Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Miscellaneous

โครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนทุน(AFS)ตอบหน่อยนะคะ

<< < (3/5) > >>

นุก (ปทุมธานี):
มาเพิ่มเติมข้อ 2 ครับ ขอแชร์ข้อมูลในระบบของมหาลัยครับ

*นิสิตคนใดที่ไปศึกษายังต่างประเทศที่มหาลัยมีความร่วมมือ(MOU) แล้วจะขอเทียบโอนรายวิชานั้น วิชาที่เรียนจากต่างประเทศต้องมีเนื้อหาเทียบเคียงได้กับ วิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรของไทย(เนื้อหาคล้ายกัน)และมีระยะเวลาในการเรียนครบกี่ชั่วโมงบลาๆๆ(ชั่วโมงเรียครบตามกำหนด) ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละหลักสูตรครับ โดยผู้กำหนดเงื่อนไขก็คือ อาจารย์ในหลักสูตรพิจารณาร่วมกันครับ การจะให้นิสิตคนใดเทียบโอนหน่วยกิตจากต่างประเทศก็ต้องเข้าที่ประชุมพิจารณากันเป็นรายๆไปครับ

เผื่อเป็นข้อมูลครับ
ปล. การเทียบโอนหน่วยกิต ถ้าใช้แบบเดียวกับมหาลัย อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เด็กบางคนโอนได้ บางคนโอนไม่ได้ครับ

ดุ่ย:
สุดยอดเลยครับ นอกจากเรื่องรถแล้วยังได้รู้เรื่องอื่นๆด้วย เรื่องการเรียนก็เช่นกันครับ การเลือกสายการเรียนก็เป็นการเลือกเส้นทางชีวิตด้วยเช่นกันครับ :L2900: :L2900: :L2900:

พีรา-[peeratida]:

--- อ้างจาก: นุก (ปทุมธานี) ที่  5 กรกฎาคม 2015, 09:43:04 ---ขอแชร์ข้อมูลให้พี่พีรานะครับ ส่วนตัวไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับทุน afs โดยตรงนะครับ มีแต่ทุนอื่นที่ได้เอง และทำเกี่ยวเรื่องทุนให้เด็กๆนะครับ ขอพูดแบบง่ายๆนะครับ ส่วนลึกๆถ้าเพิ่มเติมพี่พีราแชร์มาอีกทีนะครับ จะพยายามช่วยหาคำตอบให้ครับ

--- End quote ---
ขอแชร์ข้อมูลให้พี่พีรานะครับ ส่วนตัวไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับทุน afs โดยตรงนะครับ มีแต่ทุนอื่นที่ได้เอง และทำเกี่ยวเรื่องทุนให้เด็กๆนะครับ ขอพูดแบบง่ายๆนะครับ ส่วนลึกๆถ้าเพิ่มเติมพี่พีราแชร์มาอีกทีนะครับ จะพยายามช่วยหาคำตอบให้ครับ

อ้างจาก: พีรา-peera ที่  4 กรกฎาคม 2015, 22:34:28
      พี่พีรา ขอถามนอกเรื่องหน่อยนะคะ ไม่เกี่ยวกับรถ แต่เป็นโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยนเผื่อจะมีพี่ๆในนี้เป็นนักเรียนทุน AFS มาก่อน หรือเป็นครูก็ได้ค่ะที่พอจะรู้.     พี่พีราเด็กบ้านนอกไม่ค่อยรู้เรื่องจะเก็บไว้เป็นข้อมูลหาในกูเกิ้ลมันไม่ละเอียดแล้วก็มันไม่ตรงประเด็นที่อยากรู้  ถามเลยนะคะ
1. ทำไม AFS ถ้าเป็นโซนยุโรปต้องคำนวณดัชนีมวลกายBMI เกือบทั้งหมดเลยถ้าไม่ถึงเกณฑ์ผอมไปไม่เอา อย่างญี่ปุ่นก็ไม่เอาตัวใหญ่เอาตัวเล็กๆคือข้อปลีกย่อยมันเยอะแยะไปหมดพออ่านเจอ พี่พีราเลยมึน

การคำนวณดัชนีมวลกาย หรือ Body mass index (BMI) เป็นค่าดัชนีที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง ก็เหมือนการตรวจสุขภาพในเบื้องต้นครับ ซึ่งค่ามาตราฐานดัชนีมวลกายของ ชาวยุโรปกับชาวเอเชียก็จะแตกต่างกันอีกครับ(ในที่นี้เข้าใจว่าพี่พีราถืออยู่ในมือแล้ว ลองคำนวณดูครับ) ฝั่งยุโรปอาจจะมีค่าที่สูงกว่าเอเชีย คือถ้าเอาเทียบกับค่ามาตราฐานเอเชีย ลูกเราอาจจะเลยเกณฑ์นิดหน่อย ถือว่าอ้วน แต่ถ้าเอาค่ายุโรปมาใช้ ลูกเราจะพอดีเกณฑ์ได้ครับ เพราะอะไร เพราะทางฝั่งยุโรปเป็นประเทศเมืองหนาวต้องการชั้นไขมันและความสมบูรณ์ของร่างกายในการใช้ชีวิตนะครับ ดังนั้นค่ามาตราฐานของเอเชียเลยต่ำกว่าครับ เป็นที่มาของเด็กที่จะไปฝั่งยุโรปต้องเรียกน้ำหนักเพิ่มครับ

ปล. เรื่องข้อกำหนดด้านสุขภาพของแต่ละประเทศ ของแต่ละทุนก็จะมีส่วนที่กำหนดขึ้นมาแตกต่างกันนะครับ เช่น บางประเทศมีกำหนดเรื่องไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้นนะครับ

ลิงค์ครับ http://health.kapook.com/view86346.html
       ก่อนอื่นพี่พีรา ต้องขอขอบคุณอาจารย์พี่นุกอุตส่าห์หาข้อมูลมาอธิบายและให้รายละเอียด :sd23:  :sd23:  :sd23: คือที่สงสัยและข้องใจเพราะลูกสาวน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ตามค่าที่กำหนด พูดง่ายๆน้ำหนักน้อยไปเลือกโซนยุโรปไม่ได้เลย แต่ก็ยังเลือกนะคะเผื่อว่าติดจะได้พยายามเพิ่มน้ำหนักให้ทันเกณฑ์. แต่ก็ไม่ผ่านค่ะ  ซึ่งตอนผ่านข้อเขียนแล้วเลือกประเทศแต่ละประเทศข้อปลีกย่อยมันยุบยิบจุกจิกเยอะมาก. ไม่เอาคนมีรอยสักบ้าง ไม่เอาคนสูบบุหรี่ ไม่เอาคนตัวใหญ่ บลาๆเยอะมาก ยกตัวอย่าง อเมริกาถ้าเลือกคุณจะต้องพูดอังฤกษโต้ตอบกับคุณครูได้แบบคล่อง ต้องผ่านข้อเขียนก่อนนะคะถึงจะเห็นหัวข้อนี้ แล้วตอนนั้นที่อ่านดูเสริชดูมันไม่มีคำตอบให้เลยเป็นที่มาของการต้ังกระทู้ถาม ถามลูกเค้าก็บอกไม่รู้ จะให้โทรถามโครงการก็ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าได้รึป่าว ลูกสาวได้ประเทศจีนค่ะประเทศลำดับที่2 ที่เลือกซึ่งมันกว้างใหญ่ไพศาลมาก ยังไม่ได้ตัดสินใจค่ะอาจจะสละสิทธิ์. ที่ถามก็เป็นเหตุผลส่วนนึงที่ใช้ในการตัดสินใจ
2. บางโรงเรียนเทียบเกรดได้บางโรงเรียนเทียบไม่ได้กลับมาต้องซ้ำชั้นรึถ้าไม่อยากซ้ำต้องเปลี่ยนสายการเรียน...เอาอะไรวัดมาตฐานของแต่ละโรงเรียน...คือสงสัยมาก
       
ตรงนี้ต้องดูการรับรองมาตราฐานการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการหรือไม่ก็ สพฐ นะครับ ว่าอยู่ในลิสต์รายชื่อโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาหรือ สพฐ มั้ยนะครับ น่าจะคล้ายในระบบมหาวิทยาลัย แต่ผมเข้าใจว่าโรงเรียนจากทั่วโลกมันเยอะกว่ามหาวิทยาลัยอยู่มากโข กระทรวงศึกษาอาจจะยังรับรองได้ไม่หมด ทางที่ดีผมแนะนำให้ติดต่อกระทรวงศึกษาอีกทีครับ แล้วพี่พีราก็บอกลูกๆให้เก็บใบเกรดและใบรับรองเป็นภาษาอังกฤษกลับมาด้วยครับ อ๋อ ขอประวัติโรงเรียน ที่อยู่ที่ติดต่อให้ ผอโรงเรียนหรือผู้เกี่ยวข้องเซ็นต์ออกมาให้ด้วยก็ดีครับ เผื่อเอาไว้ขอเทียบได้ครับ
         
                  ข้อนี้ให้ลูกไปถามโรงเรียนมาลูกสาวบอกสายวิทย์ต้องซ้ำค่ะ ถ้าสายศิลป์ไม่ต้องซ้ำ ไม่งั้นไปแล้วกลับมาไม่อยากซ้ำต้องเปลี่ยนสาย แต่พี่พีราเห็นในเวปไซต์ถ้าเป็นนานาชาติ ที่มีสาขาเยอะในกทม.ไม่ต้องซ้ำ นี่แหละคือปัณหาค่ะลูกสาวไม่อยากซ้ำแต่อยากไป ต้องเลือก ถ้ากลับมาได้ภาษาแต่ความรู้ที่จะเอ็นท์  ไม่แน่น แล้วก็ไม่อยากเป็นเด็กซิ่ว. ต้ังใจจะไปสายหมอ

3.แต่ละโรงเรียนทำไมได้ประเทศไม่เท่ากันบางโรงเรียนได้หลายประเทศบางโรงเรียนได้แค่3ประเทศ....ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ข้อนี้ผมไม่ทราบข้อมูลที่แน่นอนครับ พี่พีราติดต่อทางโรงเรียนน่าจะได้ข้อมูลที่แท้จริงมากกว่านะครับ เบื้องต้นขอเดาไว้ก่อนว่าน่าจะเกี่ยว กับความร่วมมือ MOU กับทีไหนสักที หรือไม่ก็เกี่ยวกับที่โรงเรียนที่ลูกๆพี่พีราสังกัด เขารับรองให้ไป3ประเทศนี้เท่านั้นหรือเปล่าครับ
              โรงเรียนลูกมี16 ประเทศให้เลือกค่ะแต่ไม่มีแคนาดากับออสเตเลียประเทศที่อยากไป อีกโรงเรียนได้42ประเทศ อีกที่3ประเทศ คุณแม่เลยงงๆ เอาอะไรวัดนี่  :sd06:       

ขอบคุณพี่นุกมากค่ะพี่พีราใช้ประกอบการตัดสินใจ ทั้งหมดนี้ที่ต้ังคำถามเพราะยังไม่ได้เจอกับผู้ประสานงานโครงการนี้นะคะ คาดว่าจะเจอคงเสาร์นี้
Sent from my iPad using Tapatalk


--- อ้างจาก: พี่ทศ@KBI ที่  5 กรกฎาคม 2015, 09:09:36 ---
คงไม่มีอะไรครับ(ไม่มีเหตุผลที่ต้องลบ) มีอะไรก็สอบถามกันได้ครับ ผมก็เด็กบ้านนอกไม่ค่อยรู้เรื่องกับเขาเหมือนกัน
จบช่างมามีหน้าที่เรียนให้จบอย่างเดียว เรื่องทุนอะไรไม่ค่อยรู้สมัยผมไม่มีครับใช้ทุนพ่อแม่อย่างเดียว 555

ใครพอทราบช่วยตอบหน่อยนะครับ  ยังไงก็ขอศึกษาเผื่อนำไปใช้กับลูกครับ
 :sd23:

--- End quote ---
.     :D  :D นึกว่าลบไปแล้วไม่ได้เข้ามาเช็ค.... :L2758:

นุก (ปทุมธานี):
จากที่พี่พีราบอกว่าสายวิทย์ต้องซ้ำ. สายศิลป์ไท่ต้องซ้ำ

ก็น่าจะเป็นตามที่ผมเข้าใจครับ ไปต่างประเทศมันมีวิชาตัวภาษาให้เลือกเรียนเยอะครับ มีวิชาที่เทียบโอนได้แบบเต็มๆกว่าสายวิทย์อกละครับพี่พีรา

**ไม่ว่าจะได้ไปที่ไหนก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ ผมชอบประสบการณ์ต่างๆที่หาไม่ได้ในหเองเรียนมากกว่า ผมมักสนับสนุนเด็กๆนะครับให้เป็นเรียนรู้สิ่งต่างๆ
แต่ก็นั้นแหละครับ ความคิดผมมักสวนทางกับผู้ปกครองครับ คุณพ่อคุณแม่มักคิดว่าไปเรียนทำไมภาษา ไปทำไมเอเชียรอไปยุโรปดีกว่า ไปทำไมกลับมาซ้ำชั้น

***ผมก็ไม่เข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่ชาวไทยจะให้ลูกรีบเรียนไปทำไม พาสชั้นได้ยิ่งดี ไม่รู้จะรีบไปกองกันตกงานหรือไง
 ***ยาวไปหน่อยขอโทษครับ ฮ่าๆ บ่นส่วนตัวนิดหน่อยครับ เพราะทำมาหลายทุน เห็นเด็กๆผู้แกครองมาก็เยอะ บางครั้งเสียดายครับ
***พูดเพื่อแชร์เป็นข้อมูลนะครับ ไม่ได้บ่นพี่พีรานะครับ ฮ่าๆ ฝากพี่ๆพิจารณานะครับ พี่ๆมีกำลังกัน เลี้ยงลูกให้ลูกมีประสบการณ์นอกชั้นเรียนกันเยอะๆดีกว่าครับ

 :L4399:  :L4399:  :L4399:

นุก (ปทุมธานี):
ไหนๆก็แชร์ลงบอร์ดแล้วอารมณ์ค้างครับขออีกนิดครับ ฮ่าๆ

*ตอนสัมภาษณ์เข้ามหาลัยเหมือนกันครับ ผมจะชอบพูดคุยกับเด็กที่มี portfolio เยอะๆพวกที่มีกิจกรรมด้วย เรียนเด่น เด็กทีทำกิจกรรมมาจะเข้าสังคมได้ดีกว่า ชีวิตมหาลัยมีความสุขเพื่อนเยอะ กล้าคิดกล้าทำ และมักเข้าสู่ชีวิตการทำงานได้ดีกว่าเด็กที่เรียนๆๆแล้วก็เรียนๆๆครับ
**นี่ยังไม่รวมพวกที่เร่งจบอีก จบป.ตรี 20 ป.โท22 ป.เอก25 แล้วปล้วผู้ปกครองอย่างเราๆก็ชื่นชมกันว่าเก่งอย่างโน่นเก่งอย่างนี้เรียนไว ด้วยที่ไม่ได้ดูเนื้องานตอนจบเลยครับว่าได้สร้างอะไรใหม่ๆไว้ให้โลกวิชาการบ้าง สู่สั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆทำงานสักระยะแล้วไปเรียนโท ทำงานสักปีสองปีไปเรียนเอกดีกว่าแบบนี้เห็นสังคมเห็นองค์ความรู้ที่จะเอาไปสร้างผลงานได้ดีกว่าครับ
*** learning experiences เป็นสิ่งสำคัญครับ

 :sd23: :sd23: :sd23:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version