ขออนุญาต ท่านAdmin ขอเสริมความรู้ เกี่ยวกับ แว่นตาสำหรับยิงปืน (Shooting glasses)
การเลือกแว่นตายิงปืน (Shooting glasses) เรียบเรียงโดย ดร.วีระ อัศวิศราภรณ์
website:
http://tactical-shooting.blogspot.com ในสหรัฐอเมริกามีผู้ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตามากกว่าสามหมื่นรายต่อปีที่สัมพันธ์กับอาวุธปืนรวมทั้ง Paintball ดังนั้นการใส่เครื่องป้องกันดวงตาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รักการยิงปืน
การใส่แว่นป้องกันดวงตาและใส่เครื่องป้องกันหูจากเสียงดังถือเป็นมาตรการเพื่อความปลอดภัยขั้นพื้นฐานในการยิงปืน
จุดประสงค์หลักที่ต้องใส่แว่นป้องกันดวงตาเพื่อป้องกันเศษกระสุนปืนหรือวัตถุใดก็ตามที่กระเด็นเข้ามา เนื่องจากแว่นตามีหลายแบบ หลายวัสดุ จึงไม่ใช่ว่าแว่นตาทุกชนิดจะเหมาะสำหรับใช้ปกป้องดวงตาจากการยิงปืน บางครั้งการใส่แว่นตาพลาสติกราคาถูกๆอาจมีโอกาสทำอันตรายดวงตามากกว่าไม่ใส่แว่นตาเสียเลย เพราะเมื่อพลาสติกแตกกระจายออกอาจพุ่งเข้าตาทำให้เกิดอันตรายได้
แว่นตาที่เหมาะสำหรับใส่ในการยิงปืน (Shooting glasses) จึงควรมีคุณลักษณะพิเศษดังนี้ - ควรทำจากวัสดุที่ทนแรงกระแทกได้ดี
เช่น Polycarbonate, Trivex หรือ SR-91 เป็นต้น โดย Polycarbonate เป็นวัสดุที่นิยมมากที่สุดเพราะราคาถูก Trivex น้ำหนักเบากว่า ทนแรงกระแทกได้ดีกว่าและมีคุณสมบัติให้แสงผ่านได้เหนือกว่า Polycarbonate แต่ก็มีราคาแพงกว่าด้วย ส่วน SR-91 เป็นเลนส์โพลาไรส์ (Polarized lens) มีน้ำหนักเบา ให้ภาพคมชัดขึ้นแต่ก็ให้ความสว่างน้อยลงจึงไม่เหมาะกับการยิงปืนที่ต้องเล็งผ่านกล้องศูนย์ปืนนอกจากนั้นราคายังแพงอีกด้วย
- มีมาตรฐานรับรองเกี่ยวกับการทนแรงกระแทก
มีอยู่ 3 มาตรฐานที่ใช้กัน คือ American National Standards Institute (ANSI), Occupational Safety & Health Administration (OSHA), the U.S. Military โดย ANSI ควรมีอย่างน้อย ANSI Z87.1 แต่ถ้าได้ ANSI Z87.1+(plus) ก็จะดีมาก ยิ่งได้ MIL-V-43511C และ/หรือ OSHA Safety Standard 1910.133 ด้วยแล้วจะยิ่งดีขึ้นไปอีก
- เลือกคุณภาพของเลนส์แว่นตาให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ถ้าคุณเป็นพวกยิงแบบตะวันตก (Cowboy action shooter) ในระยะ 10 หลาก็อาจใช้แว่นที่ทำจาก Polycarbonate ที่ได้ ANSI Z87.1 ราคาไม่แพงก็ได้ แต่ถ้าคุณเป็นพวกยิงปืนระยะไกลต้องเล็งเป้าผ่านกล้องศูนย์ปืนก็ควรใช้แว่นที่ทำจาก Trivex ที่มีการเคลือบสารลดการสะท้อนแสงจะเหมาะกว่า
- ควรมีการปกป้องดวงตาจากด้านข้างด้วย
ถ้าคุณเป็นนักยิงปืนระบบต่อสู้ที่ต้องเคลื่อนไหวอยู่เสมอ (Action shooting) ก็ยิ่งต้องใส่แว่นตาที่มีการปกป้องดวงตาด้านข้างด้วย เพื่อป้องกันเศษวัตถุที่กระเด็นเข้ามาจากด้านข้าง หรือยิงเป้าที่เป็นเหล็กซึ่งอาจมีเศษเหล็กหรือเศษกระสุนกระเด็นเข้าตาตนเองหรือผู้อื่นได้ ดังนั้นแว่นตาสำหรับนักยิงปืนจึงควรมีการปกป้องด้านข้างด้วยเสมอ
- สีของเลนส์ นักยิงปืนลูกซองนิยมใส่แว่นสีเหลืองสว่างๆ สีส้มหรือสีม่วงเพราะทำให้วัตถุชัดขึ้นแยกได้ดีกับสีท้องฟ้า แต่ถ้าต้องเล็งเป้าหมายผ่านกล้องศูนย์ปืนนิยมใช้แว่นใส สีเหลืองอ่อน สีเทาอ่อน สีน้ำตาลแดงอ่อนและควรมีค่า Visible Light Transmission (VLT) มากกว่า 50 %
- แว่นตาควรสวมใส่สบายไม่หลุดง่าย
ถ้าคุณเป็นนักยิงปืนระบบต่อสู้ก็ควรมีขาแว่นที่คล้องใบหูไว้ไม่ให้หลุดง่ายหรือใส่สายรัดแว่น
- ป้องกันแสง UV
เลนส์ส่วนใหญ่ที่ได้มาตรฐาน ANSI จะมีคุณสมบัติป้องกันแสง UV ได้ดีแม้จะเป็นเลนส์ใสก็ตาม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเลือกเลนส์ที่มีสีเข้มเพื่อหวังจะให้ป้องกันแสง UV ได้ดีขึ้น พยายามเลือกแว่นที่มีข้อความดังนี้ Blocks 99 % หรือ 100 % UV of rays, UV absorption up to 400 nm, meets ANSI UV requirements เป็นต้น
- กรอบแว่นควรเป็นพลาสติกหรือคาร์บอน (Carbon-reinforced frame)
เพราะเบาและมีความยืดหยุ่นกว่าเหล็กไม่หักง่าย
จากหลักเกณฑ์ข้างต้นคงช่วยให้เลือกแว่นตาที่เหมาะสมสำหรับนักยิงปืนได้ไม่ยากเพื่อปกป้องดวงตาที่มีค่าของคุณ
**** ไม่จำเป็นต้องซื้อตามแบรนด์ ไม่จำเป็นต้องซื้อแพง ควรเลือซื้อให้ได้คุณสมบัติที่สำหรับใช้งานนั้นผมใช้แบบนี้ครับ ถูกดี 555+
เด๋วให้ กูรูของปามาเนีย ที่มีความรู้ด้านแว่นตา มาขยายความให้ครับ (เก็บค่าโฆษณานะครับ)
ประเภทอุปกรณ์ป้องกันเสียง
อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง HEARING PROTECTOR : แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. ที่อุดหู (EAR PLUG)
2. ที่ครอบหู (EAR MUFF)
ที่อุดหู (EAR PLUG) เป็นอุปกรณ์ป้องกันหู ราคาถูกที่สุด นิยมใช้กันมากที่สุด เหมาะสมกับการใช้งานในบริเวณที่ความดังของเสียงไม่เกิน 100 เดซิเบล (เอ) สามารถแบ่งย่อยออกตามรูปลักษณ์ได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ
1. ที่อุดหูชนิดที่ต้องปั้นให้เป็นรูปก่อนใช้ (PREMOLD-EAR PLUG):
โดยมากที่อุดหูประเภทนี้ มักจะทำด้วย Foam หรือฟองน้ำเทียม (SYNTHETIC SPONGE) สามารถลดระดับเสียงลงได้ประมาณ 24-29 เดซิเบล (เอ) ก่อนใช้ต้องปั้นให้เล็กที่สุดเพื่อที่จะเสียบเข้าไปในรูหู
ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี: 1. ราคาถูก
2. ลดระดับความดังของเสียงได้มากกว่าที่อุดหูชนิดอื่น
3. ไม่ระคายเคืองต่อรูหู
4. สามารถใส่ทำงานได้เป็นเวลานานๆ
ข้อเสีย: 1. สิ้นเปลือง เพราะไม่สะดวกที่จะล้างทำความสะอาดเพื่อนำกลับมาใช้และสูญเสียง่าย
2. เสียเวลาในการปั้นให้เป็นรูปก่อนการใช้
2. ที่อุดหูชนิดพลาสติก หรือยาง (EAR PLUG/EAR INSERT):
ที่อุดหูประเภทนี้จะทำด้วยพลาสติก ยาง หรือซิลิโคน แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาเป็นสำคัญความสามารถในการลดระดับเสียงอยู่ในระหว่างช่วง 24-26 เดซิเบล (เอ)
ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี: 1. ล้างทำความสะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ได้
2. สามารถใส่ทำงานได้เวลานานๆ
ข้อเสีย: 1. สูญหายง่าย เป็นเหตุให้สิ้นเปลือง
2. ระคายเคืองหูและบางคนอาจแพ้วัสดุที่ทำที่อุดหู
3. ราคาสูงกว่าแบบต้องปั้นขึ้นรูป
ที่ครอบหู (EAR MUFF):
เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง ที่มีราคาสูงกว่าที่อุดหูมาก วัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์ประเภทนี้มักได้แก่ พลาสติก+โลหะ ความสามรถในการลดความดังของเสียงจะอยู่ในระดับ 25-29 เดซิเบล (เอ)
ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี: 1. ทนทาน ถาวรกว่าที่อุดหู ล้างทำความสะอาดได้
2. ใช้ง่ายกว่าที่อุดหู
3. ลดความดังของเสียงได้ดีกว่า
ข้อเสีย: 1. ราคาสูง
2. ไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องใส่อยู่เป็นเวลานานๆ
3. มีการบำรุงรักษามากกว่าที่อุดหู****ข้อมูลจาก
http://www.thai-safetywiki.com/index.php?option=com_content&view=article&id=77:hearing-type&catid=50:hearing-protection&Itemid=53