Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Performance Talks & Engine Modifications
***กล่องคันเร่งไฟฟ้า*** ทำไมผมถึงใช้ และปัจจุบันทำไมถึงใช้ตัวนี้
พี่นะ [Na ratchada]:
สิ่งสำคัญที่อยากให้สมาชิกใหม่ๆศึกษากันไว้ กรณีติดตั้งกล่องต่างๆที่แนะนำเพื่อรู้ทันสิ่งที่จะเกิดและปัญหาเล็กน้อยพร้อมการแก้ไข ต่างๆ ดังกระทู้ที่ทำ link ไว้ให้นี้
แนะนำวิธีการขับขี่แบบไม่กระแทกคันเร่ง
http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,2041.0.html
เรื่องเล่าของกล่องคันเร่ง และที่มา
http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,812.0.html
แนะนำ : วิธีเก็บรักษากล่องหรรษาทั้ง 3 กล่อง ปิ่นโต SMGและผีบอก ไว้กับรถ
http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,2566.0.html
**งดเว้นการกระแทกคันเร่งทุกกรณี นะครับ
พี่นะ [Na ratchada]:
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
เครดิตรั้วสังกะสี ...กล่าวว่า.... " กล่องคันเร่งไฟฟ้าหรือ Accelerator Box จริงแล้วถูกออกแบบมาเพื่อชดเชยสัญญาณคันเร่งไฟฟ้าในช่วงที่ขาดหายไปบางช่วง ของระยะคันเร่งสำหรับเครื่องยนต์ เพื่อให้ได้ความรู้สึกต่อเนื่องกับอัตราเร่งในการกดคันเร่งลงไปตามระยะลึกและรถมีการตอบสนองที่เป็นธรรมชาติที่สุด ดังนั้นผู้ผลิตกล่องที่คนไทยเราเรียกว่ากล่องคันเร่งนี้จะผลิตออกมาให้เป็นค่ากลางๆใกล้เคียงกับกราฟSTDของรถหลายๆรุ่น เพื่อให้เลือกปรับจังหวะชดเชยให้เหมาะสมกับสิ่งที่ขาดหายไปเท่านั้น ไม่ใช่การออกแบบมาให้หลายmode แล้วมาเอาเป็นจุดขายว่า แรงได้หลายระดับ หากใครเอาจุดนี้ไปขายก็แสดงว่ายังไม่เข้าใจเรื่องการออกแบบและวัตถุประสงค์ใช้งานกัน มีผลถึงเรื่องการปรับจูนที่ได้เป้าหมายต่างกัน สุดท้ายก็คงหนีไม่พ้นการคุยข่มกันว่ายี้ห้อนั้นแรงกว่ายี้ห้อนี้ ยี้ห้อนั้นน่าเชื่อถือกว่ายี้ห้อนี้ กราฟจูนตรงรุ่น และอื่นๆอีกมากมาย แต่จะว่าไป....ถ้าไม่ชูจุดนี้แล้วจะเอาอะไรมาเป็นจุดขายล่ะ คนผลิตก็ไม่บอกออกมาทั้งหมดเพราะจุดขายแบบนี้ทำให้สินค้ามีของเขามีส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มมากขึ้นกว่าการขายแบบบอกวัตถุประสงค์จริงๆ
คราวนี้เรามาว่ากันต่อในเรื่องหลักการ คือเมื่อเราจะนำกล่องคันเร่งมาใช้งานสิ่งแรกที่เราควรทำคือปิดกล่องคันเร่งหรือถอดออกก่อนเพื่อไปทำการบ้านและเรียนรู้อาการของรถเราก่อนว่าขาดเหลืออะไร ดังนี้
1. บำรุงรักษารถตามระยะในคู่มือหรือไม่
2. กรองอากาศเดิมและเป่ากรองอาาศให้สะอาดหรือไม่
3. Air flow ได้มีการทำความสะอาดหรือยัง
4. ความสะอาดของน้ำมันเชื้อเพลิง จากปั๊มที่น่าเชื่อถือหรือยัง
5. น้ำมันเครื่องและน้ำมันเกียร น้ำยาหล่อเย็นพร้อม หรือยัง
6. ลมยางมากกว่า STD แนะนำ ให้ลมยางตึงๆหน่อย
7. Start engine พร้อมอุ่นเครื่องยนต์จนได้ Engine temp ( 78-82องศาในรุ่น 3200 cc , และ 87-88 องศาในรุ่น 2500 cc )
8. นำรถออกขับเพิ่มจับอาการตอบสนอง
9. เปิดกล่องดันรางใน mode ที่พอใจที่สุด (หากมี)
10. ควบคุม Boost gauge ให้อยู่ในช่วง 20psi+/- (หากมีเพิ่มBoost)
11. ขับจับอาการให้ได้ว่า อัตราเร่งหล่นหายช่วงจังหวะไหน ที่รอบเท่าไหร่ และการต่อเนื่องของความเร็วปลายเกียร์เป็นเช่นไร
12. ค่อยๆเปิดกล่องคันเร่งและปรับ mode เพื่อ adjust ให้การตอบสนองสมดุลย์กับอัตราเร่งและระยะกดคันเร่ง ให้เหมือนธรรมชาติที่สุด
13. ใช้เครื่องมือต่างๆ ปรับจูนและชดเชยจังหวะตอบสนองของกล่องคันเร่งไฟฟ้า หลังการปรับจูนทุกอย่างในรถเป็นอันดับสุดท้าย (เอาแค่ชดเชยส่วนที่ขาดหาย)
**ทั้งนี้จะเห็นแล้วใช่ไหมว่า กล่องอะไรก็ตามที่ทำงานได้ในลักษณะเดียวกันสามารถให้การตอบสนองคล้ายกัน ไม่จำเป็นต้องระบุยี้ห้อเพียงแต่ให้รู้ว่าค่าที่เราต้องการคืออะไรและหลักการทำงานของเครื่องยนต์ ที่พยายามสอนให้เข้าใจมันเกี่ยวข้องอะไรกับพื้นฐานการจูนรถแบบ Street use แต่กล่องบางยี้ห้อมี functionและคุณสมบัติที่ต่างจากกันทั้งนี้ต้องดูที่การบริการและความชำนาญของผู้ติดตั้งด้วยว่ามีความรู้มากพอที่จะปรับจูนไหม การปรับจูนค่าที่ดีและตรงกับรถมากที่สุดคือคนที่อยู่กับรถคันนั้นๆทุกวันและมีความรู้ในการปรับจูนและขับรถเป็น (ไม่ใช่คนที่ขับรถเก่ง) ฝากบอกเพื่อนๆว่าที่แนะนำให้ทำนี้คือการแต่งรถไม่ใช่รถแต่งอย่าเข้าใจความหมายและจุดประสงค์ผิดๆ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากคำสอนและคำแนะนำของรั้วฯ จึงเป็นที่มาของการเรียนรู้ใน Step ต่อไปนี้
การจูนรถนั้นมีการจูนหลักๆอยู่ 2 แบบ
1. แบบขับมันส์ ปลายไหล เล่นแรงม้าจนให้ผลความเร็วปลาย
2. แบบขับสนุก ต้นจัด เล่นแรงบิดจนให้ผลอัตราเร่งที่เร็ว
ครั้งแรกแรกรถผมที่รั้วจูนให้ได้แบบนี้เลย ขับมันส์ ปลายไหล ไหลมากๆ หลังจากนั้นเล่นกันจนแรงดันLock เกิดอาการกล่อง ECU Hold ค่า.....จนได้มาเจอ IFRIT เป็นจังหวะเดียวกับที่รั้วสังกะสี ได้ย้ายไปจากเมืองไทยพอดีเลย (เพราะผมซนเอง ปรับเอง พังซิครับ)...รูปแมวป่าคันนี้นี้มีคน copy รูปไปใช้ประโยช์นส่วนตัวกันมากเลย
หลังจากรั้วฯทราบข่าว ก็โดนบ่นชุดใหญ่ จนบอกว่าสมน้ำหน้าชอบไม่ใช่หรอ ชอบแนววัยรุ่นพร้อมเสียงหัวเราะ........ฝันผมพังแล้ว!
หลังจากนั้นมารั้วฯเริ่มสอนให้รู้จักเครื่องยนต์และค่าต่างๆ ผมได้รับมาเท่าไหร่ก็รีบระบายและupdateกับพี่อ๊อดเรื่อยมา ข้อมูลหลากหลายโดนโถมใส่เป็นระยะๆเพื่ออยากให้รู้,เล่นให้เป็นและแนะนำเพื่อนๆในคลับหรือเขียนเป็นกระทู้แนะนำกันเองในกลุ่ม ตั้งแต่นั้นมาเราเขียนข้อมูลกัน,เก็บบันทึกเรื่องราวต่างๆที่ได้มาจนหลายคนชอบคิดว่าเรา copyมาจากgoogleจึงเกิดคู่แข่งมากมายในการรีวิว แต่คู่แข่งเราgoogleของแท้แต่พอsearch ข้อมูลแบบของผมและพี่อ๊อดก็เจอแต่ชื่อผมและพี่อ๊อด ขนาดadmin web เขายังไม่เชื่อเลยว่าเราพิมพ์กันเอง
พวกเราปามาเนียมีแนวทางที่ชัดเจนไม่มีการถือตัวแต่อย่างใด ในแต่ละmeetingเราจะถอดหัวโขนกันหมดทุกคนคือเพื่อนกันไม่ว่าใครจะอยู่บริษัทมีตำแหน่งหน้าที่ใดๆหากได้มาพักผ่อนแบบปามาเนียแล้วทุกคนคือเพื่อนครับ และเราจะช่วยเหลือกันตลอดทุกๆอย่างแบบนี้
บางคนนั่งกับพื้นถนนเลย เพื่อความสุขของการมาพักผ่อนกัน
นี่แหละ Pa Mania Style
พี่นะ [Na ratchada]:
มาว่ากันต่อในรายละเอียดต่อยอดจากกระทู้พี่อ๊อด ในเรื่องกล่องคันเร่งไฟฟ้าและสูตรผีบอก
กล่องค้นเร่งไฟฟ้าคือกล่องที่ช่วยชดเชยอัตราการตอบสนองของคันเร่งไฟฟ้าของรถเราที่ถูกหน่วงออกมาจากโรงงาน เมื่อติดตั้งแล้วรถจะมีอัตรตอบสนองต่อเครื่องยนต์ค่อนข้างเร็วขึ้นและลดระยะการกดคันเร่งแบบปกติได้ แต่ทั้งนี้ระยะที่กดและค่าที่ชดเชยต่างๆนั้น มีเกณฑ์ที่เตรียมไว้ให้ใช้งานถึง 14 ลำดับ สามารถปรับเลือกได้ด้วยมือป่าวครับ
การติดตั้ง
ไม่มีการตัดต่อสายใดๆ เป็นปลี๊กเสียบและ pin เสียบ ไม่มีการดัดแลงเครื่องยนต์กลไกใดๆ ไม่มีการตัดสาย ไม่มีการเจาะ ไม่มีการรื้ออุปกรณ์ใดๆออก มีอุปกรณ์อุดเมื่อเลิกใช้งานหรือสามารถรื้อถอดออกได้โดยที่รถกลับคืนสภาพเดิมๆ
การทำงาน
เป็นตัวชดเชยจังหวะกดคันเร่ง ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า มีระบบ lock กันขโมย มีระบบปิดกล่อง
การใช้งาน
เมื่อเลือก mode ที่ชอบแล้วก็ขับอย่างเดียว ใช้งานปกติธรรมดาไปต้องไปยุ่งอะไรกับกล่องที่ติดตั้งไว้ ไม่ต้องคอยดูแลอะไร ใช้งานรถแบบเดิมปกติ
เอามาแล้วติดตั้งเองได้ไหม
ค่อนข้างยุ่งสักนิดสำหรับคนที่ไม่เคยรื้อรถทำเอง แต่ก็ไม่ยากเกินไปถ้าคิดจะทำเรายินดีช่วยเหลือเรื่องวิธีการและคำแนะนำ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากคำแนะนำและหลักการต่างๆของรั้วฯ นั้น เราต่างก็มาต่อยอดหาความรู้และทดลองกันเรื่อยมาด้วยการสนับสนุนของหลายๆฝ่าย เช่น
บริษัทแห่งหนึ่งที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังสำหรับกล่องราคาพิเศษให้เรามาลองใช้กัน
สายและโปรแกรมจูนจากผู้ผลิต
คู่มือและวิธีการ จากพี่อ๊อด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกปามาเนีย
โปรแกรมและเทคนิคสนับสนุนต่างๆ
เครื่อง Notebook ที่ต้องมี Chip UART เบอร์ที่ต้องการที่ port RS-232 เฉพาะการ
รวมไปถึง accessory ที่ทางพี่พรเทพ จัดแจกกับสมาชิกทั่วไป
เราทดลองเล่นทดลองใช้งานโปรแกรมกันจนคล่องแต่ก็ยังได้การตอบสนองไม่ดีเท่าที่ควรและเราอยากทราบลิมิตของการปรับจูนแบบต่างๆ ความสามารถของโปรแกรมในเรื่องของการเฉลี่ยค่าให้รวมไปถึงการชอเชยแบบ Uplift signal จึงเกิดการให้ค่าที่เหมาะสมกับเครื่อง pajero มาลองเล่นและได้ลองครั้งแรกในงานศพที่วัดหัวลำโพง เราเลยเรียกว่า "สูตรผีบอก"
หลังจากสมาชิกชุดแรกที่ได้รับสูตรจูนไปต่างก็พอใจและชื่นชอบ จนเกิดการบอกต่อ ปากต่อปาก ทำให้สูตรผีบอกกระจายเร็วมากและการจูนมักเป็นช่วงกลางคืน(นัดกันหลังเลิกงาน)
กระแสสูตรผีบอกแรงมาก และมีการ update เรื่อยมาจนแซวกันว่า " ผีรถบรรทุก " เพราะจูนกันในดงรถพ่วง
แรงได้อีกกับ " ผีทะเล " เพราะจูนกันริมทะเล
จะไม่ให้เรียกสูตรผีบอกได้ไงครับ ลองสังเกตุนอกรถซิ จังหวะหรือป่าว
ภายใต้เหตุการณ์พลิกผลันอะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ ภายใต้พายุโหมกระหน่ำกลับเป็นการกำเนิดปามาเนีย...
จากกระทู้เรื่องราวเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องสุดท้ายที่พวกเราเล่นและลอง...เพียงอยากจะบอกว่าก่อนที่พวกเราจะแนะนำอะไรให้สมาชิกนั้น เราได้ตรึงตรองมากกว่าหลายครั้ง ได้ลองได้ทดสอบจนแน่ใจมากกว่าหลายหน ได้มีเพื่อนสมาชิกร่วมเล่นร่วมลองมากกว่าหลายคน และสุดท้ายนั้นคือการที่พวกเรารักในสิ่งเดียวกันและยึดมั่นสร้างปามาเนียของพวกเราเพื่อให้เป็นวัฒนธรรมธรรมใหม่ในสังคมโลกไซเบอร์ ที่เป็นจริงและจับต้องได้ หากสนใจและชอบในแนวทางเดียวกันขอเรียนเชิญทุกท่านที่สนใจครับ
เขานี่หรือ...คือ....พ่อมดปามาเนีย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอสรุปอีกครั้ง
เครดิตรั้วสังกะสี " กล่องคันเร่งไฟฟ้าหรือ Accelerator Box จริงแล้วถูกออกแบบมาเพื่อชดเชยสัญญาณคันเร่งไฟฟ้าในช่วงที่ขาดหายไปบางช่วง ของระยะคันเร่งสำหรับเครื่องยนต์ เพื่อให้ได้ความรู้สึกต่อเนื่องกับอัตราเร่งในการกดคันเร่งลงไปตามระยะลึกและรถมีการตอบสนองที่เป็นธรรมชาติที่สุด ดังนั้นผู้ผลิตกล่องที่คนไทยเราเรียกว่ากล่องคันเร่งนี้จะผลิตออกมาให้เป็นค่ากลางๆใกล้เคียงกับกราฟSTDของรถหลายๆรุ่น เพื่อให้เลือกปรับจังหวะชดเชยให้เหมาะสมกับสิ่งที่ขาดหายไปเท่านั้น ไม่ใช่การออกแบบมาให้หลายmode แล้วมาเอาเป็นจุดขายว่า แรงได้หลายระดับ หากใครเอาจุดนี้ไปขายก็แสดงว่ายังไม่เข้าใจเรื่องการออกแบบและวัตถุประสงค์ใช้งานกัน มีผลถึงเรื่องการปรับจูนที่ได้เป้าหมายต่างกัน สุดท้ายก็คงหนีไม่พ้นการคุยข่มกันว่ายี้ห้อนั้นแรงกว่ายี้ห้อนี้ ยี้ห้อนั้นน่าเชื่อถือกว่ายี้ห้อนี้ กราฟจูนตรงรุ่น และอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นกล่องอะไรก็ตามที่ทำงานได้ในลักษณะเดียวกันสามารถให้การตอบสนองคล้ายกัน ไม่จำเป็นต้องระบุยี้ห้อเพียงแต่ให้รู้ว่าค่าที่เราต้องการคืออะไรและหลักการทำงานของเครื่องยนต์ต้องการอะไร ดังนั้นการปรับจูนที่ดีที่สุดคือการปรับจูนความสมดุลย์และความสัมพันธ์ของการตอบสนองอัตราเร่งที่เป็นธรรมชาติต่อระยะกด และยังสามารถกด Click down ได้ด้วยเมื่อต้องการ
- รถที่วิ่งดีที่สุด ไม่ใช่รถที่แรงที่สุด
- การต่อเกียร์ที่รุนแรง ไม่ใช่การจูนที่ถูกต้อง
- ฝึกขับรถให้เป็น มากกว่าการขับรถให้เก่ง
- แต่งรถกับรถแต่ง ความหมายต่างกัน
**รถประเภทนี้มีน้ำหนักตัวมากกว่ารถกะบะบรรทุกอย่าเร่งการออกตัวและอย่าเข้าใจความหมายและจุดประสงค์ผิดหลักการ
:L2760:
พี่นะ [Na ratchada]:
จบนะครับ.....ไม่ต้องแปลกใจขณะที่พี่อ๊อด เขียนเรื่องเทคนิค ผมก็เตรียมเรื่องสรุปคู่กันไปเลย
:L2732: :L2732: :L2732: :L2732:
พี่มัติ [Foazee]:
:sd23: :sd23: :sd23:
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version