จากการที่ผมเห็นสมาชิกเราชอบงาน DIY กันเยอะ และงาน DIY ต่างๆส่วนมากก็จะมีรีเลย์เป็นส่วนประกอบ
ผมเลยขอเอาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับมาลงไว้ให้สมาชิกศึกษากัน แต่ไม่ลงรายละเอียดนะครับ อันนั้นหาจากพี่กูได้เลย
ขอออกตัวก่อนอีกทีครับว่าผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องพวกนี้ มีความรู้พื้นฐานแค่พอแบ่งปันได้บ้างเท่านั้นครับ
รีเลย์ที่ใช้กันในงานรถยนต์จะใช้เพื่อตัดต่อวงจรต่างๆ
โดยหลักการของรีเลย์ในมุมนี้คือ เราสามารถใช้กระแสไฟน้อยๆในการตัดต่อวงจรที่ใช้กระแสไฟมากๆได้

ขาต่างๆของรีเลย์ โดยปกติรีเลย์จะมีขาอยู่ 5 ขาคือ
- Coil 2 ขา เราจ่ายไฟเข้าจุดนี้เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำให้คอนแทคของรีเลย์ทำงาน
- COM ขานี้เป็นจุดที่คอนแทคจะสวิทช์ระหว่าง NC ไป NO เมื่อจ่ายไฟเข้าที่คอยล์
- NC ต่ออยู่กับขา COM ในขณะที่ไม่มีไฟจ่ายเข้าที่คอยล์
- NO เมื่อจ่ายไฟเข้าที่คอยล์ คอนแทคจะสวิทช์จากต่ออยู่ที่ NC มาต่อที่ NO
*** รีเลย์แบบ 5 ขาคือมีคอนแทคชุดเดียวจะเรียกว่าชุดคอนแทคเดียวนี้ว่า SPDT
ข้อมูลเบื้องต้นที่เราต้องรู้ในการเลือกใช้รีเลย์กับงานในรถคือ
- รีเลย์ขนาดกี่โวลท์ (ใช้ไฟกี่โวลท์ในการขับคอยล์รีเลย์ เพื่อให้คอนแทครีเลย์ทำการต่อวงจร)
ในรถเราใช้ไฟ 12-14V ดังนั้นรีเลย์ส่วนมากจึงเป็น 12V ครับ (คือใช้ไฟ 12 โวลท์ในการขับคอยล์รีเลย์)
- คอนแทครับกระแสสูงสุดได้กี่แอมป์
อันนี้สำคัญมากสำหรับผู้ออกแบบวงจรที่จะต้องรู้ว่ามีกระแสกี่แอมป์ผ่านจุดที่จะเอารีเลย์ไปตัดต่อ
- รีเลย์บางตัวมีสี่ขา บางตัวห้าขา แปดขาก็มี มันใช้ทำอะไร
เอาง่ายๆเบื้องต้นว่า รีเลย์สี่ขาส่วนมากคือไม่มีขา NC
ห้าขาก็ปกติตามที่บอกไว้ข้างบน
แปดขาก็จะมีคอนแทค 2 ชุด (มี COM1, NC1, NO1 และ COM2, NC2, NO2) คอนแทค 2 ชุดในรีเลย์ตัวเดียวแบบนี้จะเรียกว่า DPDT
- งั้นจะรู้ได้ยังไงว่าขาไหนเป็นขาอะไร
เอาแน่ก็ต้องดู datasheet หรือ pinout ของรีเลย์เบอร์นั้นๆ แต่โดยทั่วไปรีเลย์ต่างเบอร์กันแต่มีลักษณะขาเหมือนกัน ตำแหน่งขาก็จะตรงกัน
อันนี้เป็นรูปตัวอย่างรีเลย์ (แค่บางส่วนที่เราอาจจะนำมาใช้ครับ)
Signal relay (เหมาะกับงานตัดต่อสัญญาณ ใช้กับกระแสสูงไม่ได้ ข้อดีคือกินไฟน้อย ตัดต่อได้เร็วกว่า)

Power relay (เหมาะกับงานทั่วๆไป งาน DIY ส่วนมากของเราจะใช้แบบนี้)

Power relay ด้านล่าง

Auto relay (เหมาะสำหรับงานกระแสสูง 20-30A ขึ้นไป)


Relay 2 contact แบบ DPDT

คร่าวๆแค่นี้ก่อนครับ
หากมีจุดผิดพลาดตรงไหนพี่ๆแนะนำได้เลยครับ
