ขอบคุณพี่ทศ สำหรับข้อมูลดีๆครับ แต่ที่ไม่เช้าใจคือ การที่ขาดต่ออายุใบอนุญาตเกิน 2 ปีแล้วยึดคืน คอลล์ซายน์ ยึดแล้วจะเอาไปทำอะไรได้
ทำได้จริงหรือ ทำถูกหลักสากลหรือเปล่า ไม่เหมือนการยึดใบขับขี่ การออกคอลล์ซายน์นี่กว่าจะได้โควต้าหมวดอักษรมาไม่ใช่ง่ายๆ และใช้หลักการสากล ซึ่งมีการกำกับจากองค์กรณ์ระหว่างประเทศคือ ITU เรื่องนี้ ผมว่ามันค่อยแฟร์ซักเท่าไหร่ ยกตัวอย่าง กรณีตาย ก็ใช่ว่าจะนำคอลล์ซายน์นั้นไปมอบให้กับใครก็ได้ ตอนที่เขายังอยู่ บางท่านส่ง QSL การ์ดไปทั่วโลก เป็นร้อยประเทศ ยึดแล้วมีปัญญาไปบอกทั่วโลกหรือเปล่าว่าคนที่ใฃ้คอลล์ซายน์นี้เปลียนเป็นอีกคน เหมือนกันกับอีกสองกรณี ขาดต่ออายุบัตร กับทำความผิด ก็เหมือนกัน ยึดแล้วก็ได้แค่เอาไปเก็บดองไว้เฉยๆ ทำอะไรไม่ได้หรอก ไม่ตลกไปหน่อยหรือ แล้วจะยึดไปเพือ? ตายก็หยุดใช้ แต่ประวัติ การใช้ก็ยังคงอยู่ ขาดต่อก็ปรับหรือลงโทษอย่างอื่นกันไป ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจจะทำได้ในประเทศไทย โดยที่มีอำนาจ ใช้กฎหมายหรืออะไรก็แล้วแต่ ส่วนสากลมีที่ใหนเค้าทำกันอย่างนี้หรือเปล่าไม่แน่ใจ ความคิดเห็นส่วนตัวนะ อาจเห็นต่างจากคนอื่นๆ บ้างก็ไม่ว่ากันนะครับ
พี่โอครับ
ในส่วนของการเพิกถอนที่เกิดขึ้น เนื่องจากสัญญาณเรียกขานนักวิทยุสมัครเล่นไทย PREFIX E2xxx กำลังจะหมดอีกแล้ว
ทางกทช.(เดิม ปัจจุบันคือ กสทช.)ได้เคยขอ PREFIX ใหม่กับ ITU ไปเมื่อสัก 5 ปีที่แล้ว(ประมาณนี้ครับ จำแน่นอนไม่ได้) แต่ทาง ITU แจ้งกลับมาให้ตรวจสอบสถานะของนักวิทยุสมัครเล่นไทยที่ Active (คือยังใช้งานอยู่จริงๆ) ก่อน
เพราะเค้ามองว่าเรามีนักวิทยุสมัครเล่นที่มีสัญญาณเรียกขานเยอะมาก แต่ใช้งานจริงไม่ถึงครึ่ง
กสทช. เลยต้องแบ่งเขตการออกสัญญาณเรียกขานใหม่ จากเดิมที่ควรเป็น เขต 1 ใช้ E21 เขต 2 ใช้ E22 ,.... เป็น เขต 1 E21 / E20 / E22 / E23 / E24 / E25 / E26
เขต 2/3/4 ใช้ E27 , เขต 5/6 ใช้ E28 , เขต 7/8/9 ใช้ E29
แต่ปัจจุบัน กำหนดใหม่ ใช้ทุกเขตใช้ E24xxx ต่อเนื่องกันไปเลย โดยไม่แยกเขต
เนื่องจาก บางเขตได้เต็มแล้ว เช่น เขต 8 และ เขต 9 ใช้ E29 เต็มแล้ว ต้องวนมาใช้ E23 เพิ่ม เป็นต้นครับ
สาเหตุ เกิดจาก นักวิทยุสม้ครเล่นไทยเยอะมากที่ไม่ได้ดำเนินการต่อใบอนุญาตและเลิกเล่นไปแล้วเกินครึ่ง....
ทาง ITU เค้าก็ตรวจสอบเจอปัญหานี้ในไทย เค้าจึงเล่นไม้แข็ง ไม่ยอมให้ PREFIX เพิ่มกับไปไทยอีกแล้ว โดยแนะนำให้เรามาพิจารณาดำเนินการเพิกถอน ยึดคืน สัญญาณเรียกขานเดิม ให้วนกลับมาใช้งานใหม่ได้แทน
สัญญาณเรียกขานที่ขาดการต่ออายุ ทั่วโลกก็ทำกันเช่นนี้ครับ ยกตัวอย่าง อเมริกา สัญญาณเรียกขานจะใช้การจองทางอินเตอร์เน็ตได้เลย
สมมติว่า เราต้องการสัญญาณเรียกขาน KK4AAA
ซึ่งเจ้าของเค้าไม่ได้ต่ออายุสัญญาณเรียกขานตนเองแล้ว ก็ต้องรอให้ครบกำหนดตามระเบียบ อาจจะ 2 ปีที่ไม่ได้ต่ออายุ (บ้านเค้ามีวินัยกันมาก เมื่อเค้าไม่ได้ต่ออายุ เค้าก็ไม่ออกอากาศเหมือนบ้านเรา เพราะสามารถตรวจสอบง่ายผ่านอินเตอร์เน็ต)
เมื่อครบกำหนด เราก็สามารถคลิกจองสัญญาณเรียกขานดังกล่าวได้ ชำระเงินก็มาเป็นของเราแล้วครับ
เวลาเค้าสืบค้น callsign ของอเมริกา ใช้
http://wireless2.fcc.gov/UlsApp/UlsSearch/searchLicense.jsp ครับ
มองกลางๆ เรื่องนี้ทาง กสทช. น่าจะออกบทเฉพาะกาล ให้โอกาสนักวิทยุสมัครเล่นที่อยู่ในรายชื่อโดนเพิกถอนได้มีสิทธิ์ขอต่อได้อีกสัก 6 เดือน
เพราะที่ผ่านมา คนไม่ได้เล่ก็ไม่ได้เล่น ไม่ได้มาสนใจกฎระเบียบที่เค้าออกมากันหรอกครับ
แต่พอได้ข่าวจะโดนเพิกถอนก็เดือดร้อนกันใหญ่ ก็ถือให้ครั้งนี้เป็นสัญญาณเตือนกันแล้วกัน
พ่อผมก็โดนเหมือนกัน HS8 รุ่นแรกๆ ของสุราษฎร์ธานี ผมถามพ่อแล้วจะต่อไหม ผมจะเสียเงินต่อให้ แกว่าต่อไปก็ไม่ได้ใช้แล้ว เสียเงินเปล่่าๆ... ก็โดนเพิกถอนในรอบนี้เช่นกันครับ (ปีละ 50 บ. x 20 ปี = 1000 บ.)
เอาว่า ข่าววงใน รอกสทช.ประกาศบทเฉพาะกาลออกมา คงให้โอกาสอีก 180 วัน ในการต่อใบอนุญาต
หากไม่ต่ออีก คงโดนถอนแน่ๆโดยปริยายครับ
73 / HS8UTD