ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์  (อ่าน 24490 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ปุ้ย

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 116
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« เมื่อ: 9 ตุลาคม 2013, 20:33:10 »
จากการที่ผมเห็นสมาชิกเราชอบงาน DIY กันเยอะ และงาน DIY ต่างๆส่วนมากก็จะมีรีเลย์เป็นส่วนประกอบ
ผมเลยขอเอาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับมาลงไว้ให้สมาชิกศึกษากัน แต่ไม่ลงรายละเอียดนะครับ อันนั้นหาจากพี่กูได้เลย

ขอออกตัวก่อนอีกทีครับว่าผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องพวกนี้ มีความรู้พื้นฐานแค่พอแบ่งปันได้บ้างเท่านั้นครับ

รีเลย์ที่ใช้กันในงานรถยนต์จะใช้เพื่อตัดต่อวงจรต่างๆ
โดยหลักการของรีเลย์ในมุมนี้คือ เราสามารถใช้กระแสไฟน้อยๆในการตัดต่อวงจรที่ใช้กระแสไฟมากๆได้



ขาต่างๆของรีเลย์ โดยปกติรีเลย์จะมีขาอยู่ 5 ขาคือ
- Coil 2 ขา เราจ่ายไฟเข้าจุดนี้เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำให้คอนแทคของรีเลย์ทำงาน
- COM ขานี้เป็นจุดที่คอนแทคจะสวิทช์ระหว่าง NC ไป NO เมื่อจ่ายไฟเข้าที่คอยล์
- NC ต่ออยู่กับขา COM ในขณะที่ไม่มีไฟจ่ายเข้าที่คอยล์
- NO เมื่อจ่ายไฟเข้าที่คอยล์ คอนแทคจะสวิทช์จากต่ออยู่ที่ NC มาต่อที่ NO
*** รีเลย์แบบ 5 ขาคือมีคอนแทคชุดเดียวจะเรียกว่าชุดคอนแทคเดียวนี้ว่า SPDT

ข้อมูลเบื้องต้นที่เราต้องรู้ในการเลือกใช้รีเลย์กับงานในรถคือ
- รีเลย์ขนาดกี่โวลท์ (ใช้ไฟกี่โวลท์ในการขับคอยล์รีเลย์ เพื่อให้คอนแทครีเลย์ทำการต่อวงจร)
  ในรถเราใช้ไฟ 12-14V ดังนั้นรีเลย์ส่วนมากจึงเป็น 12V ครับ (คือใช้ไฟ 12 โวลท์ในการขับคอยล์รีเลย์)
- คอนแทครับกระแสสูงสุดได้กี่แอมป์
  อันนี้สำคัญมากสำหรับผู้ออกแบบวงจรที่จะต้องรู้ว่ามีกระแสกี่แอมป์ผ่านจุดที่จะเอารีเลย์ไปตัดต่อ
- รีเลย์บางตัวมีสี่ขา บางตัวห้าขา แปดขาก็มี มันใช้ทำอะไร
  เอาง่ายๆเบื้องต้นว่า รีเลย์สี่ขาส่วนมากคือไม่มีขา NC
  ห้าขาก็ปกติตามที่บอกไว้ข้างบน
  แปดขาก็จะมีคอนแทค 2 ชุด (มี COM1, NC1, NO1 และ COM2, NC2, NO2) คอนแทค 2 ชุดในรีเลย์ตัวเดียวแบบนี้จะเรียกว่า DPDT
- งั้นจะรู้ได้ยังไงว่าขาไหนเป็นขาอะไร
  เอาแน่ก็ต้องดู datasheet หรือ pinout ของรีเลย์เบอร์นั้นๆ แต่โดยทั่วไปรีเลย์ต่างเบอร์กันแต่มีลักษณะขาเหมือนกัน ตำแหน่งขาก็จะตรงกัน

อันนี้เป็นรูปตัวอย่างรีเลย์ (แค่บางส่วนที่เราอาจจะนำมาใช้ครับ)

Signal relay (เหมาะกับงานตัดต่อสัญญาณ ใช้กับกระแสสูงไม่ได้ ข้อดีคือกินไฟน้อย ตัดต่อได้เร็วกว่า)


Power relay (เหมาะกับงานทั่วๆไป งาน DIY ส่วนมากของเราจะใช้แบบนี้)


Power relay ด้านล่าง


Auto relay (เหมาะสำหรับงานกระแสสูง 20-30A ขึ้นไป)




Relay 2 contact แบบ DPDT


คร่าวๆแค่นี้ก่อนครับ
หากมีจุดผิดพลาดตรงไหนพี่ๆแนะนำได้เลยครับ  :L4399:

ออฟไลน์ พี่ลีโจ

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 3,876
  • Like: 59
  • เพศ: ชาย
  • โจ-เทียนทะเล
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 9 ตุลาคม 2013, 20:40:48 »
ขอบคุงครับ  :L2734:
รบกวนพี่ๆแก้ไขปรับเปลี่ยนรูปส่วนตัวด้วยครับดูตัวอย่าง กดที่ link ด้านล่าง

http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,1551.0.html

ออฟไลน์ .น้องเอก.

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 2,053
  • Like: 52
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 9 ตุลาคม 2013, 20:50:33 »
ขอบคุณครับพี่ปุ้ย... :sd23:

ออฟไลน์ นุก (ปทุมธานี)

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 2,729
  • Like: 124
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 9 ตุลาคม 2013, 20:53:56 »
ขอบคุณครับพี่ปุ้ย  :L2758:

ออฟไลน์ ตี๋@ปราจีน

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 137
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 9 ตุลาคม 2013, 21:05:15 »

 :sd23: สำหรับความรู้ที่นำมาเสริฟให้ สมช 

เคยอ่านเจอของพี่ชิน ตาม link เลยครับ
http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,933.0.html
อยากชนะ ก้อ"ต้องสู้"...อยากรู้ ก้อ"ต้องอ่าน"...อยากมีเงิน ก็ต้อง"ทำงาน"...

ออฟไลน์ พี่ต้น สมุทรสาคร

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 202
  • Like: 17
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 9 ตุลาคม 2013, 21:48:22 »
 :sd23:  ได้ความรู้เพิ่มเลย

ออฟไลน์ หยก วาฬน้ำเงิน

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 5,467
  • Like: 124
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 9 ตุลาคม 2013, 22:38:38 »
สำหรับคนที่ไม่มีความรู้ทางช่างอย่างผมอ่านแล้วยังงงๆว่าไอ้เจ้ารีเลย์ที่ว่านี้คืออุปกรณ์อะไร มีความสำคัญอย่างไร ทำหน้าที่อะไร จึงไปค้นข้อมูลมาได้ดังนี้ครับ

รีเลย์เป็นอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้ารถยนต์ทำหน้าที่คล้ายสวิตช์ ควบคุมการทำงานโดยสวิตช์หรือตัวเซ็นเซอร์ ภายในตัวรีเลย์ประกอบด้วยชุดหน้าสัมผัสและขดลวด(ทำหน้าที่แม่เหล็กไฟฟ้า)

หลักการทำงานของรีเลย์คือ เมื่อมีกระแสไฟไหลผ่านขดลวดลงกราวน์ก็จะเกิดอำนาจแม่เหล็กดูดให้หน้าสัมผัสติดกัน กระแสไฟจากแหล่งจ่ายจึงไหลผ่านหน้าสัมผัสไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าได้

ประโยชน์ของรีเลย์ในการทำหน้าที่แทนสวิตช์คือ ช่วยให้อายุการใช้งานของตัวสวิตช์เองนานขึ้น โดยกระแสไฟจะไหลผ่านหน้าสัมผัสของรึเลย์แทน ส่วนสวิตช์ทำหน้าที่เพียงแค่จ่ายกระแสไฟจำนวนเล็กน้อยไปยังขดลวดของรีเลย์เท่านั้น (เพราะทุกครั้งที่เปิดสวิตช์จะเกิดการอาร์คที่หน้าสัมผัส ทำให้หน้าสัมผัสค่อยๆเสื่อมลงและเสียในที่สุด ซึ่งความเสียหายนี้จะเกิดกับรีเลย์แทน)


รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทต่างๆของรีเลย์สามารถตามไปอ่านได้ที่นี้ครับ http://supak-auto.blogspot.com/2009/03/relay.html

สำหรับคนที่ไม่ใช่ช่างอย่างผม คงพอจะช่วยคลายความสงสัยได้บ้างแล้วนะครับ เวลาอ่านโพสของพี่ปุ้ยหรือท่านอื่นๆเวลาเขาคุยกันจะได้เข้าใจไปพร้อมๆกัน :L2760:

Let's rest in Pa-Mania's style......!!!

ออฟไลน์ แม็ค พัทยา MrMacSayHi

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 7,118
  • Like: 169
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 9 ตุลาคม 2013, 23:06:15 »
เริ่มแล้ว วิชาวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น ไฟฟ้า 101  :L2734: :L2734: :L2734:  ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ขอบอกว่ามีประโยชน์หลากหลายมากครับกับเจ้ารีเลย์เนี่ย ศึกษากันไว้ได้ประโยชน์แน่นอนครับ  :L2736: :L2736: :L2736:
ขออภัยหากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นเหตุนำมาซึ่งความขุ่นข้องหมองใจ

ออฟไลน์ พีชิน ปาดำ บุรีรัมย์

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 1,258
  • Like: 48
  • เพศ: ชาย
  • ก็แค่ชีวิตที่ขาดหวานไม่ได้
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2013, 07:26:40 »
มา  :L6428: ให้กับอีก 1 คลังความรู้ ปา'มาเนีย  :sd10:
มีภูมิลำเนา   อยู่  นครราชสีมา
มีภรรยา       อยู่  บุรีรัมย์
มีงานประจำ  อยู่  อุบลราชธานี
มีที่พักผ่อน   อยู่  ปา'มาเนีย

ออฟไลน์ สุภัทร (Pat)

  • Founder Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 3,222
  • Like: 70
  • เพศ: ชาย
  • สวัสดี สมาชิก ปามาเนียทุกท่าน
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2013, 08:42:14 »
ขอบคุณครับ พี่ปุ้ยยยย ;) ;) ;)
การกระทำใดๆ เพื่อส่งมอบสิ่งดีๆ ให้มวลหมู่สมาชิก

ออฟไลน์ ปุ้ย

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 116
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2013, 10:14:29 »
คืออยากจะให้สมาชิกรู้จัก และเน้นเรื่องการเลือกใช้รีเลย์ได้เหมาะกับงานที่เราต้องการครับ
เช่นงานหลายๆงานไม่จำเป็นต้องใช้ออโต้รีเลย์ตัวโตๆ (ของดีๆแพงด้วย)
ส่วนบางงานก็อาจจะประหยัดไปนิด ใช้รีเลย์ตัวเล็ก ไม่เหมาะกับกระแสที่วงจรใช้

ก็เลยเอาเรื่องข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกใช้รีเลย์มาลงไว้ครับ
แต่เป็นตามแบบของผมนะครับ ไม่ได้อ้างอิงทฤษฎีหรือตรงตามหลักวิชาการแบบเป๊ะๆ

tod

  • บุคคลทั่วไป
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2013, 15:04:30 »
ยังขาด Solid State Relay อีกแบบ มีตั้งแต่ขนาดจิ๋วๆไม่ถึงแอมป์ไปจนถึง 40 / 80 / 100 > แอมป์
แบบนี้ใช้กันเยอะในวงจรอีเลคทรอนิคส์

ส่วนตัวใหญ่ๆช่างไฟฟ้าคงคุ้นหน้าดีส่วนมากอยู่ในตู้คอลโทรล

ออฟไลน์ ปุ้ย

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 116
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2013, 17:52:53 »
ขอบคุณครับพี่ทศ  :L4399:
โซลิดสเตทเป็นรีเลย์อิเลคทรอนิกส์ ต่างจากรีเลย์ทั่วๆไปที่ตัดต่อคอนแทคโดยใช้กลไกครับ
ซึ่งเจ้านี่ก็จะเหมาะกับงานบางประเภท... สำหรับงานในรถคงจะไม่ค่อยมีใช้ครับ
---------------------------
อย่างที่ลงไว้ตอนแรกว่าการใช้งานรีเลย์ในรถส่วนมากก็เพื่อที่จะใช้กระแสไฟน้อยๆในการตัดต่อวงจรที่ใช้กระแสไฟมากๆได้

มาลองดูวงจรใช้งานรีเลย์ง่ายๆกันนิดนึงครับ ซึ่งอันจะเป็นวงจรไฟหน้ารถ(เกือบ)จริงที่ใช้อยู่ในปาเรา



ในวงจรนี้ ETACS ECU เป็นผู้สั่งเปิดปิดไฟหน้า (หลังจากรับคำสั่งจากสวิทช์ที่คอพวงมาลัย) ซึ่งลำพังตัว ECU เองนั้นไม่มีเรี่ยวแรง (กระแส) มากพอที่จะจ่ายให้ไฟหน้าสว่างได้
ดังนั้นรีเลย์จึงเข้ามาช่วยทำหน้าที่ในการต่อไฟจากแบตเตอรรี่ให้กับหลอดไฟหน้า โดยการสั่งการของ ETACS ECU ผ่านคอยล์รีเลย์ (จริงๆแล้วกระแสไฟของ ETACS ECU เองไม่พอที่จะขับคอยล์รีเลย์ด้วยซ้ำ ซึ่งของจริงจะมี transistor ช่วยขับคอยล์รีเลย์อยู่ แต่ปล่อยมันไปครับ เดี๋ยวจะยุ่งเกินสำหรับการเริ่มต้น)
 :L2736:

tod

  • บุคคลทั่วไป
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2013, 19:16:20 »
ขอบคุณครับพี่ทศ  :L4399:
โซลิดสเตทเป็นรีเลย์อิเลคทรอนิกส์ ต่างจากรีเลย์ทั่วๆไปที่ตัดต่อคอนแทคโดยใช้กลไกครับ
ซึ่งเจ้านี่ก็จะเหมาะกับงานบางประเภท... สำหรับงานในรถคงจะไม่ค่อยมีใช้ครับ
---------------------------
ก็ใส่ใวให้มันครบๆตามหัวข้อครับ แล้วก็ระบุไว้แล้วว่าใช้กับงานใหน
**ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์**
**แบบนี้ใช้กันเยอะในวงจรอีเลคทรอนิคส์**


ออฟไลน์ ตี๋@ปราจีน

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 137
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2013, 19:35:42 »
ห้วข้อนี้ผมอ่านๆดูแล้ว  น่าจะเป็นทางด้านเทคนิค ล้วนๆ (เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ)  เพื่อง่ายต่อการหาข้อมูล ซึ่งตรงกับห้องนั้นๆ

หรือจะน่าจะเพิ่มห้อง"คลังความรู้" ( ขอยืมคำพี่ชิน หน่อยครับ) สักห้อง พอดีเห็นมีหลายกระทู้ที่อธิบายความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ พอสมควร

ยังไง ก็ รอผู้บริหารหรือผู้ดูแลปามาเนีย มา พิจารณาอีกทีครับ   :L2901:
อยากชนะ ก้อ"ต้องสู้"...อยากรู้ ก้อ"ต้องอ่าน"...อยากมีเงิน ก็ต้อง"ทำงาน"...

ออฟไลน์ ปุ้ย

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 116
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2013, 22:06:41 »
ก็ใส่ใวให้มันครบๆตามหัวข้อครับ แล้วก็ระบุไว้แล้วว่าใช้กับงานใหน
**ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์**
**แบบนี้ใช้กันเยอะในวงจรอีเลคทรอนิคส์**

ตามนั้นครับพี่ทศ จริงๆก็ยังมีรีเลย์แบบอื่นๆที่เราไม่ได้ลงไว้ครับ แต่เอาแค่นี้ก่อน ผมขอไปต่อในส่วนของงานที่สมชอาจจะเอามาใช้ครับ

ห้วข้อนี้ผมอ่านๆดูแล้ว  น่าจะเป็นทางด้านเทคนิค ล้วนๆ (เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ)  เพื่อง่ายต่อการหาข้อมูล ซึ่งตรงกับห้องนั้นๆ

หรือจะน่าจะเพิ่มห้อง"คลังความรู้" ( ขอยืมคำพี่ชิน หน่อยครับ) สักห้อง พอดีเห็นมีหลายกระทู้ที่อธิบายความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ พอสมควร

ยังไง ก็ รอผู้บริหารหรือผู้ดูแลปามาเนีย มา พิจารณาอีกทีครับ   :L2901:

เป็นตามที่พี่ตี๋ ปาจีนว่าครับ ผมตั้งใจเผยแพร่ข้อมูลพื้นฐาน (อาจจะอ้างอิงเชิงเทคนิคนิดหน่อย) สำหรับผู้ที่สนใจจะได้เริ่มคิดและทำได้ง่ายขึ้นน่ะครับ
เห็นควรย้ายไปอยู่ห้องไหนก็ยินดีครับ
-------------------------

เดี๋ยวพรุ่งนี้มาลงตัวอย่างการใช้รีเลย์ไปตัดต่อวงจรเดิมในรถซักอันครับ (กระทู้ "DIY : Control Central Lock แนวใหม่" ก็เป็นการใช้รีเลย์ตัดต่อวงจรเดิมในรถ)
คิดๆอยู่ว่าจะเอาวงจรพับหูง่ายๆมาลงดี หรืออาจมีวงจรอื่นที่เข้าใจง่ายกว่านั้น... ยังคิดอยู่ครับ (ผมจะได้วาดวงจรง่ายด้วย  :L2905:)

ออฟไลน์ กิต <Black Angel>

  • Founder Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 8,947
  • Like: 175
  • เพศ: ชาย
  • There is a will, there is a way!
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2013, 23:06:34 »
ห้วข้อนี้ผมอ่านๆดูแล้ว  น่าจะเป็นทางด้านเทคนิค ล้วนๆ (เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ)  เพื่อง่ายต่อการหาข้อมูล ซึ่งตรงกับห้องนั้นๆ

หรือจะน่าจะเพิ่มห้อง"คลังความรู้" ( ขอยืมคำพี่ชิน หน่อยครับ) สักห้อง พอดีเห็นมีหลายกระทู้ที่อธิบายความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ พอสมควร

ยังไง ก็ รอผู้บริหารหรือผู้ดูแลปามาเนีย มา พิจารณาอีกทีครับ   :L2901:

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับพี่ตี๋ อนาคตถ้ากระทู้ลักษณะนี้มีมากขึ้น ก็จะปรึกษาทีมบริหารเพื่อสร้างห้องใหม่ได้ครับ เบื้องต้นก็ให้โพสลงในห้องนี้ไปก่อน ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งสำหรับการ DIY  :L2758:

แต่สำหรับผม การทำความรู้จักกับพี่ปุ้ย น่าจะง่ายกว่าการทำความรู้จักกับเจ้ารีเลย์นี่เยอะเลย  :sd42:

ออฟไลน์ ปุ้ย

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 116
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2013, 18:07:55 »
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับพี่ตี๋ อนาคตถ้ากระทู้ลักษณะนี้มีมากขึ้น ก็จะปรึกษาทีมบริหารเพื่อสร้างห้องใหม่ได้ครับ เบื้องต้นก็ให้โพสลงในห้องนี้ไปก่อน ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งสำหรับการ DIY  :L2758:

แต่สำหรับผม การทำความรู้จักกับพี่ปุ้ย น่าจะง่ายกว่าการทำความรู้จักกับเจ้ารีเลย์นี่เยอะเลย  :sd42:

ขอบคุณที่เข้ามาทักทายครับพี่กิต เข้ามาแล้วไปกันต่อเลยครับ
--------------------------

อันนี้เป็นวงจรพับ/กางกระจกมองข้าง (เกือบเหมือนจริง) ที่อยู่ในปาเราครับ (รถยี่ปุ่นรุ่นอื่นๆก็จะเหมือนแบบนี้ รถยุโรป เมกา

เป็นไงไม่รู้)



อุปกรณ์ไฟฟ้าสำคัญตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่ขยับ พับ/กางกระจกให้เราคือ DC มอเตอร์ (ขอเรียกสั้นลงว่ามอเตอร์เฉยๆครับ)
คุณสมบัติแบบเข้าใจง่ายๆของเจ้ามอเตอร์นี่คือ แกนมันจะหมุนได้เมื่อเราจ่ายไฟให้มัน (ลองนึกถึงพัดลมครับ)
และสามารถหมุนสวนทางได้เมื่อเราจ่ายไฟกลับขั้วกัน

ดังนั้นหลักการง่ายๆเรื่องการพับ/กางกระจกแบบที่มีอยู่ในรถเราคือ
เมื่อเรากดสวิทช์พับ/กางกระจก สวิทช์นั้นจะทำการสลับไฟ/กราวด์ที่จ่ายให้มอเตอร์พับกระจก

พรุ่งนี้ดูต่อครับว่าเราจะใส่รีเลย์เข้าไปตัดต่อตรงไหน เพื่อให้เราสั่งพับกระจกได้จากวงจรของเรา

ออฟไลน์ ปุ้ย

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 116
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: 14 ตุลาคม 2013, 17:38:12 »
กลับมาโพสอีกรอบครับ
-------------------
เป้าหมายของการเพิ่มวงจรรีเลย์เข้าไปตัดต่อวงจรกระจกมองข้างครั้งนี้คือเราต้องการสั่งพับกระจกโดยใช้วงจรของเราเอง (ใช้รีเลย์)
และเป้าหมายสุดท้ายของงานนี้คือต้องการให้กระจกพับเองเมื่อเราล็อครถด้วยรีโมท (หรือปิดสวิทช์กุญแจแล้วล็อครถกระจกก็จะพับด้วย)

หลังจากเราเข้าใจการทำงานของวงจรพับ/กางกระจกมองข้างเดิมๆในปาเราแล้ว
ตอ่ไปเราจะตัดสายไฟสองเส้นที่ไปหากระจกมองข้างเพื่อที่จะเอารีเลย์ใส่เข้าไปละครับ
รูปวงจรเดิม เพิ่มตำแหน่งตัดสาย และจุดที่จะต่อรีเลย์เข้าไปครับ


ถัดมาเป็นวงจรรีเลย์ที่เราจะใส่ระหว่างสายไฟสองเส้นที่ถูกตัด
ในรูปจะมีอยู่สองวงจร ทำงานเหมือนกันทั้งสองวงจร
วงจรด้านซ้ายใช้รีเลย์ SPDT สองตัว ส่วนวงจรด้านขวาใช้รีเลย์ DPDT (2 คอนแทคในตัวเดียว)

การทำงานของวงจรนี้คือเมื่อเรากดสวิทช์ SW1 เป็นการจ่ายไฟ 12V ให้คอยล์รีเลย์ สั่งให้รีเลย์ทำงาน (คอนแทคจะต่อระหว่าง COM กับ NO)
ที่ NO ของ Relay1 เราต่อกับ 12V
ที่ NO ของ Relay2 เราต่อกับ GND
ดังนั้น การที่เรากดสวิทช์ SW1 จะเป็นการจ่ายไฟให้กับมอเตอร์พับกระจกโดยกลับทางกันกับวงจรแรก (โดยสมมติว่าสวิทช์พับ/กางกระจกในวงจรแรกอยู่ในสถานะกาง) ผลคือกระจกพับจนสุดเราจึงปล่อยสวิทช์ SW1

ในขณะที่สวิทช์ SW1 ไม่ถูกกด รีเลย์ทั้งสองไม่ทำงาน คือ COM ต่ออยู่กับ NC มีผลให้วงจรพับ/กางกระจกเดิมในรถทำงานปกติ


อันนี้วงจรยุ่งๆนิด สำหรับผู้ไม่คุ้นเคยอาจจะงงกันหน่อย ลองค่อยๆดูครับ  :sd27:

*** วงจรนี้เป็นวงจรเพื่อการทำความเข้าใจการทำงานของรีเลย์และระบบพับ/กางกระจกเท่านั้น ยังไม่ใช่วงจรสุดท้ายที่จะเอาไปใช้งานจริงครับ ***

ออฟไลน์ ปุ้ย

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 116
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: 16 ตุลาคม 2013, 17:52:43 »

ออฟไลน์ ปุ้ย

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 116
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2013, 19:00:22 »
อันนี้เป็นวงจรสุดท้ายครับ มีการเปลี่ยนแปลงจากวงจรที่แล้วสองส่วนคือ
- เปลี่ยนรีเลย์ SPDT สองตัวมาใช้รีเลย์ DPDT ตัวเดียว อันนี้เพื่อให้วงจรสุดท้ายมีขนาดเล็กหน่อย แต่ใครจะใช้รีเลย์ SPDT สองตัวจากวงจรที่แล้วก็ทำงานได้เหมือนกัน
- เพิ่มรีเลย์ SPDT หนึ่งตัวเพื่อตัดไฟแบตออกจากวงจรพับหูของเราในขณะที่มีไฟ ACC
  หากไม่มีไฟ ACC รีเลย์ตัวนี้จะไม่ทำงาน ผลคือไฟแบตที่ต่ออยู่ที่ขา NC และต่อกับขา COM ของรีเลย์ตัวนี้ไปเข้าวงจรพับหูของเราได้



วงจรและการใช้งานรีเลย์เบื้องต้นสำหรับงาน DIY ของเราก็หมดเท่านี้ละครับ  :sd27:


---------------------------------
เพิ่มเติมอีกนิดในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้
เครื่องมือต่างๆก็จะมี หัวแร้ง ตะกั่วบัดกรี คัตเตอร์ คีมตัดสายไฟ เทปพันสายไฟ (มีมอเตอร์วัดไฟด้วยก็จะดี) ขั้นต่ำประมาณนี้ครับ

ส่วนเจ้าอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่ใช้ก็จะมี
- R1 680 Ohm 1% 1/4W
  http://www.mynpe.com/more.php?data=068355143680
- R2 15K Ohm 1% 1/4W
  http://www.mynpe.com/more.php?data=068355145150
- C1 electrolytic 1000 micro farad (uF) 16V
  http://www.mynpe.com/more.php?data=237293003810
- D1, D2 ใช้เบอร์ 1N4001 ก็ได้
  http://www.mynpe.com/more.php?data=293921014001
- Transistor (Q ในวงจร) เบอร์ 2N3904
  http://www.mynpe.com/more.php?data=262310203904
- รีเลย์ (คอนแทคต้องรองรับกระแสได้ 7A หรือมากกว่า สังเกตจากวงจรพับ/กางหูเดิมในปามีฟิวส์ 7.5A ต่ออยู่)
  1 x http://www.mynpe.com/more.php?data=230210103007 และ
  1 x http://www.mynpe.com/more.php?data=230210105003 (DPDT)

อุปกรณ์ที่ยังไม่ได้ลงไว้ก็จะมี แผ่น PCB ตาไก่ (PCB อเนกประสงค์) วงจรนี้ใช้ PCB ขนาไม่เกิน 4x5 ซม. ก็เหลือเฟือครับ
อีกอันที่นึกออกก็ สายไฟต่อบน PCB ใช้สายไฟเส้นเล็กได้ เช่น ขนาด 20-28AWG
ในส่วนที่ต่อกับขาคอนแทครีเลย์ทั้งหมด (ขา COM, NC, NO) ให้ใช้สายไฟขนาด 18AWG หรือใหญ่กว่าครับ

งาน DIY ส่วนมากผมมักจะสั่งของจาก mynpe และอีกที่นึงคือ es - http://www.es.co.th

จบละครับ ในหลายๆจุดผมอาจไม่ได้อธิบายไว้กระจ่างนัก หากพี่ๆสงสัยจุดไหนสอบถามเข้ามาได้ครับ  :L4399:

ออฟไลน์ ตี๋@ปราจีน

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 137
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2013, 20:35:23 »
พี่ปุ้ยข้อมูลครบถ้วนเลย อธิบายหลักการทำงาน วงจรทำงานจริง และ Spec.อุปกรณ์  :L6428: ให้เลยครับ
พอดีผมติดกันขโมยอัพเกรด แต่ยังไม่ได้ติดพับกระจก ว่าจะๆ ไปติดอยู่เหมือนกัน ได้แต่วิ่งผ่าน กทม
ตัวนี้พี่ปุ้ยทดสอบใช้งานจริง  :L2904: แล้วป่ะครับ เด่วจะได้เก็บวงจรไว้ แล้วมีเวลาว่างๆ จะลองทำเล่นดู
พอมีอุปกรณ์อยู่บ้าง ขาดแต่ 2N3904 (เทียบเบอร์ใน ECG แทนน่าจะได้)
อยากชนะ ก้อ"ต้องสู้"...อยากรู้ ก้อ"ต้องอ่าน"...อยากมีเงิน ก็ต้อง"ทำงาน"...

ออฟไลน์ ปุ้ย

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 116
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2013, 22:49:56 »
อ่า พี่ตี๋มี ECG ด้วย  :L2900: ต้องเป็นผู้มีความรู้ทางด้านอิเล็คแน่ๆ ยินดีที่พี่ตี๋สนใจเข้ามาแลกเปลี่ยนกันครับ (ผมมือสมัครเล่นครับ พอมีความรู้พื้นฐาน  :L4399:)

วงจรนี้ผม simulate สัญาณ แรงดัน และกระแสทุกจุดดูแล้วครับ (LTSpice) และในส่วนของรีเลย์พับหูจะเหมือนกับกล่องเลื่อนกระจกออโต้ที่ผมเคยโพสอยู่ในกระทู้นี้
http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,1905.0.html

เจ้ากล่องนั้นใช้สัญญาณล็อคและปลดล็อคมาควบคุมการพับกระจกมองข้างและการเลื่อนกระจกปิด/เปิดด้วยครับ (ลองดูใน youtube ครับ)
ในปาผมเองยังไม่ได้ติด แต่วงจรแบบเดียวกับกระทู้นี้เคยติดอยู่ในรถอีกคันครับ

ในส่วนของ 2N3904 พี่ตี๋เลือกใช้ transistor NPN เบอร์อื่นๆได้เลยครับ
โดยปกติผมเลือกที่ IC max 100mA (หรือมากกว่า) สำหรับวงจรรีเลย์ DPDT ตัวเดียว
หรือ IC max 200mA สำหรับรีเลย์ SPDT สองตัวครับ
ว่ากันทางเทคนิคนิดนึงคือ IC max ของ transistor ที่ผมเลือกใช้ต้องมากกว่ากระแสที่คอยล์รีเลย์ต้องการ (ดูจาก datasheet ครับ)

จริงๆปาผมรอจะติดเจ้ากล่องเลื่อนกระจกออโต้อยู่ แต่ PCB หมด เพิ่งจะสั่งชุดใหม่ไปก็เลยยังไม่ได้ติดครับ
หากพี่ตี๋ได้ลองติดขัดตรงไหนรบกวนเอามาคุยกันครับ  :sd27: (ผมยังไม่ได้ลงเรื่องสายไฟในปาที่ต้องตัดต่อเลย แต่คงไม่ลงในกระทู้นี้ครับ)