Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Miscellaneous

ถามเรื่องอาการลื่นไถลครับ

<< < (3/4) > >>

ตูมตาม:
มาเพิ่มเติมข้อมูลให้อีกหน่อยครับ.....พอดีอ่านโจทย์ของพี่โจ๊กดีๆ แล้ว ผมยังไม่ได้ตอบเรื่องของปัจจัยที่ทำให้รถเสียการทรงตัวขณะเข้าโค้ง (ลื่นไถล/หมุน)....พี่อธิบายไปแล้วเพื่อให้เข้าใจว่าจะ 4WD หรือ 2WD ก็เสียการทรงตัวได้ และระบบ 4H นั้นช่วยอะไรได้บ้าง

คราวนี้มาอธิบายในเรื่องของปัจจัยนะครับ (พี่นะอธิบายไปแล้วในเรื่องของช่วงล่าง ขอบคุณครับพี่นะ อธิบายได้เห็นภาพมากๆ)

ปัจจัยที่ทำให้รถเสียการทรงตัวในการเข้าโค้ง....จะพื้นเปียกพื้นแห้งปัจจัยก็เหมือนกันครับ เพียงแค่พื้นเปียกจะทำให้เกิดผลได้ง่ายกว่า

1. ความเร็ว
ปัจจัยนี้มีผลมากที่สุดครับ เป็นตัวที่สำคัญที่สุด....ความเร็วในที่นี้คือความเร็วของรถทั้งก่อนที่จะเข้าโค้ง และขณะที่เข้าโค้ง....การเข้าโค้งด้วยความเร็วจะทำให้เกิดแรงเหวี่ยงจากจุดศูนย์มาก (ค่า A มาก) ซึ่งถ้ามันมากกว่าแรงต้าน/แรงเสียดทานที่ล้อเมื่อไหร่......ก็เตรียมไปนอนข้างทางได้เลยครับ....จะนอนในลักษณะไถลออกไปนอน หรือกลิ้งออกไปนอน ก็แล้วแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเสียการทรงตัวไปแล้วนั่นแหละครับ.....ดังนั้นความเร็วยิ่งมาก ค่า A ก็ยิ่งมากครับ....ดังนั้นวิธีป้องกันการลื่นไถล/หมุนง่ายๆครับ ไม่ต้องเสียตังค์กระเป๋าแหกซักบาท...คือ "ขับช้าๆ"

2. ยาง
ปัจจัยที่ 2 คือยาง....ปัจจัยนี้มีผลโดยตรงต่อการสร้างแรงเสียดทาน....ยางเป็นอุปกรณ์ของรถเพียงชนิดเดียวนะครับที่อยู่ติดกับพื้นถนน....ดังนั้นมันก็เลยเป็นอุปกรณ์เพียงชนิดเดียวที่สร้างแรงเสียดทานให้กับรถเพื่อต้านกับแรงเหวี่ยงจากการเข้าโค้งครับ......คิดดูละกัน....ชีวิตเราทั้งหมดขึ้นกับแค่ยาง 4 เส้นนี้แหละครับ......ยางที่ดี มี Traction สูง....การยึดเกาะถนนดีกว่ายางที่ไม่ดี....ก็สามารถสร้างแรงเสียดทานได้มากกว่า....โอกาสลื่นไถล/หมุนก็น้อยลงตามไปด้วย

ไหนๆก็พูดมาถึงเรื่องยางแล้ว....ขอแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับยางต่ออีกหน่อย....ยางน้องปาเรามี 3 ประเภทหลักให้เลือก คือ HT AT และ MT.....บางคนมีความเข้าใจว่ายาง AT หรือ MT ที่มีดอกยางใหญ่ๆ หน้าสัมผัสของยางเยอะกว่ายางประเภท HT ที่ดอกเล็กกว่า น่าจะยึดเกาะได้ดีกว่า หรือสร้างแรงเสียดทานได้ดีกว่า.....ความเชื่อนี้จะไม่เป็นจริงเมื่อพื้นถนนมีความเปียกลื่นครับ....เพราะอะไร....ไม่ใช่เพราะยี่ห้อ หรือคุณภาพของยาง.....แต่เป็นเพราะร่องรีดน้ำ....ไอ้เจ้าร่องรีดน้ำที่ทำให้เราให้ยางมีดอกยางนี่แหละครับเป็นตัวแปรสำคัญ.....ยาง MT อาจมีดอกยางใหญ่กว่า หน้าสัมผัสยางกับพื้นถนนเยอะกว่า....แต่พอถนนเปียกลื่น.....ร่องดอกยางของยางประเภทนี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อรีดน้ำ ดังนั้นมันเลยรีดน้ำได้ไม่ดี.....ทำให้ถึงมีหน้าสัมผัสที่เยอะกว่า แต่ก็มีน้ำอยู่ระหว่างผิวสัมผัสเยอะกว่าเช่นเดียวกันครับ.....นั่นทำให้เวลาถนนเปียกยาง MT หรือแม้แต่ AT การเกาะถนนจะด้อยลงเยอะ....หากเปรียบเทียบกันแล้วจะแย่กว่ายาง HT ที่ออกแบบมาเพื่อรีดน้ำบนพื้นแข็งโดยเฉพาะไม่ได้........มีคนเข้าใจว่าการใส่ยาง AT หรือ MT แล้วจะเกาะถนนดีขึ้นอยู่เยอะนะครับ....บางคนถึงขนาดคิดว่ายางประเภท AT MT พื้นทราย พื้นฝุ่นยังลุยได้....แค่ถนนเปียกก็ต้องยึดเกาะได้ดีด้วย......พวกนี้ส่วนใหญ่สุดท้ายไม่ไปนอนเป็นอาหารหนอนอยู่ข้างทาง....ก็ไปเป็นลูกค้า VIP โรงพยาบาลใดโรงพยาบาลหนึ่งละครับ

3. ช่วงล่าง (โช๊ค + สปริง)
ปัจจัยที่ 3 คือระบบช่วงล่างครับ.....อย่าเข้าใจผิดนะครับ ระบบช่วงล่างไม่ได้สร้างแรงยึดเกาะที่เพิ่มขึ้น.....ผมขอย้ำคำเดิมว่า แรงยึดเกาะหรือแรงเสียดทานสร้างได้จากยางทั้ง 4 เส้นที่สัมผัสพื้นเท่านั้นครับ.......แล้วช่วงล่างช่วยอะไร เห็นไปแหกกันแหลกราญซะขนาดนั้น......เหมือนอย่างที่พี่นะอธิบายมาแล้วเลยครับ.....สรุปง่ายๆ.....มันช่วยใน 2 ทางครับ
          1. ช่วยประคองไม่ให้รถเอียงเวลาเข้าโค้ง....ทำให้จุด CG ของรถ ไม่เลยออกไปนอกฐาน (ดูรูปของพี่นะประกอบนะครับ) ดังนั้น โช๊ค + สปริงที่แข็งกว่า ก็จะต้านกับแรงเหวี่ยงได้เยอะกว่าในการประคองรถไม่ให้จุด CG ออกนอกฐาน.....เพราะถ้าจุด CG ออกนอกฐานเมื่อไหร่....รับรองได้ว่าขำกลิ้งลิงกับหมาแน่นอนครับ....ดังนั้นช่วงล่างที่นิ่มกว่าย่อมต้านทานแรงเหวี่ยงได้น้อยกว่าครับ ยิ่งถ้าโช๊คแตก โช๊คตาย แรงต้านที่จะประคองรถก็ยิ่งต่ำลง....เข้าโค้งแรงๆ ก็ไปนอนเป็นอาหารหนอนที่ข้างทางเช่นกัน
          2. ต่อเนื่องจากประเด็นจุด CG เมื่อมันช่วยประคองรถไม่ให้จุด CG เคลื่อนออกจากฐาน ก็แปลว่าอาการเอียงของรถก็จะน้อยลงด้วย.....และผลที่ได้คือยางทั้ง 4 เส้นยังสามารถสัมผัสพื้นเพื่อสร้างแรงเสียดทานได้เต็มที่.....ลองนึกสภาพรถที่เข้าโค้ง....ตัวรถจะเอียงตามโค้ง โดยข้างที่อยู่ด้านนอกโค้งจะยุบลง....เป็นผลให้ข้างที่อยู่ในโค้งยกขึ้น.....เมื่อด้านในโค้งยกขึ้น...น้ำหนักที่กดลงบนล้อ+ยางก็ลดลง....การสร้างแรงเสียดทานในล้อด้านในโค้งก็เลยลดลงตามน้ำหนักที่กดน้อยลง......ถ้าเอียงมากๆ ต่อให้ไม่ถึงกับกลิ้ง....แต่การสร้างแรงเสียดทานแทนที่จะมาจาก 4 ล้อ ก็จะเกิดได้แค่จาก 2 ล้อ (ด้านที่อยู่นอกโค้ง).....ไม่แรงเสียดทานลดลงครึ่งหนึ่งของปกติ.....ก็โน่นเลยครับ เตรียมจูบไหล่ทางด้านนอกได้เลย

ดังนั้นช่วงล่าง (โช๊ค+สปริง) ไม่ได้สร้างแรงเสียดทานที่เพิ่มขึ้นนะครับ....จะแพงแค่ไหนก็ไม่สามารถสร้างแรงเสียดทานได้ครับ....มันช่วยในการพยุงรถไม่ให้จุด CG ออกนอกฐาน (จะได้ไม่กลิ้ง) และช่วยยึดขึ้นให้ล้อด้านในโค้งยังกดพื้นอยู่เพื่อสร้างแรงเสียดทานได้ตามเดิม (ถึงจะไม่เท่าเดิมเหมือนวิ่งทางตรง แต่อย่างน้อยก็ยังสร้างอยู่บ้าง)

ตูมตาม:
และปัจจัยที่อยากจะเน้นเป็นปัจจัยสุดท้ายและสำคัญที่สุดคือ "คน" ครับ

เชื่อผมเหอะ....รถไม่มีคนอยู่ในรถมันไม่อันตรายหรอก ถ้าไม่ใช่ car bomb.....คน มีผลโดยตรงต่อความเร็วในการเข้าโค้ง เพราะคนเป็นกดคันเร่งให้รถวิ่งไป เร็วเท่าไหร่คนเป็นผู้กำหนด....ดังนั้นเร็วช้า ก็อยู่ที่คน.......คนที่ขับรถปลอดภัยที่สุดคือคนขับช้าครับ ไม่ใช่คนขับเก่ง....ไม่เชื่อลองให้นักแข่งรถขับรถสปอร์ตช่วงล่างเทพเกรด A ยุโรป ขับเข้าโค้งเร็วๆ กับคนธรรมดาขับรถ city car ขับเข้าโค้งช้าๆ....คุณว่าใครมีโอกาสแหกโค้งมากกว่ากัน.....รถเร็วยังงัยก็มีโอกาสแหกโค้งมากกว่าครับ

ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้รถเสียการทรงตัวคือ "คน" ครับ.....ถ้าไม่อยากลื่นไถล/หมุน...ก็ง่ายๆครับ ย้ำอีกที "ขับช้าๆ"......เหมือนพี่นะบอกละครับ....ลองขับด้วยความเร็วเท่าป้ายเตือน หรือ limit ความเร็วในการเข้าโค้งดูครับ....โช๊คตาย ยาง 8 ปี ยังเข้าได้สบาย....ขออย่างเดียวพวงมาลัยอย่าล็อคละกัน

 :L2754: :L2754:

นอกจากความเร็วที่เราใช้ในการเข้าโค้งแล้ว....คนยังมีผลอีกอย่างหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดว่ารถจะเสียการทรงตัวหรือไม่ในการเข้าโค้ง....นั่นคือวิธีการเข้าโค้งครับ......รถที่แตกต่างกัน มีวิธีการขับเข้าโค้งที่แตกต่างกัน ถึงจะไม่มาก แต่ก็มีบ้างครับ....แต่อย่างที่บอกครับ ถ้าขับช้า จะเข้าด้วยวิธีไหนก็ไม่แตกต่างกัน.....มันจะเห็นผลมากขึ้นเวลาที่เข้าโค้งเร็วๆครับ

รถขับเคลื่อนล้อหน้า....กำลังลากอยู่ที่ 2 ล้อหน้า....การเข้าโค้งจึงสามารถเข้าได้เร็วกว่า....จะสังเกตุว่ารถประเภทนี้หน้าจะไวกว่า หักพวงมาลัยนิดเดียว กดคันเร่ง รถก็เลี้ยงออกไปแล้ว.....เมื่อกำลังลากอยู่ที่ 2 ล้อหน้า ซึ่งเป็นล้อที่เลี้ยวเช่นกัน....ดังนั้นเมื่อกดคันเร่ง ไม่ว่าล้อจะหันอย่างไร รถก็จะถูกลากออกไปในทิศนั้น....ดังนั้นการเข้าโค้งสำหรับรถขับเคลื่อน 2 ล้อหน้า....ขอให้หน้ารถเข้าโค้งไปได้ ก็สามารถกดส่งคันเร่งต่อได้เลย....เพราะเมื่อหน้ารถเข้าโค้งได้แล้ว.....เมื่อกดคันเร่ง....2 ล้อหน้าก็จะลากรถไปในทิศทางที่ล้อหันไป....โดยที่ล้อหลังเป็นเพียงล้อที่ตามมา ไม่มีแรงผลัก หรือดัน ให้เสียการทรงตัว

รถขับเคลื่อนล้อหลัง....กำลังแรงดันอยู่ที่ 2 ล้อหลัง.....การเข้าโค้งมักทำได้ช้ากว่า สังเกตุว่ารถประเภทนี้หน้ารถจะไม่ไวเท่าพวกรถขับเคลื่อนล้อหน้า.....รถประเภทนี้แรงขับอยู่ที่ 2 ล้อหลัง......แต่ล้อที่เลี้ยวคือ 2 ล้อหน้า.....ถ้ามันทำงานไม่สัมพันธ์กันเมื่อไหร่....ก็หน้าไปทาง ท้ายไปทางครับ.....ดังนั้นรถประเภทนี้เวลาเข้าโค้งจะเข้าแบบรถขับเคลื่อนล้อหน้าไม่ได้....คือไม่ใช่ว่าพอหน้าเข้าโค้งได้ก็กดคันเร่งต่อทันที.....ถ้าเข้าแบบนี้ลองนึกดีๆครับ.....ล้อหน้าเลี้ยวอยู่....กดคันเร่งแรง..กำลังไปออกล้อหลัง......ถ้าพื้นเปียก...ก็หมุนครับ.......เป็นกันเยอะนะครับ สำหรับคนที่ไม่เคยขับรถขับเคลื่อนล้อหลัง ปกติขับแต่รถขับเคลื่อนล้อหน้า...พอเปลี่ยนมาขับปา ยังเข้าโค้งแบบเหมือนขับรถขับเคลื่อน 2 ล้อหน้า.....แล้วหมุน.....แบบนี้ไม่ต้องโทษรถครับ โทษคนขับนั่นแหละ......รถขับเคลื่อนล้อหลัง.....การเข้าโค้งช่วงแรกไม่ต่างกับรถขับเคลื่อนล้อหน้า....เพียงแต่จังหวะเติมคันเร่งต้องช้ากว่าหน่อย....คือแทนที่หน้ารถเข้าโค้งแล้วจะกดคันเร่งได้เลย....ไม่ได้ครับ....ต้องรอช่วงจังหวะที่คืนพวงมาลัยกลับมาก่อนค่อยกดคันเร่งเติมครับ.....เพราะเมื่อพวงมาลัยตั้งกลับมาตรง (หรือเกือบตรง) แรงดันล้อหลังก็จะดันให้รถเคลื่อนไปตรงๆ....ไม่หมุนแบบเมื่อล้อหน้ายังหักเลี้ยงอยู่ครับ

วิธีการขับทั้ง 2 อย่าง....ถ้าขับช้าๆ.....รถแบบไหนก็เข้าเหมือนกันละครับ.....มันจะต่างกันเมื่อท่านขับเร็ว เข้าโค้งเร็วๆ ยิ่งถ้าถนนเปียกลื่นด้วยแล้วยิ่งเห็นผลชัดครับ......ลองถนนเปียกลื่น.....เอาน้องปาเข้าโค้งแบบรถขับเคลื่อน 2 ล้อหน้า.....พอหน้าเข้าโค้ง....กดคันเร่งส่งเลย.....ไม่หมุน ก็ท้ายปัดไปปัดมากันบ้างละครับ.....ยิ่งถ้าพวกมีกล่องข้าวน้อย กล่องคันเร่ง เปลี่ยนหัวฉีด....หรือทำอะไรก็แล้วแต่ให้เครื่องมันแรงขึ้น ยิ่งเห็นผลชัดเจนครับว่าต่างกัน

ถ้าใครอยากลอง...ไม่ต้องเอาน้องปาไปลองครับ....ลองไปเอา game Grand Tourismo มาเล่นดูครับ ลองเอารถแบบขับ 2 ล้อหน้า กับ 2 ล้อหลังมาเล่นดูในเกมส์ก็ได้ครับ....ท่านจะรู้สึกได้ว่าเลยอย่างที่ผมเล่าให้ฟังนี่แหละ

สุดท้าย ขอย้ำคำเดิมครับ.....ขับช้าๆ แล้วท่านจะไม่ต้องไปพึ่งพาปัจจัยอื่นอีกเลย  :L4399: :L4399: :L4399:

พี่อาร์ต-Outdoor:
 :sd23: :sd23:  :L2900: ชัดเจนมากๆครับ มีคำถามเพิ่มเติมครับพี่ ยางที่เราใช้ๆกันอยู่ เราจะรู้ได้ยังไงครับว่ามี traction เท่าไหร่ มันมีค่ากลางให้เปรียบเทียบมั้ยครับพี่ เช่น ยางยี่ห้อ A กับ B หรือ C ที่ขนาดเท่ากันแต่มี traction ต่างกัน อาจจะเป็นจากเนื้อยางหรือส่วนผสม มีใครเค้าจะบอกมั้ยเนี่ย หรือมีวิธีไหนที่จะรู้ได้ ถ้ามีให้ดูเปรียบเทียบก็น่าจะเป็นข้อนึงที่สามารถเลือกใช้ยางที่เหมาะสมขึ้นอ่ะครับ

ตูมตาม:

--- อ้างจาก: Art Outdoor ที่ 19 มีนาคม 2013, 18:51:03 --- :sd23: :sd23:  :L2900: ชัดเจนมากๆครับ มีคำถามเพิ่มเติมครับพี่ ยางที่เราใช้ๆกันอยู่ เราจะรู้ได้ยังไงครับว่ามี traction เท่าไหร่ มันมีค่ากลางให้เปรียบเทียบมั้ยครับพี่ เช่น ยางยี่ห้อ A กับ B หรือ C ที่ขนาดเท่ากันแต่มี traction ต่างกัน อาจจะเป็นจากเนื้อยางหรือส่วนผสม มีใครเค้าจะบอกมั้ยเนี่ย หรือมีวิธีไหนที่จะรู้ได้ ถ้ามีให้ดูเปรียบเทียบก็น่าจะเป็นข้อนึงที่สามารถเลือกใช้ยางที่เหมาะสมขึ้นอ่ะครับ

--- End quote ---

จริงๆมันมีมาตรฐานนะครับ....แต่ผมจำหลักการวัดเขาไม่ได้ละ...ต้องไปค้นข้อมูลก่อน...แต่ง่ายๆครับ มันมีการสรุปเป็นระดับไว้ครับ คือ ระดับ A B C ครับ.....ที่ยางบางยี่ห้อจะมีเขียนไว้ครับ.....ถ้าใครยังใช้ยางเดิมติดรถที่มาจากโรงงานลองก้มดูครับ....มันจะมีเขียนไว้ว่า Tranction B / Temperature B.....แปลว่าเป็นยางที่อยู่ในระดับกลางๆครับ....ไม่ถึงกับดี แต่ก็ไม่ได้เลยร้าย......อย่างที่พี่นะชอบพูด.....เขาให้เราไว้ใช้ในการขับแบบ "ถูกกฎจราจร" จร้าาาาาาา

เดี๋ยวค้นข้อมูลได้แล้วจะมา update การวัดของเขาอีกทีครับ  :L4399: :L4399:

พี่จ่า Jatot:
Treadwear เป็นอันดับเปรียบเทียบตามการสึกหรอของยาง  เช่น 400 ใช้ได้นานกว่ายาง 200 แต่ต้องแลกมาด้วยเนื้อยางที่แข็งกระด้างและการเกาะถนนที่น้อยลง
ประสิทธิภาพ treadwear จริงอาจจะแตกต่างกันอย่างมากมายตามการใช้งานจริงขึ้นอยู่กับรูปแบบนิสัยการขับขี่,การดูแลรักษา (แรงดันลมยาง), สภาพถนน และอากาศที่มีผลต่ออายุของยาง  อันดับตัวเลขที่น้อย ก็ไม่ได้บ่งบอกถึงการเกาะถนนเสมอไป ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบดอกยาง โครงสร้างหน้ายาง แก้มยาง รวมทั้งส่วนผสมของเนื้อยาง

Traction เป็นอันดับความสามารถในการหยุดบนทางเปียก บนพื้นยางมะตอย และการทดสอบบนพื้นผิวคอนกรีต traction จาก สูงสุด ไป ต่ำสุด ที่ "AA", "A", "B" และ "C"ยางที่จัดอันดับ "AA" อาจมีสมรรนะดีในการเกาะถนนกว่ายางจัดอันดับที่ต่ำกว่า ทดสอบเบรค หน้า-ตรง ไม่พิจารณาระดับประสิทธิภาพในขณะเลี้ยวของยาง

Temperature เป็นอันดับแสดงความต้านทานของยางต่อความร้อน และความสามารถในการกระจายความร้อนระดับจากสูงสุดไปต่ำสุดเป็น "A", "B" และ "C" เกรด "C"
หมายถึงประสิทธิภาพต่ำสุดตามมาตรฐานความปลอดภัย ดังนั้นยาง “A" คือ ใช้งานได้ในขณะเย็น และ
แม้ว่ายาง "C" วิ่งในขณะที่ร้อนก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ปลอดภัย ระดับอุณหภูมิจะจัดตั้งขึ้นสำหรับยางที่พอเหมาะสมและไม่มากไป

 
ที่มาของข้อมูล
http://www.aeracingclub.net/forums/index.php?topic=81820.0;wap2

สำหรับยางติดรถของ น้องปา มีดังนี้
Treadwear 360 ดีมาก ดีที่สุด 400
Traction  B  ปานกลาง ดีที่สุด AA
Temperature B ปานกลาง ดีที่สุด A
ความเร็วสูงสุด 180 Km/H
รับน้ำหนักได้ 1090 Kg

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version