Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Alternative Energy

มีน้องปาดีเซลติดแก๊สบ้างป่าวครับ

<< < (2/3) > >>

สุภัทร (Pat):
ข้อมูลพี่ต๋อง เป็น LPG หรือ NGV หรือเป็นทั้งสองอย่างครับ
ตอนใช้ escape ก็ใช้ LPG มานาน มีปัญหาจุกจิก ประเภท ซ่อมไปใช้ไปละครับ
อ่านข้อมูลพี่แล้ว หูตาสว่างขึ้นเยอะ :sd23: :sd23: :sd23:

ต๋อง Fuddy:

--- อ้างจาก: Pat ที่  9 มกราคม 2013, 08:17:39 ---ข้อมูลพี่ต๋อง เป็น LPG หรือ NGV หรือเป็นทั้งสองอย่างครับ
ตอนใช้ escape ก็ใช้ LPG มานาน มีปัญหาจุกจิก ประเภท ซ่อมไปใช้ไปละครับ
อ่านข้อมูลพี่แล้ว หูตาสว่างขึ้นเยอะ :sd23: :sd23: :sd23:

--- End quote ---
อันนี้เลยครับพี่สุ
ความแตกต่างระหว่างก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas Vehicles: NGV) และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas: LPG)
• ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทน (Methane) เป็น ส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบากว่าอากาศ การขนส่งไปยังผู้ใช้จะขนส่งผ่านทางท่อในรูปก๊าซภายใต้ ความดันสูง จึงไม่เหมาะสำหรับการขนส่งไกลๆ หรืออาจบรรจุใส่ถังในรูปก๊าซธรรมชาติอัดโดยใช้ความดันสูง หรือที่เรียกว่า CNG แต่ปัจจุบันมีการส่งก๊าซธรรมชาติในรูปของเหลวโดยทำก๊าซให้เย็นลงถึง –160 องศา เซลเซียส จะได้ของเหลวที่เรียกว่า Liquefied Natural Gas หรือ LNG ซึ่งสามารถขนส่งทางเรือไปที่ไกลๆ ได้ และเมื่อถึงปลายทางก่อนนำมาใช้ก็จะทำให้ของเหลวเปลี่ยนสถานะกลับเป็นก๊าซอย่างเดิม ก๊าซธรรมชาติมีค่า ออกเทนสูงถึง 120 RON จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ได้
• ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมีองค์ประกอบของก๊าซโพรเพน (Propane) เป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ โดยตัว LPG เองไม่มีสี ไม่มีกลิ่นเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ แต่เนื่องจากเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศจึงมีการสะสมและลุกไหม้ได้ง่าย ดังนั้น จึงมีข้อกำหนดให้เติมสารมีกลิ่น เพื่อเป็นการเตือนภัยหากเกิดการรั่วไหล LPG ส่วนใหญ่จะใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนและกิจการอุตสาหกรรม โดยบรรจุเป็นของเหลวใส่ถังที่ทนความดันเพื่อให้ขนถ่ายง่าย นอกจากนี้ ยังนิยมใช้แทนน้ำมันเบนซินในรถยนต์ เนื่องจากราคาถูกกว่า และมีค่าออกเทนสูงถึง 105 RON
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของ NG กับ LPG
หมายเหตุ
1. ค่าออกเทน (Octane number) หมายถึง หน่วยการวัดความสามารถ ในการต้านทานการน็อคของเครื่องยนต์ 2. RON (Research Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ที่ทำงานอยู่ในรอบของช่วงหมุนต่ำ โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 600 รอบ ต่อนาที 3. MON (Motor Octane Number) เป็นค่าออกเทนที่มีประสิทธิภาพต่อต้านการน็อคในเครื่องยนต์หลายสูบ ในขณะทำงานที่รอบสูง โดยใช้เครื่องยนต์ทดสอบมาตรฐานภายใต้สภาวะมาตรฐาน 900 รอบต่อนาที
หมายเหตุ : ค่าแรงดันก๊าซ
LPG ขณะอยู่ในถังมีสถานะเป็นของเหลว มีค่าแรงดัน 100-130 PSI ( ปอล์นต่อตารางนิ้ว) หรือ 4-6 BAR
NGV ขณะอยู่ในถังมีสถานะเป็นก๊าซ มีค่าแรงดัดประมาณ 2200-2800 PSI หากเติมเต็มๆจะถึง 3000 PSI หรือ 200 BAR

คุณสมบัติของก๊าซแอลพีจี

         1. ก๊าซแอลพีจี อยู่ในรูปของเหลว และมีความดันต่ำ ถังก๊าซแอลพีจีมีความหนาผนังมากกว่าถังน้ำมันเบนซินมาก ทำให้โอกาสที่จะเกิดการระเบิด จากถังเนื่องจากการชนเป็นไปได้น้อย

         2. ก๊าซแอลพีจี ไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างใด ทำให้การจุดระเบิดสะอาดหมดจด และยืดอายุการใช้งานได้

         3. ก๊าซแอลพีจี มีออกเทนสูงกว่าน้ำมันเบนซิน จึงส่งผลให้การสตาร์ทและการทำงานของเครื่องยนต์มีความสมบูรณ์มากขึ้น

         4. ราคาค่าก๊าซถูกกว่าน้ำมันเบนซินหรือดีเซล ทั้งปัจจุบันและอนาคต

         5. ช่วยป้องกันปัญหาที่เรียกว่ารถกินน้ำมันเครื่อง เพราะการสึกหรอของชิ้นส่วน เมื่อใช้ก๊าซมีน้อยกว่า

         6. ยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์

         7. เครื่องยนต์เดินได้ราบเรียบกว่าในรอบที่ต่ำกว่า ถ้าหากได้รับการติดตั้งอย่างถูกวิธี

 ข้อควรระวังสำหรับการใช้ LPG ในรถยนต์

         1. ต้องรู้ว่าก๊าซหุงต้มคือ ก๊าซ ที่หนักกว่าอากาศ เมื่อมีการรั่วซึมจะเกาะกลุ่มกันอยู่บนพื้นในระดับต่ำ

         2. ควรจะต้องตรวจเช็คการรั่วซึมตามจุดต่างๆ อย่างน้อยปีละสองครั้ง

         3. ก่อนที่จะมีการถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ในระบบก๊าซจะต้องปิดวาวล์ที่ถังก๊าซให้สนิท

         4. จะต้องไม่เติมก๊าซมากกว่าร้อยละแปดสิบของความจุของถัง

         5. ในการเติมก๊าซทุกครั้งอาจจะมีการรั่วซึมออกมานิดหน่อยตรงหัวเติมก๊าซ ให้ระวังประกายไฟในขณะนั้น

         6. การจอดรถหลังเลิกใช้งานเมื่อจอดรถในที่จอด เช่น โรงรถ ควรจะปิดวาวล์ที่ถังแกส

         7. โรงจอดรถถ้าเป็นไปได้ควรจะเป็นที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยเฉพาะในระดับพื้นดินต้องโปร่งโล่ง

         8. ถ้าจะนำรถที่ใช้ก๊าซเข้าตรวจเช็คสภาพรถยนต์ตามปกติ ควรจะให้มีก๊าซในถังเหลือน้อยที่สุด

         9. ในรถรุ่นที่ต้องปรับตั้งลิ้นไอดีไอเสียแบบกลไก ก็จะต้องมีการปรับตั้งระยะห่างของลิ้นตามปกติอย่างเข้มงวด
 
         10. LPG จะถูกเผาไหม้ช้ากว่าน้ำมันเบนซิน การปรับตั้งไฟจุดระเบิดจึงต้องปรับตั้งล่วงหน้าเพื่อจะเผาไหม้ได้หมดจด 

         11. LPG ต้องใช้ประกายไฟจากหัวเทียนเข้มข้นกว่าที่ใช้ในน้ำมันเบนซิน จึงต้องเลือกใช้หัวเทียนให้ถูกต้องกับค่าความร้อน

         12. LPG มีค่าอ็อกเทนประมาณ 91ถึง125 รถที่จะติดตั้งก๊าซหุงต้ม ควรจะมีอัตราส่วนกำลังอัดตั้งแต่ 10:1ขึ้นไป จึงจะใช้ประสิทธิภาพของก๊าซได้อย่างคุ้มค่า
คุณสมบัติของก๊าซเอ็นจีวี

         1. อุณหภูมิติดไฟของก๊าซเอ็นจีวีนั้นสูงกว่าเชื้อเพลิงอื่นๆ ติดไปยาก ทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดไฟไหม้เมื่อก๊าซรั่วหรืออุบัติเหตุ

         2. ก๊าซเอ็นจีวี ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปไอ ซึ่งมีแรงดันสูง จึงทำให้ไม่มีอากาศเข้าไปผสม จึงไม่ก่อให้เกิดการผสมกันระหว่างก๊าซ จึงลดโอกาสในการติดไฟและระเบิดได้

         3. ก๊าซเอ็นจีวี ก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สะอาดหมดจด และไม่ก่อให้เกิดการสกปรกของน้ำมันเครื่อง จึงสามารถยืดอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องได้

         4. ก๊าซเอ็นจีวี ไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างใด ทำให้การจุดระเบิดสะอาดหมดจด และยืดอายุการใช้งานได้

         5. ก๊าซเอ็นจีวี ไม่ส่งผลเสียต่อลูกสูบและกระบอกสูบ ทำให้เกิดการหล่อลื่นที่มีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น

         6. ก๊าซเอ็นจีวี มีออกเทนสูงกว่าน้ำมันเบนซิน จึงส่งผลให้การสตาร์ทและการทำงานของเครื่องยนต์มีความสมบูรณ์มากขึ้น

         7. ก๊าซเอ็นจีวี ก่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สะอาดหมดจด ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น จึงช่วยลดมวลไอเสีย และส่งผลต่อการลดมลพิษในอากาศโดยตรง

         8. มีสัดส่วนของคาร์บอนน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นและมีคุณสมบัติเป็นก๊าซ ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์มากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกจากเครื่องยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ มีปริมาณต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น

         9. เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดควันดำหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน จึงสามารถลดปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

         10. เป็นเชื้อเพลิงที่สามารถผลิตได้ในประเทศ จึงมีราคาถูกกว่าน้ำมัน และสามารถประหยัดเงินตราต่างประเทศจากการลดการนำเข้าน้ำมันดิบ 

         11. เป็นเชื้อเพลิงรถยนต์ที่มีความปลอดภัยมากที่สุด เพราะมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ ดังนั้นเมื่อเกิดรั่วไหล ก๊าซเอ็นจีวีจะไม่สะสมอยู่บนพื้นดินจนเกิดการลุกไหม้เหมือนเชื้อเพลิงอื่นๆ และอุณหภูมิที่จะทำให้ก๊าซเอ็นจีวีสามารถลุกติดไฟในอากาศเองได้ก็ต้องสูงถึง 650 องศาเซลเซียส 

ที่มา:การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
คัดลอกเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อการศึกษาและให้ความรู้ผู้สนใจ
ขอขอบคุณ การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย

***** โดยความคิดเห็นส่วนตัวครับพี่สุ ถ้าอยากใช้เชื้อเพลิงประเภทนี้ ก่อนตัดสินใจเลือกรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงนี้เลย เช่น ไทรตันCNG เนื่องจากมาตราฐานการติดตั้งน่าจะดีกว่านำไปติดตั้งเอง จากการติดตามข่าวสารทางสื่อ รถส่วนใหญ่ติดตั้งจากอู่นอก ประสบอุบัติเหตุที่ไร ย่างสด อะ  :sd21:

 
 

ตูมตาม:
เคยมีน้องปาดีเซลเข้าไปทำมาคันนึงนะครับ ตอนช่วงนั้นมีหลายๆคนสนใจเพราะราคาเชื้อเพลิงที่ถูกกว่า และทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้นด้วย......คันนั้นที่เข้าไปทำเสร็จ ออกมาก็มารีวิวเห็นชม....ดีเซลติดแก๊ซ ไม่สามารถใช้แก๊ซได้ทั้ง 100% แต่เป็นการจูนผสมระหว่างดีเซลและแก๊ซ.....และอัตราการจูนก็ไม่สามารถทำได้มากนัก เพราะจะเกิดปัญหาเรื่องความร้อน....ตอนนั้นน้องปาที่เข้าไปทำเลยจูนไว้แบบไม่มากนัก.....หลังจากรีวิวประเด็นการจูนผสมนี้แล้ว กระแสความสนใจก็ลดน้อยลง เนื่องจากไม่สามารถใช้แก๊ซได้ทั้งหมด ยังคงต้องผสมกับดีเซลอยู่ดี จึงทำให้ค่าเชื้อเพลิงที่ประหยัดไปได้ไม่มากนัก ความคุ้มค่าต่อการลงทุนเมื่อบวกกับค่าความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายกับรถแล้วดูจะไม่ดึงดูดใจมากนัก ประเด็นเรื่องการนำน้องปาดีเซลไปติดแก๊ซ สำหรับในกลุ่มผู้ที่ต้องการประหยัดค่าเชื้อเพลิงจึงค่อยๆหมดความน่าสนใจไป

คงเหลือแต่ในประเด็นที่ทำให้เครื่องแรงขึ้น....อย่างที่ข้อมูลพี่ต๋องได้แจ้งไปแล้ว....แก๊ซมีความบริสุทธิ์มากกว่าน้ำมันดีเซล การเผ้าไหม้สมบูรณ์กว่า สะอาดหมดจดกว่า....ก็เป็นผลทำให้เครื่องแรงขึ้นกว่าการใช้ดีเซล.....ประเด็นนี้ยังมีกลุ่มที่ชอบความแรงให้ความสนใจ และน้องปาที่ไปทำมาก็รีวิวไว้อย่างละเอียดว่าแรงขึ้น ออกตัวดีขึ้น....เรียกได้ว่าไปติดแก๊ซนี่ พวกกล่องดันราง กล่องคันเร่ง ชิดเข้าเลนซ้ายไปเลย......เป็นที่สนใจในหมู่ผู้นิยมความแรงกันมากในตอนนั้น

ข่าวสุดท้ายที่ได้ยินเกี่ยวกับน้องปาดีเซลที่ไปติดแก๊ซคันนี้คือ.....หลังจากติดไปได้ซักประมาณ 6 เดือนได้มั้งครับ....ก็ "ดับ"......ด้วยสาเหตุอะไรผมไม่แน่ใจ เพราะไม่ได้ติดตามข่าวต่อหลังจากนั้น......ซ่อมบำรุงอย่างไร หายหรือไม่ก็ไม่แน่ใจนะครับ....ทราบแต่ว่าดับคาเท้าเช่นกัน.....ในช่วงนั้นมีหลายๆข้อสังเกตุเกิดขึ้นเกี่ยวกับกรณีนี้ โดยกลุ่มผู้ขายและให้บริการติดตั้งแก๊ซก็ยืนยันว่า การติดตั้งแก๊ซในรถดีเซลนั้นมีความปลอดภัยกับเครื่องยนต์ 100% หากใช้งานตามคำแนะนำ และบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง จนมีการตั้งข้อสังเกตุว่าเจ้าของน้องปาจูนแก๊ซมากไปหรือเปล่า เป็นข้อให้ถกเถียงกันมาอยู่พักนึงครับในเรื่องสาเหตุของการดับครั้งนี้

ข้อสังเกตุนึงที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ผมอ่านแล้วรู้สึกเห็นด้วยคือ.....ปัญหาการดับ อาจไม่ได้มาจากจูนแก๊ซมากเกิดไป หรือความสมบูรณ์ของระบบแก๊ซ หรือการติดตั้ง.....แต่ปัญหาอาจเกิดจาก "ความแรง" ที่ได้รับจากการติดแก๊ซ......เพราะเมื่อรถมันแรงขึ้น ก็ขับมันมากขึ้น ยิ่งเหยียบยิ่งมัน ยิ่งเวลาออกตัวแรงๆ มันสะใจก็ยิ่งกด........ปัญหามันมาจาก Hardware ของน้องปาดีเซล ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รับการจุดระเบิดที่รุนแรงของแก๊ซ และไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับกับความแรงและการกระทืบหลังจากติดแก๊ซไปแล้ว......ดังนั้นนี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ Hardware ตัวอื่นๆ ทนทานรับไม่ไหว....ในที่สุดก็พังครับ

ข้อสรุปโดยส่วนตัวของผมเองหลังจากได้ติดตามข่าวน้องปาคันนี้มาพอสมควร....สรุปว่า.....น้องปาดีเซล ติดตั้งแก๊ซนั้นทำได้ครับ เพราะมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วอย่างที่พี่ต๋องบอก มีค่ายติดแก๊ซค่ายนึงทำออกมาให้ลองเรียบร้อยแล้ว ก็ใช้งานได้ปกติ เท่าที่เห็นก็ไม่พังนะครับ แต่เสียดายคือผู้ที่นำไปทดลองใช้ไม่ได้นำข้อมูลมาลงแชร์ให้ทราบ..........เอาเป็นว่าน่าจะติดตั้งได้ และใช้งานได้ครับ.......แต่เมื่อติดตั้งแล้ว ต้องมีการบำรุงรักษาที่ดี ดีมากๆ ดีกว่าการใช้รถปกติ ทั้งในเรื่องของระบบแก๊ซเอง และ Hardware ตัวอื่นๆ ที่ต้องรองรับการจุดระเบิดที่รุนแรง.......และที่สำคัญคือผู้ใช้งานครับ ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า น้องปาดีเซลที่ไปติดแก๊ซมานั้น Hardware หลายส่วนไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับกับการทำงานแบบนั้น ดังนั้นการใช้งานจึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง ใช้งานอย่างถนอมเครื่อง และต้องรู้จักที่จะ monitor อาการต่างๆของรถอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทราบปัญหาของตัว Hardware ต่างๆ ก่อนที่จะส่งผลทำให้ "ดับคาเท้า" ครับ

ทั้งหมดเป็นข้อมูลที่ผมได้ติดตามมาเมื่อระยะหนึ่งแล้วนะครับ บวกรวมกับความคิดเห็นส่วนตัวของผมเองนะครับ ผิดถูกอย่างไรต้องขออภัยนะครับ  :L4399: :L4399:

สุภัทร (Pat):
ขอบคุณครับ พี่ต๋อง

พี่โต (1007):
ขอบคุณพี่ต๋องครับ  สำหรับข้อมูลดี ๆ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version