(เครดิต ทีมที่ปรึกษา รั้วสังกะสี)
ตอน10 -การทดสอบเทอร์โบติดรถ กับบูสในค่าต่างๆ เพื่อจะรู้ว่าเทอร์โบติดรถ เล่นบูสได้เท่าไรที่ทนนาน ???
รู้ทันเกมส์ กับการเล่นกับรถเรา
ทีมที่ปรึกษารั้วฯคอยให้ข้อมูลสนับสนุนอยู่บ่อยครั้งว่า เครื่องยนต์ไทรทันหรือปาเจโร่ สปอต ทั้ง 2.5 และ 3.2 นั้นมีค่ากลางและค่าทดสอบการใช้งานจริงอยู่ ซึ่งบางอย่างอาจแตกต่างกันไปบ้างกับ spec hardware ดังนี้
เฉพาะเครื่อง4D56และ4M41โดยเครื่องรหัส4D56 ที่ติดตั้งมาในรุ่นของ2500นั้น สามารถปรับเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้รอบเครื่องยนต์และกำลังสูงขึ้นได้ดีและชัดเจนกว่าเครื่อง4M41 ที่ติดตั้งมาในรุ่น 3200 cc
เครื่องยนต์ทั้ง 2 รุ่นนั้นถูกควบคุมด้วยระบบหัวฉีดของ DENSO รวมถึงกล่อง ECM หรือที่เราเรียกว่า ECU นั้นแหละ และมีอุปกรณ์ช่วยในการสร้างประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ด้วยระบบ turbo ตระกูล " ไลท์ เทอร์โบ "
การทำงานของเทอร์โบก็คือ ในขณะมีการเรียกใช้กำลังเครื่องยนต์อย่างเต็มที่ ไอเสียที่ถูกระบายออกจากเครื่องยนต์ จะผ่านเข้าไปในกังหันเทอร์ไบน์ และปั่นอากาศด้านไอดีเข้าเครื่องยนต์ การทำงานแบบนี้ หากทำงานหนัก อาจมีความร้อนถึงสูงเรียกว่าร้อนจนแดง (หอยแดง) อีกทั้งวัสดุที่มาทำเทอร์โบนั้นยังต้องสามารถทนต่อแรงเหวี่ยงของใบพัดที่มีความเร็วสูงอีกด้วย วัสดุดีมากก็ราคาแพง วัสดุธรรมดาหน่อยก็ต้นทุนถูกหน่อย จึงต้องมีการออกแบบ การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ชนิดนี้เพื่อลดปัญหาและต้นทุนการผลิต แต่ในส่วนนี้ทำให้เทอร์โบถูกควบคุมค่อนข้างยาก เพราะความเร็วของกังหันใบพัด ไม่เป็นอัตราส่วนโดยตรงกับแรงดัน เช่น กังหันหมุนด้วยความเร็วถึงระดับ 80-90% แล้วยังอัดอากาศอะไรไม่ได้มากเนื่องมาจาก ขนาดของเทอร์โบและข้อจำกัดต่างๆของขนาดใบพัด พอเมื่อเติมความเร็วรอบเครื่องยนต์ขึ้นไปอีก ก็จะมีแรงดันเพิ่มมากขึ้นและเมื่อแรงดันมาสร้างแรงปั่นถึงความเร็วรอบที่ 100% จะสังเกตเห็นได้ว่า ความเร็วกับแรงอัดไม่สัมพันธ์กัน เพราะถูกกำหนดด้วยขนาด ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ที่เรียกว่าเวสเกต มาคอยช่วยคุม โดยการปล่อยแรงดันจากการระบายไอเสีย ที่มากเกินกว่า turbo จะทำงานได้ เพื่อหยุดความเร็วและรักษาการทำงานของระบบเทอร์โบ ก่อนที่จะสร้างความเสียหายให้ส่วนอื่นๆตามมา และเรื่องความร้อนก็จะสูงตามมาด้วย
เมื่อมีโจทย์คือต้นทุนที่ต่ำ ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เพื่อผลทางการตลาด คือการแก้ปัญหาเรื่องความสูญเสียกำลังเครื่องยนต์ และดึงค่าพวกนั้นกลับมาใช้งานให้ได้เต็มประสิทธิภาพที่ควรจะทำได้ ดังนั้นผู้ผลิตจึงพัฒนาเครื่องยนต์ โดยการเอาเครื่องยนต์ ที่เทคโนโลยีพื้นฐานดีเดิม ๆ มาปรับปรุงใส่เทอร์โบ เพื่อช่วยเรียกแรงในส่วนที่ขาดหายไป ในการทำงานของระบบเครื่องยนต์ที่ความเร็วรอบสูงๆ เหตุที่แรงม้าของเครื่องยนต์มันขาดหายไปในรอบสูง ก็สาเหตุมาจากการที่วาล์วไอดีไอเสีย เปิด-ปิด เร็วมาก ตามความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ทำให้การบรรจุอากาศในกระบอกสูบลดลง หมายความว่า โครงสร้างของเครื่องยนต์ที่ได้ออกแบบมานี้ใช้งานได้ 100% เมื่อรอบใช้งานปกติ ต่ำ แต่เมื่อรอบเครื่องสูงขึ้น กำลังกลับมีการสูญเสียมากขึ้น ตรงนี้ก็คือที่มาของคำว่า "ไลท์ เทอร์โบ" หมายถึงการเพิ่มระบบเทอร์โบ เพียงเพื่อเสริมและแก้ไขการสูญเสียกำลังของเครื่องยนต์ ที่หายไปให้กลับคืนมา โดยไม่ต้องเพิ่มภาระเครื่องยนต์มากมายนัก และไม่ต้องปรับปรุงโครงสร้างเครื่องยนต์เพิ่มเติมแต่ประการใด อีกทั้งยังจะให้ความทนทานและมีอายุตามปกติ ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
***กลับมาที่ทดสอบอุปกรณ์ที่ควบคุมเครื่องยนต์ 2 รหัสนี้ ดังนี้
การปรับแต่งเวสเกต ให้ boost สูงเกินกว่ากำหนดมาตรฐานนั้น จากการทดสอบ(ไม่อ้างอิงคู่มือ)
- ของเดิมจากโรงงาน Boost 14.5psi (avg.) เหมาะสมใช้งานปกติชีวิตประจำวัน+safety 30%
- ปรับแต่งเวสเกต Boost 17-18psi (avg.) สามารถใช้งานปกติได้ +safety 15 %
- ปรับแต่งเวสเกต Boost 17-19.5psi (avg.) ยังสามารถใช้งานปกติได้ +safety 10 %
- ปรับแต่งเวสเกต Boost 20-22psi (avg.) สามารถใช้งานได้ +safety 5 %
- ปรับแต่งเวสเกต Boost 25-27psi (avg.) สามารถใช้งานได้ +safety -2 %
Note :1 bar = 14.507 psi ( แนะนำให้เล่นกัน 17-19.5 psi หรือ 1.3 bar เท่านั้น) เพราะเวลารถ นน.บรรทุกมากขึ้น การไต่รอบที่ช้าจะทำให้เวสเกต ค่อยๆเปิด มีโอกาส boost เกินขึ้นไป 1-2 psi ขึ้นไปแตะที่ limit safety 5 % เพียงชั่วเวลาหนึ่ง ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ใช้งานได้ หากถามว่าดีเหมือนเดิมไหม ต้องบอกว่าคุณต้องยอมรับความเสี่ยงตั้งแต่คุณปรับแต่งเครื่องยนต์แล้ว แต่เพียงแต่ว่าเราจะควบคุมกันที่จุดไหนเท่านั้น
การทดสอบการทำงานของ Tubo ติดรถของเครื่อง 4D56 และ 4M41
- จากโรงงาน Boost 14-15 , Boost peak 15-16 psi (avg.) เหมาะสมใช้งานปกติชีวิตประจำวัน
- ทำงานที่ Boost 17-19 , Boost peak 19-21.5psi (avg.) ยังสามารถใช้งานปกติได้ +safety 5-10 %
- ทำงานที่ Boost 22-25 , Boost peak 25-27 psi (avg.) แกนทนความร้อนได้ที่ 35-45 นาที
- ทำงานที่ Boost 25-27 , Boost peak 27-29 psi (avg.) แกนทนความร้อนได้ที่ 20-30 นาที
- ทำงานที่ Boost 29-33 , Boost peak 30-35 psi (avg.) แกนทนความร้อนได้ที่ 15 -20 นาที
- ทำงานที่ Boost 42 ? 45, Boost peak 45-47 psi (avg.) แกนทนความร้อนได้ที่ 4-8 นาที
Note : แนะนำให้เล่น Boost 17-19 , Boost peak 19-21.5psi (avg.)กรณีหัวฉีดเดิม และ Boost 20-22 , Boost peak 22-24.5psi (avg.)กรณีหัวฉีดใหญ่กว่า 2.8-3.2 cc จากเดิมเท่านั้นอย่าเกินนี้ เพราะยังมีตัวแปรเรื่องเกรดน้ำมันเครื่อง / อุณหภูมิเครื่องยนต์ / อุณหภูมิภายนอก / ภาระน้ำหนักรถ / สภาพของเครื่องยนต์ และอื่นๆที่จะมีผลทำให้เวลาที่ทดสอบ เพิ่มขึ้นหรือลดลงแตกต่างกันไป และบางครั้งปั๊ม อาจพังก่อนที่จะครบเวลาทดสอบอีก หากอยากเล่นเกินกว่าคำที่แนะนำนี้หรือมีการทดสอบที่ได้ตัวเลขดีกว่านี้ ก็พิจารณาตามข้อมูลที่ได้รับโดยละเอียดอีกครั้ง
อย่าลืมว่า ? คุณต้องยอมรับความเสี่ยงตั้งแต่คุณปรับแต่งเครื่องยนต์แล้ว พียงแต่ว่าเราจะควบคุมกันที่จุดไหนเท่านั้น ?
เพื่อเป็นข้อมูลนะครับ
แก๊งค์กระเป๋าแหก
:D ;D