Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Performance Talks & Engine Modifications
ว่าด้วยเรื่องหม้อ....คร้าาาาาบ....ฟ้้วววววววว
พี่โต (1007):
มารอฟังครับ :L4398:
ตูมตาม:
--- อ้างจาก: ต๋อง Fuddy ที่ 24 มีนาคม 2013, 10:33:05 ----ขัดจังหวะพี่ตามสักนิด แล้วปัญหา ไม่ได้เกิดจาก วาล์วน้ำหรือครับ ช่วงของการเปิด-ปิด :L2761:ทำให้ความร้อนสะสม
--- End quote ---
ขออนุญาติตอบพี่ต๋องก่อนนะครับ ยาวนิดนึงนะพี่
พี่ต๋องถามเรื่องวาล์วน้ำ แต่ผมต้องขออนุญาติอ้างอิงไปถึงระบบน้ำในเครื่องยนต์ก่อนครับ....วาล์วน้ำเป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำในเครื่องยนต์....เจ้าระบบน้ำนี้มีหน้าที่หลักคือ รักษาหรือควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องยนต์.....มันไม่ได้ทำหน้าที่ทำให้เครื่องเย็นนะครับ แค่ควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเท่านั้น
.วาล์วน้ำเป็นตัวเปิดน้ำไห้ระบบน้ำเกิดการไหลเวียน....คือ เมื่ออุณหภูมิเครื่องยังไม่สูง วาล์วน้ำจะยังไม่เปิดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำ....เครื่องยนต์เดินไปก็เกิดความร้อน เมื่อน้ำไม่หมุนเวียนมาเอาความร้อนไป เครื่องก็ร้อนขึ้นเรื่อยๆ....ที่ยวาล์วน้ำยังไม่เปิดในช่วงนี้เพราะต้องการให้เครื่องมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนอยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อน.......เจ้าระดับอุณหภูมิเหมาะสมนี่วาล์วน้ำมันไม่ได้คิดเองนะ.....ระบบวิศวกรรมเครื่องยนต์และการออกแบบเครื่องยนต์ วิศวกรเขาจะคำนวน ทดสอบ ทดลอง จนเขาระบุได้ว่าอุณหภูมิระดับใดที่เรียกว่าเหมาะสม......และเจ้าความเหมาะสมนี่ไม่ใช่ระดับที่วิศวกรชอบนะครับ ..... แต่เป็นระดับที่เครื่องยนต์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการสึกหรอน้อยที่สุด........หลักการง่ายๆครับ เครื่องยนต์เราชิ้นส่วนส่วนใหญ่คือโลหะ ซึ่งสามารถหดและขยายตัวได้ตามอุณหภูมิ....อุณหภูมิสูงโลหะจะขยายตัว.....ในการออกแบบเครื่องยนต์ ขนาดของชิ้นส่วนโลหะต่างๆจะมีช่องว่างเล็กเพื่อเผื่อให้โลหะมีการขยายตัวได้.....ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นโลหะก็จะขยายตัวขึ้นมาให้พอดีกับช่องว่างที่เว้นไว้.....ถ้าเครื่องร้อนเกินไป โลหะก็ขยายตัวมากเกิน มันก็จะกด ขัด บด ขบ เสียดสี ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆสึกหรอได้.....ในทางกลับกันถ้าเครื่องเย็น โลหะก็ขยายตัวน้อย ช่องว่างที่เว้นไว้ก็ไม่ถูกอุดให้เต็ม และช่องว่างเหล่านี้จะทำให้ของเหลว เขม่า อากาศ ความร้อนมันรั่วไหลออกไปจากที่ๆมันควรอยู่ ออกไปทำให้ชิ้นส่วนอื่นๆที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มาเจอกับสิ่งเหล่านี้สึกหรอได้ด้วย นอกจากนั้นเครื่องที่เย็นจะทำให้ระบบบางอย่างทำงานได้ไม่เต็มที่ เห็นชัดๆคือระบบเกียร์ คือเฟืองเกียร์มันจะไม่สามารถหมุนได้เต็มที่ เป็นที่มาของอาการที่เกียร์ไม่เปลี่ยนเวลาเครื่องเย็นที่เป็นในรถบางคัน
ทีนี้พอเครื่องยนต์มีอุณหภูมิระดับที่เหมาะสม.....วาล์วน้ำก็เปิด ปล่อยให้น้ำหมุนเวียนเข้ามาในระบบเครื่อง.....เวียนเข้ามาทำไม....ไม่ได้เข้ามาวิ่งเล่นแล้วเครื่องเย็นนะครับ.....มันเวียนเข้ามาเพื่อถ่ายเทความร้อนจากเครื่องมาไว้ที่ตัวมัน.....แล้วมันก็เวียนออกไปที่หม้อน้ำ.....ซึ่งมันจะถ่ายความร้อนให้อากาศที่มาจาก2แหล่งใหญ่ๆคือ อากาศที่ปะทะหน้าเครื่องขณะรถวิ่ง และอากาศที่พัดลมหน้าเครื่องเป่าไปที่หม้อน้ำ....เมื่อถ่ายเทความร้อนเสร็จแล้ว....ก็เวียนกลับเข้าไปถ่ายเทความร้อนจากเครื่องอีกครั้ง.....แต่ในน้องปา นอกจากน้ำจะถ่ายเทความร้อนให้กับอากาศแล้ว ยังออกแบบให้ถ่ายความร้อนให้น้ำมันเกียร์ด้วย....เพื่ออุ่นน้ำมันเกียร์ให้ได้อุณหภูมิที่เหมาะสม ไปถ่ายความร้อนให้เฟืองเกียร์เพื่อให้โลหะขยายตัว ให้เฟืองต่างๆทำงานเต็มที่และลดการสึดหรอด้วย......ลองก้มไปดูใต้ท้องรถน้องปา บริเวณด้านล่างของหม้อน้ำจะเห็นมีสายน้ำมันเกียร์เส้นนึงวิ่งมาที่ด้านล่างหม้อน้ำด้วยเช่นกัน....ที่เอาท่อน้ำมันเกียร์มาผ่านตรงนี้ก็เพื่อมารับความร้อนจากน้ำที่หม้อน้ำด้วย
เมื่อเครื่องอุณหภูมิสูงขึ้นระดับหนึ่งวาล์วน้ำเปิดให้น้ำไหลเวียน ถ้าสูงขึ้นอีกพัดลมก็จะทำงานมากขึ้นเพื่อช่วยระบายความร้อนของน้ำที่หม้อน้ำ ...... กลับกัน ถ้าเราจอดรถไว้เฉยๆ ระบบจะระบายความร้อนไปเรื่อยๆ จนอุณหภูมิลดลงระดับหนึ่งพัดลมจะทำงานน้อยลง (หมุนเอื่อยๆ) .....และถ้าลดลงไปอีกวาล์วน้ำก็จะปิด เพื่อให้เครื่องสะสมความร้อนขึ้นมาใหม่.....การทำงานจะหมุนเวียนเป็นวัฏจักรแบบนี้ไปเรื่อยๆ
จากการทดสอบ วาล์วน้ำในรถผมเปิดที่ประมาณ 85-87 องศา พัดลมเริ่มทำงานมากขึ้นที่ประมาณ 92องศาเป็นต้นไป.....ทางกลับกันพัดลมทำงานเบาลงที่ 91 องศา ส่วนวาล์น้ำปิดนั้นสังเกตุยาก ต้องลองเอาไปต้มดู....แต่คาดว่าคงปิดประมาณเดียวกับตอนเปิด .....ดังนั้นถึงแม้จะจอดเฉยๆ ไม่ได้ขับ ความร้อนรถผมจะอยู่ที่ 88 เป็นระดับที่ต่ำที่สุดแล้ว เพราะถ้าต่ำกว่านี้วาล์วน้ำก็ปิด......จากตัวเลขนี้พอสรุปได้ว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับน้องปาผมน่าจะอยู่ในช่วง 90 ต้นๆถึงกลางๆ......อย่างที่บอกนะครับตัวเลขพวกนี้เขามาจากการคำนวน ทดลอง ทดสอบโดยวิศวกรครับ ไม่ได้นั่งเทียนเอามาให้เราใช้กัน.....อุณหภูมิที่ร้อนกว่านี้หรือเย็นกว่านี้ ทำให้เครื่องสึกหรอมากกว่าปกติทั้งสิ้น
เอาละครับมาที่ประเด็นพี่ต๋องเรื่องการเปลี่ยนวาล์น้ำ....ส่วนใหญ่ในน้องปา ที่มักแนะนำให้เปลี่ยนกันคือวาล์วน้ำของเซฟิโร่ ที่จะเปิดที่ประมาณ70กว่าๆองศา.....ทำไมถึงเปิดที่70กว่าไม่ใช่80กว่าเหมือนน้องปา......ตอบง่ายๆครับ.....ก็มันเป็นของเซฟิโร่ไม่ใช่ของปา....มันก็ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานในเซฟิโร่ไม่ใช่ปา.....ถ้าเอามาใส่ปาจะเป็นไงละ.....วาล์น้ำก็จะเปิดที่70 แทนที่จะเป็น85-87 ต่างกัน 10กว่าองศา.....พอเปิดแล้วน้ำก็ไหลเวียนทำหน้าที่ของมันไป.....คิดดูละกันว่ากว่าความร้อนจะขึ้นจาก70 ไปอยู่ในระดับเหมาะใช้งานของปาที่ประมาณ90 ใช้เวลานานขนาดไหน ยิ่งถ้ารถติดๆไม่ได้เหยียบเผลอความร้อนเดินมาไม่ถึง 80กลางๆด้วยซ้ำ......ครับใช่ครับ มัยเย็นขึ้นจริง ..... แต่มันเย็นเกิน.....อย่างที่บอกครับเย็นเกินก็พัง
ผมเคยได้คุยกับนักแข่งรถและช่างที่ทำรถแข่งลงสนาม... เขาเปรียบเทียบให้ผมฟังว่า.....เครื่องฮีท มันเหมือนคนป่วยเฉียบพลัน หัวใจวาย ไตวาย ช็อค ....ส่วนเครื่องเย็นเหมือนคนป่วยเป็นมะเร็ง มันสามารถลามไปได้ทุกที่.....ป่่วยทั้ง2อย่างมีสิทธิ์ตายเหมือนกัน .... แต่เครื่องฮีทปัญหาที่เกิดจะวนเวียนอยู่ไม่กี่ที่ ส่วนเครื่องเย็นมันจะตายช้าๆ และไม่รู้ว่าปัญหามันจะลามไปถึงไหน.....ที่สำคัญคือคนขับอย่างเราจะระวังสังเกตุอาการของเครื่องฮีทมากกว่าเครื่องเย็น.....แค่เห็นความร้อนขึ้นผิดปกติ ไม่ต้องถึงฮีทก็รีบตรวจสอบและแก้ไขแล้ว ส่วนเครื่องเย็นไม่ค่อยคำนึงถึง เผลอๆคิดว่าเครื่องเย็นคือดี ใช้ไปเรื่อยๆ จนบางอย่างมันพังไปจริงๆนั้นแหละถึงจะซ่อม....แถมบางทีต้องซ่อมแล้วยังคิดไม่ถึงอีกว่าต้นปัญหาจริงๆมาจากเครื่องเย็น
ความเห็นส่วนตัวผมจึงสรุปได้ว่า การแก้ปัญหาตัวร้อนด้วยการเปลี่ยนวาล์วน้ำก็ไม่ต่างจากการดื่มยาพิษเพื่อรักษาไข้หวัดซักเท่าไหร่ครับ
:L4399: :L4399: ทั้งหมดเป็นความเข้าใจของผมนะครับ อาจมีผิดพลาดคลาดเคลื่อนต้องขออภัย
ตูมตาม:
มาชี้แจงเพิ่มเติมสำหรับเรื่องการเปลี่ยนวาล์วน้ำนะครับ
จากที่ผมเขียนมาในประเด็นเรื่องการเปลี่ยนวาล์วน้ำ....ส่วนตัวผมเห็นว่าไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม....แต่ทำไมวิธีนี้ถึงได้รับความนิยมทั้งในหมู่ผู้ใช้รถ และในหมู่จูนเนอร์ หรือสำนักแต่งกันนัก......ที่เขึยนมาทั้งหมดผมมิได้หมายความว่าผมมีความรู้หรือมีประสบการณ์มากกว่าจูนเนอร์หรือสำนักแต่งทั้งหลายนะครับ....ท่านเหล่านั้นมีความรู้มากกว่าผมเยอะ มีประสบการณ์เกี่ยวกับรถมากกว่าผมหลายเท่าตัว....ท่านเหล่านั้นใช้เวลาคลุกคลีอยู่กับรถมากมายกว่าผมหลายช่วงตัว....แต่ทำไมวิธีนี้ถึงได้รับความนิยม
เท่าที่ผมทราบ....ประเด็นสำคัญที่ทำให้วิธีนี้ได้รับความนิยม....สาเหตุหลัก....ง่ายๆ สั้นๆครับ....."เงิน".......คิดดูละกัน วาล์วน้ำราคาหลักร้อย กับหม้อน้ำราคาหลักพัน....หม้อน้ำดีๆราคาเหยียบหมื่น.....คุยกับลูกค้าหลักร้อยยังงัยก็ง่ายกว่าคุยกับลูกค้าหลักหมื่น.....คิดดูว่าลูกค้าเข้ามาหาจูนเนอร์หรือสำนักแต่ง....ซื้อกล่องสั่งจูน....ถ้าไม่ใช่ค่ายสุดเทพ...ราคาก็อยู่ประมาณหมื่น....หลายค่ายอาจต่ำกว่านั้น 5-6 พันก็มี.....ติดให้ลูกค้าเสร็จ....พอมีปัญหาตัวร้อน....บอกลูกค้าไปเปลี่ยนหม้อน้ำราคาครึ่งค่อนหมื่น....ลูกค้าจะเข้าใจได้หรือเปล่ายังเป็นปัญหาอยู่.....ลูกค้าบางคนไม่เข้าใจพาลด่าให้อีก.....หรือจะให้จูนเนอร์หรือสำนักแต่งแจ้งลูกค้าตั้งแต่ต้นว่าติดกล่อง จูนแล้ว พี่ต้องไปเปลี่ยนหม้อน้ำอีก...เบ็ดเสร็จรวมกันหมื่นกว่า...แทนที่จะเป็น 5-6 พัน.....มันก็จะไปมีผลกับธุรกิจอีก......ลูกค้าที่เข้าใจในประเด็นนี้ และยอมรับตั้งแต่คิดติดกล่องว่าต้องแก้ปัญหานี้ต่อก็พอมีนะ....แต่สัดส่วนจะมากแค่ไหนนั้น....ส่วนตัวผมว่ามีไม่มาก.....ยิ่งถ้าต้องมานั่งอธิบายเรื่องวิธีการขับที่เหมาะสมไม่ให้ความร้อนขึ้นสูงประเภทเหยียบแล้วยก....หรือจะบอกว่าเวลาขึ้นเนินให้ปิดกล่อง....คงโดนลูกค้าด่าสวนกลับมาอีกว่างั้นจะติดทำแมวอะไร.....ดังนั้นทางเลือกของจูนเนอร์บางท่าน ถึงแม้ว่าจะทราบว่าการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเปลี่ยนวาล์วน้ำไม่เหมาะสมนัก แต่ก็ยังเลือกที่จะใช้วิธีนี้อยู่ครับ.....ลูกค้าเสียเงินเพิ่มแค่ไม่กี่ร้อย...และเห็นผลชัดเจน...คนมันเย็นขึ้นแน่นอน (อย่างที่อธิบายไปแล้วในประเด็นที่มันเปิดเร็วกว่าเยอะ)....แบบนี้ลูกค้าไม่ด่าชัวร์
อีกปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้จูนเนอร์บางท่าน หรือสำนักแต่งบางค่าย...แนะนำวิธีนี้แก่ลูกค้า....ก็เพราะ....ตัวลูกค้าเองนั่นแหละครับ.....คือลูกค้าบางกลุ่ม บางคน คิดว่าการแก้ปัญหาเรื่องตัวร้อน คือ "ทำให้มันเย็นลง" ..... ไม่ใช่ "การรักษาระดับความร้อนที่เหมาะสม".....ซึ่งการเปลี่ยนหม้อน้ำนั้น.....ไม่ได้ทำให้เครื่องเย็นลงนะครับ....เพราะวาล์วน้ำยังเปิดที่ระดับเดิม พัดลมยังทำงานที่ระดับเดิม....ดังนั้นระดับความร้อนมันจะเหมือนเดิม เพียงแต่มันจะร้อนช้าลง และระบายออกเร็วขึ้น...ทำให้เวลากดคันเร่งความร้อนจะไม่ขึ้นเร็วเหมือนเดิม (ส่งผลให้มีระยะกดคันเร่งนานขึ้น) และการระบายเวลายกคันเร่งจะดีขึ้น ระบายความร้อนออกเร็วขึ้น (มีผลให้ระยะที่ต้องยกคันเร่งน้อยลง).....จูนเนอร์หรือสำนักแต่งอาจเข้าใจครับ....แต่ลูกค้ากี่คนจะเข้าใจ....ส่วนหนึ่งคิดแค่ว่า เปลี่ยนแล้วต้องเย็น....อุณหภูมิเดิมอยู่ 90 กว่า...เปลี่ยนแล้วต้องเหลือ 80 กว่า อะไรประมาณนี้.....ถ้าลูกค้าเข้าใจแบบนี้ เลือกที่จะเชื่อแบบนี้...ขืนจูนเนอร์แนะนำให้เปลี่ยนหม้อน้ำ แล้วมันไม่เป็นอย่างที่เชื่อ สงสัยมียืนด่ากันหน้าร้าน....เผลอๆอาจมีฟาดปากกันเลยก็ได้
ดังนั้น ผมเชื่อว่าจูนเนอร์ทุกท่าน สำนักแต่งทุกค่าย ที่มีมาตรฐานทุกท่านมีความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างดี เพียงแต่ "ตัวลูกค้า" เองต่างหากที่ทำให้ท่านเหล่านั้นเลือกที่จะบอกลูกค้าเหล่านั้นอย่างไรมากกว่า.....เมื่อมันเข้าใจยาก....ใช้เงินเยอะ...ใช้เวลาเยอะ....โอกาสที่ลูกค้าไม่เข้าใจจะกลับมาด่ามีเยอะอีก.....ยังไม่พอ ยังอาจทำให้ลูกค้าไปคิดว่า จูนเนอร์เจ้าที่บอกนี้อยากขายของละซิ อยากได้เงินเพิ่มละซิ เลยแนะนำให้เปลี่ยนหม้อน้ำ จะได้เงินเพิ่มขึ้นอีก..........ลองคิดดูว่าถ้าท่านเป็นจูนเนอร์หรือเจ้าของสำนักแต่ง ท่านจะเลือกบอกหรืออธิบายหรือไม่ครับ
มันก็เลยจะกลับกลายเป็นว่า จูนเนอร์บางท่าน...ถ้าลูกค้าเข้าใจง่าย พูดแล้วเข้าใจ ยอมรับฟัง....ไปคุยกันหลังร้าน แนะนำได้ จูนเนอร์เขาไม่หวงหรอกครับ......แต่ถ้าเจอลูกค้าประเภทไม่เข้าใจ เสี่ยงถูกเข้าใจผิด เสี่ยงถูกด่า เสี่ยงเสียลูกค้า....ประเภทนี้คุยกันหน้าร้านครับ...รับไปเลยวาล์วน้ำเซฟิโร่มูลค่า 800 บาท.....เผลอๆ เอาใจลูกค้า แถมฟรีกันไปเลยครับ :L2754: :L2754:
หมายเหตุ: ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับระดับการจูนนะครับ....จูนมากก็ร้อนมาก อาจต้องแก้ไขปัญหาตัวร้อน....จูนน้อยร้อนน้อย อาจไม่ต้องทำอะไร....และขึ้นกับระดับความร้อนปกติที่เหมาะสมกับการใช้งานด้วย 2.5VG 2WD ระดับความร้อนเหมาะสมอาจต่ำกว่า 4WD ทำให้ต่อให้จูนแล้วความร้อนก็ยังขึ้นมาไม่มากเหมือน 4WD ที่ถ้าจูนหนักๆ ความร้อนจะขึ้นหน้ากลัวมากครับ
ต๋อง Fuddy:
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ พี่ตาม : :L4399:
ตูมตาม:
--- อ้างจาก: ตูมตาม ที่ 24 มีนาคม 2013, 10:28:41 ---มาชมหน้าตากันก่อนครับ.....ด้านซ้ายคือหม้อใหม่เป็น version R1 ด้านขวาเป็นหม้อเดิมที่ถอดออกมา
ขนาด dimension กว้าง ยาว ขนาดใกล้เคียงกับของเดิม.....ที่สำคัญ ตำแหน่งจุดยึด...ทำแหน่งท่อต่างๆต้องอยู่ในตำแหน่งเดิมแป๊ะๆ ครับ.....version R1 ใช้วัสดุอลุมิเนียม ไส้ในเป็นอุปกรณ์นำเข้าจากญี่ปุ่น (รายละเอียดเดี๋ยวให้พี่นะมาอธิบายเสริมให้ฟังอีกทีนะครับ ผมไม่ค่อยตั้งใจฟังเวลาเขาอธิบาย)
--- End quote ---
มาต่อกันอีกนิดนะครับ...แต่ก่อนที่จะไปเรื่องหม้อต่อ ขอมาให้เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการนำความร้อนของโลหะ...กันซักนิด...จะได้ทราบว่าทำไมมันต้องเป็นอลุมิเนียม
หม้อน้ำมีหน้าที่หลักคือช่วงถ่ายเทความร้อนของน้ำที่วิ่งผ่านตัวมันไป...โดยหลักการทั่วไปแล้วการถ่ายเทความร้อนจะถ่ายเทจากที่ๆมีอุณหภูมิสูงไปสู่ที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า....ก็คือการนำความร้อนจากน้ำมาไว้ที่ตัวเอง (เพราะตอนนั้นน้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าตัวหม้อน้ำ)...และจากนั้นหม้อน้ำก็จะนำความร้อนไปถ่ายเทให้กับอากาศ (เพราะหม้อน้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศ).....ดังนั้นหม้อน้ำที่จะระบายความร้อนได้เร็วจึงมีคุณสมบัติพื้นฐานง่ายๆคือ ต้องนำความร้อนได้ดี.....เพื่อที่จะนำความร้อนออกจากน้ำได้ดี...และนำความร้อนไปสู่อากาศได้ดีอีกด้วยเช่นกัน
ทีนี้มาดูโลหะที่มีคุณสมบัติในการนำความร้อนได้ดีมีอะไรบ้าง ตามหลักทฤษฎีนะครับ...โลหะที่มีความสามารถในการนำความร้อนได้ดีที่สุดคือ เงิน โดยมีลำดับรองๆลงไปดังนี้
1. เงิน
2. ทองแดง
3. ทอง
4. อลูมิเนียม
5. แมกนิเซียม
อลูมิเนียมเป็นโลหะ (นับเฉพาะโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่ใช่โลหะพิเศษประเภทเอาไปผลิตยานอวกาศนะครับ) ที่มีความสามารถในการนำความร้อนได้ดีมากชนิดหนึ่ง....สามารถวัดค่าสัมประสิทธิ์ได้ประมาณ 50% กว่าๆ เมื่อเปรียบเทียบกับทองแดง......ดังนั้นจริงๆแล้วถ้าอยากให้หม้อน้ำนำความร้อนได้ดี หรือถ่ายเทความร้อนได้ดี....ใช้เงิน ทองแดง หรือทองทำ...ก็ดีกว่าอลุมิเนียมทั้งหมดหละครับ.....แต่...แต่....ส่งสัยหม้อน้ำลูกนึงราคาคงเป็นแสน หรือถ้าใช้ทองคำทำราคาคงหลายล้าน (เห็นก้อนเล็กๆยังซื้อกันเป็นแสน)....ดังนั้นโลหะที่สามารถนำความร้อนได้ดีกว่าอลุมิเนียมทั้ง 3 ชนิดนั้น....จึงไม่เหมาะมาทำหม้อน้ำด้วยเหตุผลหลักคือ ต้นทุน....คิดดูถ้ารถตีหม้อน้ำด้วยเงิน หรือทองแดง หรือทองคำ....มีหวังคิดทำระบบป้องกันขโมยหม้อน้ำกันบ้างหละ....โจรคงไม่เอารถละ....เอาแต่หม้อน้ำ เผลอๆขายได้มากกว่ารถทั้งคันอีก....ดังนั้นโลหะที่นิยมนำมาใช้ทำหม้อน้ำเลยมาตกที่อลุมิเนียม ด้วยต้นทุนที่สมเหตุสมผลมากกว่า....แต่ก็มีบางค่าย บางสำนักนะครับ...ที่ทำหม้อน้ำด้วยอลุมิเนียม แต่ใช้ไส้ใน หรือท่อน้ำด้านในทำด้วยทองแดง.....เพื่อหวังให้มีการถ่ายความร้อนได้ดีขึ้นกว่าอลุมิเนียมทั้งใบ....ดังนั้นสรุปได้เลยครับ...หม้อน้ำอลุมิเนียมนั้นสามารถนำความร้อนหรือถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าหม้อเดิมแน่ๆ......เพราะดูจากสภาพ หม้อเดิมยังงัยคงไม่ใช่ เงิน ทองแดง หรือทองคำแน่นอน. :L2754: :L2754: :L2754:
เกร็ดความรู้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย หากอยากทดสอบว่าอลุมิเนียมถ่ายเทความร้อน หรือนำความร้อนได้ดีแค่ไหน....ลองง่ายๆครับ ลองเทียบกับสเตนเลสก็พอ....ลองเอาหม้ออลุมิเนียมมาต้มน้ำเทียบกับหม้อสเตนเลสดูครับ....ผมเคยลองเอาหม้ออลุมิเนียมซื้อมาจากร้าน Diso ราคา 60 บาท มาต้มน้ำเทียบกับหม้อสเตนเลสเคลือบเทฟล่อนซื้อมาจากห้างดังราคาหลายร้อยบาท......หม้ออลุมิเนียมน้ำเดือนจนต้มมาม่าจะเสร็จแล้ว...น้ำในหม้อสเตนเลสเพิ่มเดือนเองครับ.....ง่ายๆกับวิธีพิสูจน์ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์แบบเด็กๆ (ตอนนั้นทดลองกับลูก) :L6425: :L6425: :L6425:.....พอดีผมไม่มีหม้อที่ทำด้วยเงิน ทองแดง หรือทองคำนะครับ เลยไม่สามารถเอามาพิสูจน์ว่ามันนำความร้อนได้ดีกว่าอลุมิเนียมมากน้อยแค่ไหน....ถ้าพี่ๆท่านใดจะอนุเคราะห์บริจาคหม้อเงิน หม้อทองแดง หรือหม้อทองคำ สำหรับเป็นวิทยาทาน...ผมยินดีรับไว้นะครับ :L2754: :L2754: :L2754:
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version