เครดิต แด่
http://www.captiva-club.com/cctforum/index.php?topic=19550.0 ลองอ่านดูครับ
รวมเรื่องเบรค และคำถาม
-ผ้าเบรคถูก แพง ต่างที่ความนิ่ม การสึกหรอ (หมดเร็ว, ฝุ่นกระจาย ) เสียง, การบวมน้ำ (เบรคราคาแพง ถึงลุยน้ำก็ยังพอเบรคอยู่) , แต่ใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน(จับสังเกตุค่อนข้างยาก) แต่เห็นผลชัดตอนกระทืบเบรคแรงๆ ถ้าแพงจะเอาอยู่กว่า ระยะทางเบรคก็สั้นกว่า
-ผ้าเบรคเสื่อมได้เหมือนยางรถ อยู่ที่ ชม.การใช้งาน สภาพการใช้งาน อายุ และสเปคของแต่ละยี่ห้อ ถ้าสับสนเรื่องเวลา ก็เฉลี่ยจอดรถเฉยๆ 2 ปี หรือใช้รถ 2 ปียังไม่หมดก็ควรเปลี่ยน. (น้ำมันเบรคก็เช่นกัน มีอายุควรเปลี่ยนตามวาระ)
-ผ้าเบรคที่ดีต้องคงประสิทธิภาพเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่ 6 เดือนแรกเบรคหัวทิ่มหัวตำ 6 เดือนหลังเบรคไม่ฉึกเหมือนเดิมทั้งที่เนื้อผ้าเบรคยังหนาเปงเซ็น
-ผ้าเบรคที่ดี หลังจากลุยน้ำ(บวมน้ำแล้ว) เท้าแตะแป้น(เลียเบรค)เบาๆ ไม่กี่ที ผ้าเบรคต้องกลับมาคงสภาพเดิมอย่างรวดเร็ว
-เบรคคุณภาพสูง (ขอใช้คำนี้ เพราะแพง ใช่ว่าจะมีคุณภาพเสมอไป)จะทนความร้อนดีกว่า หมายถึง ใช้งานหนัก ร้อน แต่ความสามารถชะลอความเร็วยังพอเชื่อใจได้
-ผ้าเบรคที่ดี (เบรคอาจนิ่ม) และอาจคายฝุ่นผงออกมาเยอะ จึงอาจกลายเป็นผ้าเบรคธรรมดา(หรือเลว) ในสายตาเจ้าของรถที่ใส่แม็กโตๆ สวยๆชิ
-และอีก ฯลฯ เชิญท่านผู้อ่านเสริมเพิ่มเติมได้เลยครับ
"""""""""""""""'"""""""""""""""
คำถาม คือ
"โดยทั่วไปถ้าเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ ต้องเจียรจานเบรคทุกครั้งไม๊ครับ?"
ตอบ.
เรื่องนี้เถียงกันมานานเหมือนจอดรถติดไฟแดงต้องเหยียบเบรคไหม? มาฟังแนวคิดแต่ละฝ่าย
เจ้าของรถ: ไม่อยากเจียร เพราะเสียดายเนื้อจานเบรค (ยุคที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศมีน้อย จานเบรคต้องนำเข้า มีราคาแพง)ต้องเสียค่าแรงเพิ่ม(ค่าเจียร) อายุจานเบรคเหลือน้อยลง (ระยะเวลาควักงินเเซื้อจานเบรคใหม่ถอนร่อนเข้ามา)
ร้านทำเบรค: ส่วนใหญ่แนะให้เจียร เพื่อได้ค่าแรงเพิ่ม ลูกน้องมีงานทำ ที่สำคัญผลงานออกมาดี (เบรคเอาอยู่ ลูกค้าไม่มาด่าตามหลังว่าทำเบรคไม่ดี)
หลักการ: ผ้าเบรคที่ตั้งขนานกับจานดิสเบรค ทั้ง 2 ฝั่งมีผิวสัมผัสเรียบเนียน หมายถึงพื้นที่จับสัมผัสของ 2 วัสดุจะประกบกันสนิท เวลาจับเข้าหากัน จะเกิดแรงยึดเหนี่ยวเต็มพื้นที่ ประสิทธิภาพการหยุดชะลอจะทรงประสิทธิภาพสูงสุด
ความเป็นจริง: จานเบรคที่ใช้งาน ไม่มีอันไหนที่เรียบเนียน มีร่องลึกบ้างตื้นบ้าง ความเรียบเนียนหายไปเท่าไร ความขรุขระจะแทนที่ พื้นที่สัมผัสระหว่างผ้าเบรคกับจานจะลดลงมากเท่าใด ประสิทธิภาพการหยุดจะลดลงมากเท่านั้น
แนวคิดเก่า: จานดิสเบรคราคาแพง เป็นอะไหล่ถาวรคู่รถ เจ้าของรถไม่อยากเปลี่ยน ไม่อยากเจียร อยากใส่ผ้าเบรคไปทั้งอย่างนั้น เดี๋ยวผ้าเบรคกับจานสีกันไปมา ใช้เวลาสักพัก จะสนิทเข้าหากันเอง
แนวคิดปัจจุบัน: จานดิสเบรคราคาถูกลง (รถตลาด 1500-2500 บาท) และถือเป็นอะไหล่สิ้นเปลืองชนิดหนึ่ง (เจียร มากสุดเฉลี่ยไม่เกิน 3 ครั้ง บางยี่ห้อให้ 2 ครั้ง วัดความหนากันเป็นมิลลิเมตร)
สรุป... มี 3 ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการเจียรจานเบรคคือ
1.ปัจจัยด้านราคา
2.ปัจจัยด้านวิศวกรรม
3.ปัจจัยด้านความปลอดภัย
ปัจจัยแรกทรงอิทธิพลในอดีต ส่งผลให้มีแนวคิดไม่เจียรจานเบรค แต่เมื่อเข้าสู่ยุคปัจจุบัน จานเบรคมีราคาถูกลง ปัจจัยแรกเริ่มเสื่อมถอย คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจปัจจัยที่ 2 -3 แทน
ปัจจัยที่ 2 เกิดขึ้น เนื่องจากผู้ใช้รถฉลาดขึ้น ช่างเสาะหาความรู้ เข้าใจหลักการทำงานพื้นฐานของระบบเบรค และทำใจได้ว่า การสึกหรอ เกิดขึ้นทั้ง 2 ฝั่งคือ ผ้าเบรคและจานเบรค ทั้งคู่จึงเป็น อะไหล่สิ้นเปลืองที่ต้องเปลี่ยนเมื่อถึงเวลา
ปัจจัยที่ 3 ระบบเบรคเกี่ยวข้องความปลอดภัยโดยตรง ถ้าไม่เจียร อาจใช้เวลาสักพักกว่าที่ผ้าเบรคกับจานจะประกบกันสนิท (อยู่ที่ชั่วโมงการใช้งาน คุณภาพวัสดุ และความลึกของรอยสึกหรอเดิม) แต่อุบัติเหตุเกิดได้ทุกเมื่อ ไม่รอเวลา ทั่งนี้การเจียรจาน หากใช้รถปกติ อาจต้องรอกว่าเข้าที่ 1-3 วันเหมือนกัน แต่ถ้าไม่เจียร จะนานกว่านั้นแน่นอน ถ้ารอยลึกๆ แล้วเจอผ้าเบรคเนื้อแข็งๆ อาจใช้เวลาเป็นเดือนกว่าผ้าเบรคจะผสานกับจานเบรคจนสนิท (หรือหลายๆ วันกว่าเบรคจะได้ที่) ช่วงนั้นเลยต้องขับระวัง อย่าไปจี้ท้ายใคร
สิ่งที่ควรตระหนักเสมอ หลังจากที่นำรถไปทำระบบเบรค ไม่ว่าเปลี่ยนผ้าเบรค เปลียนมันเบรค หรือระบบใดๆ เกี่ยวกับการหยุดรถ คือ ต้องทำให้ระบบเบรคกลับมาทำงานเต็มร้อยในเวลาอัน"สั้น"ที่สุด.
น้ำหนักรถเกือบ 2 ตัน การหยุดรถต้องมีระบบเบรคที่พรั่งพร้อม
ด้วยเทคโนโลยี ณ วันนี้ . . .
ด้วยราคาแร่เหล็กที่ใช้ทำจานเบรค ณ วันนี้ยังไม่แพงเท่าทอง. . .
ด้วยความปลอดภัยที่ต้องคิดคำนึงถึงก่อนสิ่งอื่นใด. . .
จึงกลายเป็นที่มาของเหตุผล(ที่ผมคิด)ว่าควรที่จะ "เจียร" จานดิสเบรคในยามเปลี่ยนผ้าเบรคทุกครั้ง. ..
ถ้าลังเลในการตัดสินใจ ให้คิดว่ามันคือคืออะไหล่สิ้นเปลืองชิ้นหนึ่ง การเจียรจานเบรคคือทางลัดสุดที่ทำให้เบรคกลับมาสมบูรณ์ในเวลาอันสั้นสุด. หมายถึง คุณและทุกชีวิตบนรถ จะได้รับสิทธิเข้าถึงความปลอดภัย ในเวลาที่รวดเร็วสุดนั้น...เช่นกัน...)
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
แนวคิดนี้ ท่านอื่นอาจเห็นต่าง ซึ่งก็ไม่ผิด เพราะสุดท้ายแล้วการตัดสินใจเจียรหรือไม่เจียร อยู่ที่ความรู้สึกและตัดสินใจของเจ้าของรถล้วนๆ กับมุมมองของช่าง (ผลงานและการทำกำไร)
บทความนี้วิเคราะห์ด้วยเหตุผลด้านเศรษฐศาสตร์ ณ ปัจจุบัน (ต.ค.2556) รวมทั้งด้านวิศวกรรม และความปลอดภัย เมื่อเวลาผันเปลี่ยน ตัวแปรอาจเปลี่ยนผัน แนวทางที่ผมแนะนำอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอไป เช่นเดียวกับบางยุคสมัยในอดีต ด้านฝั่ง "ไม่เจียร" เคยมีเสียงดังกระหึ่มกึกก้อง. จนกลายเป็นประเด็นถกเถียงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน.