Pa Mania General (เรื่องทั่วไปปามาเนีย) > Pa Mania On Tour & Meetings

การใช้วิทยุสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว

(1/4) > >>

พี่จ่า Jatot:
มารู้จักการทำงานและใช้ CTCSS/DCS ของวิทยุสมัครเล่นกัน
เวลาเดินทางเป็นกลุ่มหรือคาราวาน เราจะพบว่าการใช้วิทยุสื่อสารจะมีการแทรกของกลุ่มอื่นหรือกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่และพวกกู้ภัยทั้งหลาย แทบจะไม่มีช่องใช้งานเลย เบื่อไหมละครับถ้าเวลาเวลาใช้วิทยุแล้วอยู่ๆมีผู้ไม่ประสงค์จะออกนามเข้ามาป่วน หรือบางครั้งความถี่ที่เราใช้อยู่พอเข้าำไปอีกสถานที่ดันมีคนใช้อยู่ ผมว่าเพื่อนๆเราหลายคนอาจรู้จัก เจ้า CTCSS/DCS กันแล้ว เราสามารถเพื่มช่องให้มากขึ้นได้และเป็นส่วนตัวของเราด้วย  ผมว่าหลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามันทำงานอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ผมขออนุญาตแนะนำนะครับ ผิดถูกประการใด ต้องขออภัยด้วย
CTCSS ย่อมาจาก Continuous Tone Code Squelch System ส่วน DCS คือ Digital Code Squelch หน้าที่หลักของเจ้าสองฟังก์ชันนี้ ใช้สำหรับวจัดกลุ่มการใช้งาน โดยเลือกรับเฉพาะที่ต้องการรับ หรือเปิดระบบ repreter โดยการผสมเสียงความถี่ต่ำ Tone CTCSS ตลอดเวลาในขณะที่ส่งออกอากาศ และเครื่องจะตรวจสอบสัณญาณที่รับได้ว่ามี Tone ตรงกันหรือไม่ระหว่างเครื่องรับและส่ง ถ้ามี Tone code ตรงกันภาคขยายเสียงของเครื่องรับก็จะสามารถรับฟังได้ ส่วน DCS ก็จะมีการทำงานคล้ายกัน เพียงแต่ผสม digital code ลงไป เพื่อเข้าใจง่ายๆคือการเข้ารหัสนั่นเอง ถ้ากลุ่มอื่นไม่รู้รหัสก็ไม่สามารถส่ง สัณญาณหรือเข้ามารบกวนในวงสนทนาของเราได้ ตัวอย่างสมมุติว่าเราเดินทางแบบคาราวาน เราก็ควรตั้งกรุ๊ปหรือกลุ่มของเรา ตัวอย่างเช่น

นาย ตูมตาม และนาย นะ รัชดา ใช้ Frequency code  88.5
นาย กิติ และนาย ปอร์ ใช้ Frequency code 103.5
ส่วน นาย ทศ และนาย โย ไม่ใช้ Frequency code

ทุกคนทั้ง 6 คนนี้ ใช้ความถี่เดียวกันคือ CH 11(245.1250 MHz) ในการออกอากาศ ผลลัพย์การติดต่อจะเป็นดังนี้
นาย ตูมตาม และนาย นะ รัชดา สามารถติดต่อกันได้เท่านั้นจะไม่ได้ยินเสียงของ นาย กิติ และนาย ปอร์ แต่วิทยุของ นาย กิติ และนาย ปอร์ จะรับสัณญาณการติดต่อกันเองได้ ได้แต่จะไม่ได้ยินเสียง นาย ตูมตาม และนาย นะ รัชดา เนื่องจาก Frequency code ไม่ตรงกันวิทยุจะไม่เปิดระบบภาคขยายเสียงให้ จะเห็นแค่ไฟสัณญาณกระพริบเท่านั้น  ส่วนวิทยุของนาย ทศ และนาย โย จะรับสัณญาณและเสียงของทุกคนได้หมดซึ่งไม่ใช้ Frequency code แต่จะเรียกนาย ตูมตาม นาย นะ รัชฎา นาย กิติ และนาย ปอร์ ไม่ได้ เพราะทุกคนจะไม่ไ้ดยินเสียง นาย ทศ และนาย โย
ดังนั้นจากตัวอย่างข้างต้น CTCSS เหมาะใช้งานเฉพาะกลุ่ม ขับรถท่องเทียว และไม่ควรเป็นเรื่องที่เป็นความลับอันตราย เนื่องจากยังมีคนสามารถเฝ้าฟังได้แม้เขาไม่สามารถเข้ามาในวงสนทนาได้ ที่สำคัญฟังก์ชันนี้มีในวิทยุเกือบทุกตัว เพียงแต่บางครั้งเราลืมที่จะเซ็มมันแค่นั้นเอง แค่นี้ก็ทำให้การสนทนาผ่านวิทยุของเรา ก็สนุกมากขึ้นไม่ว่าไปที่ไหน ลองดูนะครับ เพื่อนท่านใดจะช่วยเสริมก็ยินดีครับ


เครดิตจาก "หนอน รอบกองไฟ"

พี่ก้อง ธนขวัญ:
ผมมิอใหม่มาก ๆ คงต้องศึกษาอีกเยอะ

ตูมตาม:
ปกติถ้าเป็นกลุ่มผมที่ไปเที่ยวต่างจังหวัดกันบ่อยๆก็ใช้ครับ....เพียงแต่การ set ของแต่ละยี่ห้อมันไม่เหมือนกัน....ต้องมานั่งอ่านคู่มือแล้วมา set ทีละยี่ห้อ.....พอดีในกลุ่มมีเพื่อนคนนึงเล่นวิทยุพวกนี้มานาน เขาจะเป็นตัวกลาง set ให้ทุกคน ทุกยี่ห้อ....ใครซื้อมาก็ส่งไปให้เพื่อนคนนี้ set ให้...ก็จบ......ผมเคยจะลอง set ครั้งนึงให้กับกลุ่มปามาเนียเรานี่แหละครับ.....แต่พอเห็นความหลากหลายยี่ห้อของวิทยุที่ใช้กันแล้ว ก็เลยถอดใจ  :L4386: :L4386:

ขอบคุณพี่จ่าสำหรับความรู้ดีๆครับผม :L2734: :L2734:

พี่นะ [Na ratchada]:

--- อ้างจาก: พี่จ่า jatot ที่ 20 มีนาคม 2013, 09:50:20 ---
ดังนั้นจากตัวอย่างข้างต้น CTCSS เหมาะใช้งานเฉพาะกลุ่ม ขับรถท่องเทียว และไม่ควรเป็นเรื่องที่เป็นความลับอันตราย เนื่องจากยังมีคนสามารถเฝ้าฟังได้แม้เขาไม่สามารถเข้ามาในวงสนทนาได้ ที่สำคัญฟังก์ชันนี้มีในวิทยุเกือบทุกตัว เพียงแต่บางครั้งเราลืมที่จะเซ็มมันแค่นั้นเอง แค่นี้ก็ทำให้การสนทนาผ่านวิทยุของเรา ก็สนุกมากขึ้นไม่ว่าไปที่ไหน ลองดูนะครับ เพื่อนท่านใดจะช่วยเสริมก็ยินดีครับ
[/size]

เครดิตจาก "หนอน รอบกองไฟ"

--- End quote ---

น่าสนใจมากเลยครับพี่จ่า  แล้ววิธีตั้งค่าตั้งอย่างไร  พอมีไกด์ไลด์ไหม

เพราะหลายตัวพื้นฐานการตั้งค่า คล้ายๆกัน  ขอดูตัวอย่างเมนูและจำลองคลื่น  ด้วยครับ

tod:
ด้วยความเคารพพี่ทุกท่านครับ
 :sd23:
ความถี่ที่เขาอณุญาติใช้ เป็นความถี่สาธารณะ ทุกคนมีสิทธิใชได้ทัดเทียมกันหมด
ยกเว้นบางความถี่ที่นำไปใช้เพื่อเป็นศุนย์ควบคุมข่ายเพื่อช่วยติดต่อสื่อสารในกรณีที่เครื่องระหว่างเครื่องติดต่อกันไม่ได้
หรือเป็นศูนย์รับแจ้งเหตุ จึงให้ประจำความถี่นั้นๆไป ซื่งต้องได้รับความเห็นชอบต่อสมาคมวิทยุหรือองกรณ์ประจำจังหวัดนั้นๆ
***แล้วทีนี้มาว่าเรื่องการใช้ความถี่ร่วมกัน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และหาทางออกไม่ให้รบกวนกัน***
-ช่อง ว. แดง ที่อนุณาติใช้มีทั้งหมด 80 ช่อง ซื่งตามมารญาติแล้วหากมีบุคลอื่นใช้ช่องสัญญาญอยู่ก่อนหน้าแล้ว
สมควรหลีกเลียงไปใช้ในช่องสัญญาญอื่นที่ว่าง(ไม่มีคนอื่นใช้ในพื้นที่ขณะนั้น)เป็นอันดีที่สุดเพื่อลดปัญหาการรบกวนกัน

***มาว่าถึงกรณีตัวอย่าง*** 
กลุ่มที่ 1. นาย ตูมตาม และนาย นะ รัชฎา ใช้ Frequency code  88.5
กลุ่มที่ 2.นาย กิติ และนาย ปอร์ ใช้ Frequency code 103.5
กลุ่มที่ 3.นาย ทศ และนาย โย ไม่ใช้ Frequency code
สมมุติว่า
-ทั้ง 3 กลุมไม่รู้จักกันเลยจะเกิดอะไรขึ้น
1.----กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 จะไม่มีปัญหากัน เพราะต่างคนต่างใช้ช่องสัญญาณเดียวกันแต่ไม่รบกวนกัน
2.----กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ทั้ง 2 กลุ่มนี้จะรบกวนกับกลุ่มที่ 3 แน่นอน จะเกิดปัญหาขึ้นอยู่กับว่า
   -ถ้ากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ใช้ความถี่อยู่ก่อน กลุ่มที่ 3 คงต้องหนีไปใช้ช่องความถี่อื่น ตามมารญาติ //หรือถ้าเจอพวกเกรียน
คงไม่ยอม คงจะเจอศึกทางความถี่ **(ช่องนี้กรูใช้อยู่ประจำคนอื่นห้ามใช้)**
   -ถ้ากลุ่ม 3 ใช้ความถี่อยู่ก่อน  แล้วกลุ่มที่1 และ2 เข้ามาใช้ทีหลังโดยการไม่รู้ตัว (เพราะใส่โทนอยู่ไม่ได้ยินอยู่แล้ว)
จะเกิดอะไรขึ้นลองนึกดู   คงสร้างความไม่พอใจกับกลุ่มที่ 3 แน่นอน
หมายเหตุ
เดียวนี้เครื่องรุ่นใหม่ๆทุกเครื่องจะมีฟังชั่นสแกนความถี่โทนให้มาอยู่แล้ว ถ้ากลุ่ม 3 ใช้งานเป็น ใช้เวลาสแกนแค่ไม่เกิน 3 นาที
ก็ทราบแล้วว่าคนที่เข้ามากวนแล้วใช้ฟังชั่นโทนอยู่ที่ช่องโทนช่องใหน เขาอาจจะเข้ามารว่มแจมกับท่านในทางที่ไม่ดีได้

**แล้วใช้ฟังชั่นโทนในกรณีใหนที่เกิดประโยชย์**
ฟังชั่นโทนจะใช้ให้เกิดประโยชย์ในกรณี
-เป็นห้างร้าน//โรงเรียน//โรงแรม  หรือหน่วยงานที่มีจำนวนคนมาก/หลายแผนก
-เป็นกลุ่มงานที่ใช้ที่มีตำแหน่งแน่นอน/อยู่ประจำที่/หรือพื้นที่นั้นๆ
ทีได้ประโยชย์ก็คือ คนมากๆสามารถใช้ความถี่แค่ความถีเดียว แต่แยกโทนออกไปตามแผนกหรือกลุ่มงาน
ทำให้ประหยัดความถี่ (แทนที่ 20 แผนกก็ 20 ความถี่ กลายมาเป็นความถี่เดียว 20 โทน)
-เหมาะสำหรับพื้นที่ ที่มีสัญญาณรบกวนมากๆ เช่นอยู่ใกล้สายไฟแรงสูง // เครื่องส่ง ทีวี/วิทยุที่มีกำลังส่งสูงๆ
อาจจะมีสัญญาณรบกวน(ฮาร์มอนิก Harmonic)เข้ามาตลอดทำให้เกิดความรําคาญ ก็จัดการใส่ฟังชั่นโทนเสีย
จะได้คุยกับคู่สนทนาได้รู้เรื่อง

***ฟังชั่นโทนที่ไม่แนะนำให้ใช้ในกรณีใช้ในรถโมบาย / หรือใช้เคลื่อนที่ไปในที่ต่างๆ***
-อย่าลืมว่าเราไม่ได้ยินชาวบ้านที่ใช้ความถี่ก่อนหน้าเรา // แต่เขาได้ยินเรา กลายเป็นเราเข้าไปกวนชาวบ้านเขา

พิมท์เองทั้งหมด อาจตกหล่นบ้าง พี่ลองพิจารณาดูครับ
 :sd23:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version