Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Performance Talks & Engine Modifications

!ค่าซ่อมมันแพง อยากแรงพึงระวัง...ตอน6-การดันราง การหลอกECU การจูนหลอก ?

(1/10) > >>

พี่นะ [Na ratchada]:
(เครดิตพี่อ๊อด ปามาเนีย)

ตอน6 - สรุป การดันราง การหลอกECU การจูนหลอก ?  เป็นอย่างไร ?

การดันรางคือ การเพื่มแรงดันในรางคอมมอนเรล โดยการหลอก ECU ว่าแรงดันยังไม่ถึงจุดที่ ECU ต้องการ
ECU จึงสั่งปั๊มเชื้อเพลิงให้สร้างแรงดันเพิ่มขึ้น เมื่อแรงดันเพิ่มขึ้นก็จะทำให้การฉีดน้ำมันผ่านหัวฉีดสู่ห้องเผาไหม้ได้แรงและเป็นฝอยกว่าเดิม
ส่งผลให้การเผาไหม้ดีขึ้น รถก็มีกำลังเพิ่มขึ้นทั้งแรงม้าแรงบิด ซึ่งการขับรถในแบบเดิมๆที่ไม่ได้ไปสนุกกดคันเร่งอย่างเมามันก็จะได้ความประหยัด
เพราะเมื่ออัตราเร่งที่ดีกว่าเดิม เราก็จึงไม่ต้องเค้นคันเร่งมาก

เค้าหลอกเซนเซอร์ให้ ECU เพิ่มแรงดันได้อย่างไร
จากรูปจะเห็นคุณสมบัติของเซนเซอร์วัดแรงดันครับ เมื่อมีแรงดันในรางมากขึ้น แรงดันไฟที่จะถูกส่งจากเซนเซอร์ไปยัง ECU ก็มากขึ้นด้วยตามรูปกราฟ
เช่นที่เซนเซอร์วัดแรงดันได้ 80 Megapascal (Mpa) เซ็นเซอร์จะส่งแรงดันไฟไปยัง ECU เท่ากับ 2.3 โวลท์(Volt)
ECU ก็จะรับรู้ได้ว่าแรงดันในรางเป็นไปตามที่ ECU ต้องการแล้วหรือยัง



และเมื่อเราใส่กล่องดันราง กล่องพวงนี้ก็จะมีวงจรไปลดแรงดันไฟที่มาจากเซนเซอร์ ก่อนถูกส่งไปยัง ECU ลดมากก็หลอกมาก
ตัวอย่างเช่นจากเดิมที่ 2.3Volt แรงดันอยู่ที่ 80Mpa เมื่อถูกลดแรงดันไฟ ทำให้ ECU คิดว่าแรงดันยังไม่เป็น 80Mpa ตามต้องการ
ECU จึงสั่งปั๊มเพิ่มแรงดัน แต่หารู้ไม่ว่าแรงดันในรางของจริงๆตอนนี้ปาเข้าไป 100Mpa แล้ว



ในรถเดิมๆของเราเมื่อเราสตาร์ทเครื่องรอบเครื่องที่เดินเบาจะมีแรงดันในรางอยู่ประมาณ 30Mpa
และเมื่อรอบเครื่องสูงขึ้น รอบต้น รอบกลาง รอบปลาย แรงดันในรางก็จะมากขึ้นไปด้วยตามกราฟ
และไปสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 160Mpa (ตัวเลขทั้งหมดที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงค่าประมาณนะครับ)



ทีนี้รูปแบบการจูนหลอก ECU ก็มีหลากหลายแบบ จะจูนมากจูนน้อย ตามความต้องการ ความเหมาะสมครับ
จูนแบบ A ก็ให้ความแรงระดับนึงการตอบสนองแบบนึง จูนแบบ B ก็แรงแบบนึงตอบสนองอีกแบบนึง
เมื่อจูนหลอกมากแรงดันในรางก็จะสามารถมากเกินกว่ารถเดิมๆที่อยู่ประมาณ 160Mpa  ขึ้นไปอีก หลุดข้อจำกัดที่ ECU กั๊กไว้แล้วครับ



มาดูลักษณะการจูนแบบ A ครับ ซึ่งในที่นี้ ผมยกให้เป็นตัวแทนของข้าวกล่องในตำนาน ข้าวกล่องแม่ค้า กล่องดันรางมือหมุน หรือกล่องอนาลอคครับ
การจูนกล่องประเภทนี้เมื่อจูนมากขึ้น กราฟทั้งเส้นก็จะถูกยกไปทั้งเส้น จะจูนมากจูนน้อย แต่รูปกราฟก็ยังเป็นรูปแบบเดิม



ต่างกับกล่องที่เราได้ทดสอบ ซึ่งเป็นกล่องคอนโทลเลอร์ หรือที่เรียกกันว่ากล่องดิจิตอล สามารถปรับรูปแบบกราฟดังใจต้องการ
เปรียบง่ายๆเหมือนการปรับอีควอไรเซอร์เครื่องเสียง ช่วงไหนยังไงแค่ไหนก็ได้ แต่ใช่ว่ากล่องคอนโทลเลอร์ที่ขายๆกันจะปรับแบบนี้ได้ทั้งหมดนะครับ
บางยี่ห้อปรับเองได้ตามใจชอบ บางยี่ห้อก็ปรับเป็นโหมดๆมาให้แล้ว
แต่ตัวที่เราทดสอบก็สามารถปรับได้แต่เมื่อปรับจูนเข้าที่แล้ว เราก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะปรับเล่นเอง



กลับมาที่กล่องมือหมุนครับ เมื่อเราต้องการจูนมากขึ้น เราก็หมุนเพิ่มเข้าไป กราฟทั้งเส้นก็จะเคลื่อนไป แรงดันในรางสูงสุดก็เพิ่มขึ้น
แต่ที่รอบเดินเบาของรถ แรงดันก็จะเพิ่มตามไปด้วย ก็เลยเป็นที่มาของเสียงเขกที่ดังขึ้นในรอบเดินเบา
เมื่อจูนมากๆขึ้นจนเราชอบความแรงที่รอบต้นและรอบกลางแล้ว แต่รอบปลายก็ต้องไม่เกินจุดที่ท้ายรางจะปล่อยน้ำมันออกเพื่อลดแรงดันในรางลง
ทำยังไงล่ะ ก็ต้องทำท้ายรางมารองรับหากต้องการจูนมากๆ (การทำท้ายรางจะกล่าวถึงต่อไปครับ)
ท้ายรางเดิมๆเปิดประมาณ 180Mpa เพื่อเป็นการเซฟรถ ทั้งตัวราง หัวฉีด ให้อยู่กับเรายาวๆ เป็นปราการด่านสุดท้ายที่เซฟรถของเรา



มาดูกล่องคอนโทลเลอร์บ้าง เนื่องจากปรับได้ในทุกๆช่วง ทำให้ในช่วงรอบเดินเบาก็ปรับให้แรงดันเท่ากับของเดิม
ก็จะไม่มีเสียงเขกดังตอนเดินเบา จะปรับให้ดังก็ได้ ปรับแล้วก็ไม่กระทบต่อกราฟในช่วงอื่นๆ
รอบปลายก็ปรับให้ไม่เกินจุดที่ท้ายรางเปิดหรือจะให้เกินก็ได้ นี่คือตัวที่เราได้ลิ้มลอง

พี่นะ [Na ratchada]:
จูนแรงดันไปได้แค่ไหนไฟถึงโชว์
เคยเห็นคนอื่นๆเค้าว่ากันว่า ถ้าอยากได้แรงเต็มที่ก็จูนให้ไฟโชว์ ก็จะรู้ลิมิตของท้ายราง
จากนั้นก็จูนลดลง เป็นอันเสร็จ แต่กลับกันทางเรารู้มาแล้วครับว่ารถเดิมๆ จะไปได้แค่ไหน (ข้อมูลจากรั้วสังกะสี)
อาจจะมีบวกลบกันบ้างนิดหน่อย เพราะรถแต่ละคันแม้จะเป็นมิตซูรุ่นเดียวกัน แต่เนื่องจากกระบวนการผลิต
ก็ทำให้ค่าต่างกันเล็กน้อย เมื่อลองจูนเล่นดูพักใหญ่ ก็ไปตันอยู่ที่อาการบูสคัทซะก่อน แต่ก็ยังไม่เจอไฟโชว์
หรืออาการท้ายรางเปิดเลยแม้แต่ครั้งเดียว ยอมรับเลยครับว่าค่าที่จะจูนนั้น ทำการบ้านและเตรียมพร้อมมาดีมากๆ
ขนาดจะเพิ่มเลขบางช่วงนิดๆหน่อยๆ ยังต้องคิดคำนวณ ก่อนจูนใส่ให้ นี่แหละครับความรู้จริงและใส่ใจในรายละเอียดการจูน



สิ่งที่ขอต่อคือจะทำได้มั๊ยขอจูนให้รถออกตัวดีขึ้นเยอะๆไปเลย มันเป็นอะไรที่ถ้าทำได้จูนได้ จะลบจุดด้อยของการออกตัวอย่างอืด
ของ PajeroSport ในความคิดเลยทีเดียว  จากนั้นพอได้ลองก็ โอ้ว...มันพุ่งกระชากเลยทีเดียวครับ แต่พอกดคันเร่งส่งต่อไปเรื่อยๆ
ทำไมถึงรู้สึกว่ามันไม่ดีงต่อเนื่องหว่า เปลี่ยนเกียร์ทีก็ดึงที แล้วค่อยๆเหี่ยวเปลี่ยนเกียร์แล้วดึงต่อ
เริ่มรู้สึกว่าไม่ชอบอย่างแรง เพราะขาดความต่อเนื่องช่วงต่อเกียร์ จะขออธิบายความรู้สึกส่วนตัวเป็นเส้นกราฟ
ตัวเลขไม่ต้องสนใจก็ได้ครับเพราะเป็นเพียงความรู้สึกที่ไม่ได้ใช้การจับเวลาครับ



เส้นกราฟสีแดงคือจูนต้นเยอะๆเพื่อให้ออกตัวดีๆ แรงครับ พุ่งทะยานไปเร็วกว่าเส้นสีฟ้า
เส้นสีฟ้าคือยอมจูนลดลงเพื่อเอาความรู้สึกต่อเนื่องของการต่อเกียร์ เพื่อเป็นธรรมชาติของการขับ


***แล้วพบกันตอนต่อไป ครับ

พี่ดล (2523):
อยากใส่ดันราง แต่กลัวเครื่องเข็กมาก เพราะเดิมๆก็เข็กกระจายแล้ว ไม่รู้ต้องจูนใหม่หรือเปล่า :L6415:

พี่โต้ง Tongsom:
Technique ล้วนๆเลย ความจรืิง ความจริง ที่ต้องศึกษา  :L2900: :L2900: :L2900: :L2900: :L2900:

พี่อ็อด Pentium4:

--- อ้างจาก: dol2523 ที่ 28 ธันวาคม 2012, 10:12:57 ---อยากใส่ดันราง แต่กลัวเครื่องเข็กมาก เพราะเดิมๆก็เข็กกระจายแล้ว ไม่รู้ต้องจูนใหม่หรือเปล่า :L6415:

--- End quote ---

พี่ดลใช้น้องปารุ่นไหนอยู่หรือครับ

2.5 3.2 หรือ 2.5VG

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version