกำลังเค้นแรงมันเพื่อฉุดลาก เช่นการขับรถที่มีน้ำหนักบรรทุก หรือขับรถโดยการซัดขึ้นเขา Boost จะสูงกว่าปกติ
อีกอาการหนึ่งก็คือความเสื่อมสภาพของชั้นผ้าใบในตัวเวสเกตก็มีผลเช่นกัน และในการเล่น Boost สูงๆ ยังอาจสร้างปัญหาจนเกิดอาการผ้าใบทะลุหรือขาดเพราะแรงดันมาก คราวนี้แหละจะไม่มีชั้นลมมาสร้างแรงให้ชนะแรงสปริง ผลก็คือเวสเกตไม่ยอมเปิดทางคลายแรงดันไอเสียทิ้ง ทำให้เทอร์โบทำงานได้เต็มที่โดยไร้การควบคุม Boost ก็สร้างได้มากขึ้นจนไปจบที่เท่าไหร่ไม่รู้ จุดตรงนี้เองที่บอกว่าจำเป็นต้องมี Boost Gauge เป็นตัว monitor การทำงานของเทอร์โบ
อีกปัญหาหนึ่งก็คือ การติดตั้งสายลมที่หัวเวสเกตไม่ดีพอทำให้ลมรั่ว ทำให้Boost gauge ขึ้นน้อยเพราะลมมันรั่วแต่อีกทางหนึ่งเมื่อลมมันน้อย เวสเกตก็นิ่งเฉยต่อการควบคุมประตูสู่ความหายนะ จะมารู้อีกทีก็ทำไมวันนี้รถเราแรงดีเหลือเกิน โดยไม่แอบแปลกใจเลยแม้แต่น้อย แล้วหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นคือเสียง ? โบ๊ะ พั๊ก แค๊งค์ ?
ทั้งที่ Boost gauge ก็ขึ้นไม่สูง แบบนี้คงจะแปลกใจไม่ใช่น้อย คงทะเลาะกับร้านที่ทำให้ไม่จบแน่ๆ
Note :ปัญหาพวกนี้ ไม่ได้กล่าวหรือพาดพิงถึงพวกเวสเกตแต่ง เวสเกตแยก Boost มือ หรือโบอ๊อฟ นะครับ เราคุยกันแบบฉบับ ของเดิมเครื่องในเดิม เพราะมากกว่านี้นั้นขั้นเทพไปแล้ว ทฏษฎีพวกนี้คงพูดไม่ได้เต็มปากเพราะเทคโนโลยีเขารองรับและ Hardware engine เขาเตรียมมาดีสำหรับการนั้นโดย เฉพาะครับ ***แค่นี้ก่อนพบกัน ตอนต่อไปครับ