ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์  (อ่าน 24487 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ปุ้ย

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 116
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2013, 19:00:22 »
อันนี้เป็นวงจรสุดท้ายครับ มีการเปลี่ยนแปลงจากวงจรที่แล้วสองส่วนคือ
- เปลี่ยนรีเลย์ SPDT สองตัวมาใช้รีเลย์ DPDT ตัวเดียว อันนี้เพื่อให้วงจรสุดท้ายมีขนาดเล็กหน่อย แต่ใครจะใช้รีเลย์ SPDT สองตัวจากวงจรที่แล้วก็ทำงานได้เหมือนกัน
- เพิ่มรีเลย์ SPDT หนึ่งตัวเพื่อตัดไฟแบตออกจากวงจรพับหูของเราในขณะที่มีไฟ ACC
  หากไม่มีไฟ ACC รีเลย์ตัวนี้จะไม่ทำงาน ผลคือไฟแบตที่ต่ออยู่ที่ขา NC และต่อกับขา COM ของรีเลย์ตัวนี้ไปเข้าวงจรพับหูของเราได้



วงจรและการใช้งานรีเลย์เบื้องต้นสำหรับงาน DIY ของเราก็หมดเท่านี้ละครับ  :sd27:


---------------------------------
เพิ่มเติมอีกนิดในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้
เครื่องมือต่างๆก็จะมี หัวแร้ง ตะกั่วบัดกรี คัตเตอร์ คีมตัดสายไฟ เทปพันสายไฟ (มีมอเตอร์วัดไฟด้วยก็จะดี) ขั้นต่ำประมาณนี้ครับ

ส่วนเจ้าอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่ใช้ก็จะมี
- R1 680 Ohm 1% 1/4W
  http://www.mynpe.com/more.php?data=068355143680
- R2 15K Ohm 1% 1/4W
  http://www.mynpe.com/more.php?data=068355145150
- C1 electrolytic 1000 micro farad (uF) 16V
  http://www.mynpe.com/more.php?data=237293003810
- D1, D2 ใช้เบอร์ 1N4001 ก็ได้
  http://www.mynpe.com/more.php?data=293921014001
- Transistor (Q ในวงจร) เบอร์ 2N3904
  http://www.mynpe.com/more.php?data=262310203904
- รีเลย์ (คอนแทคต้องรองรับกระแสได้ 7A หรือมากกว่า สังเกตจากวงจรพับ/กางหูเดิมในปามีฟิวส์ 7.5A ต่ออยู่)
  1 x http://www.mynpe.com/more.php?data=230210103007 และ
  1 x http://www.mynpe.com/more.php?data=230210105003 (DPDT)

อุปกรณ์ที่ยังไม่ได้ลงไว้ก็จะมี แผ่น PCB ตาไก่ (PCB อเนกประสงค์) วงจรนี้ใช้ PCB ขนาไม่เกิน 4x5 ซม. ก็เหลือเฟือครับ
อีกอันที่นึกออกก็ สายไฟต่อบน PCB ใช้สายไฟเส้นเล็กได้ เช่น ขนาด 20-28AWG
ในส่วนที่ต่อกับขาคอนแทครีเลย์ทั้งหมด (ขา COM, NC, NO) ให้ใช้สายไฟขนาด 18AWG หรือใหญ่กว่าครับ

งาน DIY ส่วนมากผมมักจะสั่งของจาก mynpe และอีกที่นึงคือ es - http://www.es.co.th

จบละครับ ในหลายๆจุดผมอาจไม่ได้อธิบายไว้กระจ่างนัก หากพี่ๆสงสัยจุดไหนสอบถามเข้ามาได้ครับ  :L4399:

ออฟไลน์ ตี๋@ปราจีน

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 137
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2013, 20:35:23 »
พี่ปุ้ยข้อมูลครบถ้วนเลย อธิบายหลักการทำงาน วงจรทำงานจริง และ Spec.อุปกรณ์  :L6428: ให้เลยครับ
พอดีผมติดกันขโมยอัพเกรด แต่ยังไม่ได้ติดพับกระจก ว่าจะๆ ไปติดอยู่เหมือนกัน ได้แต่วิ่งผ่าน กทม
ตัวนี้พี่ปุ้ยทดสอบใช้งานจริง  :L2904: แล้วป่ะครับ เด่วจะได้เก็บวงจรไว้ แล้วมีเวลาว่างๆ จะลองทำเล่นดู
พอมีอุปกรณ์อยู่บ้าง ขาดแต่ 2N3904 (เทียบเบอร์ใน ECG แทนน่าจะได้)
อยากชนะ ก้อ"ต้องสู้"...อยากรู้ ก้อ"ต้องอ่าน"...อยากมีเงิน ก็ต้อง"ทำงาน"...

ออฟไลน์ ปุ้ย

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 116
  • Like: 10
  • เพศ: ชาย
Re: ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรีเลย์
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: 21 ตุลาคม 2013, 22:49:56 »
อ่า พี่ตี๋มี ECG ด้วย  :L2900: ต้องเป็นผู้มีความรู้ทางด้านอิเล็คแน่ๆ ยินดีที่พี่ตี๋สนใจเข้ามาแลกเปลี่ยนกันครับ (ผมมือสมัครเล่นครับ พอมีความรู้พื้นฐาน  :L4399:)

วงจรนี้ผม simulate สัญาณ แรงดัน และกระแสทุกจุดดูแล้วครับ (LTSpice) และในส่วนของรีเลย์พับหูจะเหมือนกับกล่องเลื่อนกระจกออโต้ที่ผมเคยโพสอยู่ในกระทู้นี้
http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,1905.0.html

เจ้ากล่องนั้นใช้สัญญาณล็อคและปลดล็อคมาควบคุมการพับกระจกมองข้างและการเลื่อนกระจกปิด/เปิดด้วยครับ (ลองดูใน youtube ครับ)
ในปาผมเองยังไม่ได้ติด แต่วงจรแบบเดียวกับกระทู้นี้เคยติดอยู่ในรถอีกคันครับ

ในส่วนของ 2N3904 พี่ตี๋เลือกใช้ transistor NPN เบอร์อื่นๆได้เลยครับ
โดยปกติผมเลือกที่ IC max 100mA (หรือมากกว่า) สำหรับวงจรรีเลย์ DPDT ตัวเดียว
หรือ IC max 200mA สำหรับรีเลย์ SPDT สองตัวครับ
ว่ากันทางเทคนิคนิดนึงคือ IC max ของ transistor ที่ผมเลือกใช้ต้องมากกว่ากระแสที่คอยล์รีเลย์ต้องการ (ดูจาก datasheet ครับ)

จริงๆปาผมรอจะติดเจ้ากล่องเลื่อนกระจกออโต้อยู่ แต่ PCB หมด เพิ่งจะสั่งชุดใหม่ไปก็เลยยังไม่ได้ติดครับ
หากพี่ตี๋ได้ลองติดขัดตรงไหนรบกวนเอามาคุยกันครับ  :sd27: (ผมยังไม่ได้ลงเรื่องสายไฟในปาที่ต้องตัดต่อเลย แต่คงไม่ลงในกระทู้นี้ครับ)