Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Performance Talks & Engine Modifications

Pajero sport HKS 230S จัดเต็มๆ

<< < (8/11) > >>

โบ๊ท[Sathu49]:

--- อ้างจาก: พี่ม่อน ที่ 21 สิงหาคม 2014, 20:09:52 ---ประเด็นนี้ถามมาแล้วครับ :sd10:
เซลส์บอกว่ายังรับประกันเหมือนเดิม  :L2736:  ยกเว้นเครื่องยนต์  :sd06:

--- End quote ---

 :sd06: :sd06:

พฏ:
 :L4365: ::) ::) ::)

พี่นะ [Na ratchada]:

--- อ้างจาก: กิต <Black Angel> ที่ 21 สิงหาคม 2014, 10:57:42 ---ไม่ทราบว่าในงานมีรถลักษณะเดียวกันแต่เป็นยี่ห้ออื่นที่ทางHKSให้ความสนใจนำไปmodifiedหรือเปล่าครับ  :L2761: แค่สงสัยว่าทำไมถึงเป็นน้องปาที่ถูกรับเลือก  :L2761: :L2761:

ส่วนเรื่องราคาก็ไปตามคุณภาพและแบรนด์สินค้า เข้าใจได้ครับ  :L2736:

ว่าแต่..........พี่นะช่วยเอาผล dyno test ของเจ้าแมวป่ามาลงให้ดูอีกรอบได้เปล่าครับ ตอนนั้นติดตั้งกล่องอะไรอยู่บ้าง ทำอะไรไปบ้าง เผื่อพี่ๆสมชจะพอ get idea  :L2758:

--- End quote ---


--- อ้างจาก: ย้ง บางซื่อ ที่ 21 สิงหาคม 2014, 21:48:58 --- :L6419:

เห็นกราฟแรงม้าที่พี่นะ นำมาเป็นตัวอย่างแล้ว มันจี๊ด จริงๆเลย

แรงบิดสูงสุดตั้งแต่ 1700-1800 รอบ คุณพระ แตะคันเร่งเบาๆก็มันแล้ว

--- End quote ---

คันที่พี่กิตบอกให้เอามาลง  นั้นแรงบิดสูงสุดมา 1415 RPM ครับ  แต่หย่อนจาก 7XX  ไปประมาณ 100 เองครับ    จังหวะออกตัวในเมืองหลวงทันใจดีมากครับ   จังหวะtakeช่วย  30-40 ขึ้นไปเร็วพอที่จะเสียบจังหวะรถเก๋งได้เลยด้วยเสียงรอบเครื่อง 2000+/-  เบาๆ     คงเป็นผลมาจากอัตราเร่งที่เร็วในรอบต่ำครับ

ตุ้ย - นนทบุรี:

--- อ้างจาก: หยก วาฬน้ำเงิน ที่ 21 สิงหาคม 2014, 18:34:28 ---หมายถึงแรงม้า+แรงบิดรึป่าวครับ :L2761:

--- End quote ---

ถูกต้องครับพี่หยก... ;D

พี่นะ [Na ratchada]:

--- อ้างจาก: ตุ้ย - นนทบุรี ที่ 21 สิงหาคม 2014, 18:07:34 ---
ขอบคุณมากครับพี่นะสำหรับข้อมูล แต่ขอสารภาพว่าผมใช้คำพิมพ์ไม่ชัดเจน............จริงๆแค่อยากทำรถตัวเองให้ได้ค่าแรงม้า และทอร์ค ตามไดโนเทส ที่พี่นะแนบให้ดูครับ  :sd23:

--- End quote ---
อ๋อ ขอบคุณสำหรับคำอธิบาย  :L2739:

เปรียบได้กลับพ่อครัวที่ทำต้มยำรสเด็ดเมนูเฉพาะทาง  เพราะแกคงชินและชำนาญกับการที่รู้ว่ามะนาวมีรสเปรี้ยว  น้ำปลามีรสเค็ม  น้ำตาลมีรสหวาน เกลือมีรสเค็มแต่เค็มลึกกว่าน้ำปลา  เครื่องแกงตะไคร้ใบมะกรูดนั้นเป็นสมุนไพรมีกลิ่นใส่มากก็ฉุน ใส่น้อยก็ไม่ถึงเครื่อง  หากใส่พอดีรสชาดจะกลมกล่อมประมาณให้ลูกค้าชิมแล้วพูดประมาณว่าเหมือนว่าจะใส่นั้นใส่นี่  หรือเหมือนว่าเขาเติมนั้นลงไปแต่ไม่แแน่ใจ   อีกทั้งผงชูรสที่มีคุณสมบัติที่ดีแต่หลายร้านมักเลี่ยง  หลายร้านมักประโคมใส่  แต่หากพ่อครัวคนนี้เอามาละลายน้ำตาลก่อนใส่จะทำให้รสชาดติดปลายลิ้นมากกว่า  เลยทำให้ภาพรวมออกมาพอเหมาะพอเจาะทั้งที่บางอย่างเอามาใส่เหมือนไม่ได้ใส่  แต่ต้องใส่เพราะมันมีจุดดีแต่ต้องการนิดเดียว   ในขณะที่พ่อครัวบางคนกลับพูดว่าใส่แบบนั้นอย่าใส่ดีกว่าเสียของจะใส่ทั้งทีอย่ากลัวเผ็ด อย่ากลัวรสจัด ท้องไม่เสียหรอกกินไปเถอะ ท้องเสียก็ไปขี้ กินต้มยำกลัวเผ็ดก็ไปสั่งแกงจืดกิน 5555    พ่อครัวคนนั้นนิน่าหยิกให้เนื้อเขียวจริงๆ 

-----------------------------------------------------------------------------------------

ตามความเข้าใจของผมที่พอจะอธิบายเพื่อนสมาชิก เกี่ยวกับกล่องแต่ละตัวให้พอมองเห็นภาพดังนี้

* กล่องดันราง : ช่วยเพิ่มอัตราเร่งของเครื่องยนต์  โดยการช่วยทำให้กล่อง ecu หลักจ่ายน้ำมันมากกว่าเดิมมาที่รางหัวฉีดเพิ่มสร้างแรงดันในราง ให้มวลของไอดีถูกอัดแน่นไปกว่าเดิมในการส่งไปสันดาป  และสร้างแรงดันร่วมในรางคอมมอลเรียวได้สูงกว่าปกติ

* ท้ายราง : ช่วยป้องกันและเป็นตัวระบายแรงดันในรางคอมมอลเรียว  ตามค่ากำหนดของท้ายรางว่าจะให้แรงดันสูงสุดในรางมีมากเท่าใดและจะคลายแรงดันเมื่อแรงดันในรางสูงถึงจุดใด

* กล่องคันเร่ง : ช่วยย่นระยะการกดคันเร่ง และสามารถแต่งทรงกราฟอัตราเร่งได้  แต่ไม่สามารถเพิ่มอัตราเร่งได้  สามารถปรับการตอบสนองของเครื่องยนต์ตามระยะกดคันเร่งเหมือนการแต่งทรงกราฟอัตราเร่งเทียม  แต่ก็ยังให้ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงต่อระยะที่กดคันเร่ง แต่ไม่ได้เพิ่มอัตราเร่ง

* หัวฉีดใหญ่:   ช่วยเพิ่มและขยายทางจ่ายน้ำมันและสร้างแรงบิดรอบต้นได้ง่าย  โดยที่บูสยังไม่ทำงานก็สามารถสร้างได้เพราะปริมาณน้ำมันที่ผ่านไปไปได้มากกว่า แต่ก็แลกมาด้วยการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ด้วยในช่วงที่บูสเทอร์โบยังไม่มากพอ  หากนำไปใช้กับรถที่มีการใส่กล่องดันราง จะทำให้มวลของไอดีที่ถูกควบแน่นด้วยแรงดันนั้นผ่านทางหัวฉีดได้สะดวกกว่า ในระยะเวลาจำกัดของระบบ จนไปสันดาปก็จะทำให้มวลของไอดีที่มานั้นมาได้มากกว่าปกติ (ทั้งนี้ต้องมาจากการคำนวณและสโตคน้ำมันตามค่าพิกัดของห้องเผาไหม้)ไม่ใช่การลองเปลี่ยนไล่เบอร์กันไปเรื่อยๆ  การทำงานจะทำงานได้ตลอดช่วงการทำงานของเครื่องยนต์

* กล่องยกหัวฉีด: อุปกรณ์ที่ช่วยให้กล่อง ecu หลักทำงานในจังหวะ pilot และ main inject ในจังหวะการฉีดของแต่ละจังหวะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม   หากเครื่องยนต์ตัวนั้นมีการดันรางเปลี่ยนหัวฉีดพอเจอตัวนี้เข้าไปอีกก็จะได้ตรงที่ผมใส่ตัวแดงในข้อหัวฉีดนั้นแหละ  มีผลทำให้เครื่องยนต์ได้แรงบิดยาวกว่าที่เรียกว่า power torque bandwidth มากกว่า  หรือภาษาช่างที่ชอบเรียกว่า power brand กว้าง   และมีผลตอบสนองถึงความเร็วปลายที่เพิ่มขึ้น  แต่ก็ต้องแลกด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ไปในช่วงนั้นๆด้วย 

*ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วว่าอะไรทำงานแบบไหน ช่วยอะไร  เราจะได้รู้ว่าเราควรมีอะไร  หรืออะไรยังไม่จำเป็น หรืออะไรควรมีมากน้อยเท่าไหร่  และที่สำคัญที่สุดคือ ใครทำให้กิน  และชอบกินร้านไหน  เชิญเลือกหา " ต้มยำดีเซล " กินกันตามสบายครับ  จะให้ใครต้ม หรือจะร่วมกันต้ม ก็อร่อยถูกปากเช่นกัน   

Note : การนำกล่องยกไปใช้เครื่องยนต์ที่ไม่มีการใส่กล่องดันรางหรือเปลี่ยนหัวฉีดก็สามารถทำได้แต่จะทำได้ถึงจุดจุดหนึ่งเท่านั้นเพราะมีข้อจำกัด  บางคำแนะนำอาจจะแนะนำให้เปลี่ยนตามหลังก็ได้ตอนนี้ให้ลองดูก่อน    *ฉะนั้นการแต่งรถหรือปรับเครื่องยนต์เราควรศึกษาก่อนว่าเราต้องการอะไรมาใส่ตรงไหนและต้องการอะไรเท่าไหร่    เริ่มจากแนวทางที่วางไว้แล้วแต่งตาม roadmap ที่แนะนำ   ไปตามลำดับเราจะได้รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงและคุณสมบัติของอุปกรณ์จริงๆ   อย่าย้อนขั้นตอนเพราะหากย้อนขั้นตอนนั้นคือการที่คุณทำแบบ Full Upgrade แต่ยังไม่สมบูรณ์และกว่าจะสมบูรณ์ก็คือการเติมไปเรื่อยๆจนจะหาคำว่าจบเจอนั่นแหละเพราะลงทุนไปแล้วจะถอยก็ไม่ได้ จะไปต้องต้องจ่าย  จะหยุดก็ครึ่งๆกลางๆ

 

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version