ผู้เขียน หัวข้อ: หนูขาวเข้าห้องทดลอง ... ตอนอะไหล่ในการเปลี่ยนสายพาน Timing  (อ่าน 93878 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธี สวนผัก

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 2,397
  • Like: 47
  • เพศ: ชาย
  • ความรักนั้นก็อดทนนาน และทนได้ต่อทุกอย่าง
อย่าลืมไปเหลาในห้อง ศูนย์บริการของAUTO ART ด้วยนะครับ
 :L2758:

 :L4399: ได้ครับพี่ต๋อง เดี๋ยวจะดำเนินการครับ

พี่ธี...อย่าลืมรีวิวรายการเป็นวิทยาทานด้วยน่ะจ๊ะ...เพราะจะได้เป็นแนวทางจัดต่อจร้า....คือตอนนี้ใกล้ระยะต้องเปลี่ยนเหมือนกัน   :L2758:

 :L2904: ครับพี่ปุ๊ แต่คงเป็นรายละเอียดของใบงานที่ศูนย์มีให้นะครับ เพราะผมสั่งกับน้องตาม Set หนูขาว ของพี่ตามครับ  :sd42:
ความรักนั้นก็อดทนนาน และกระทำคุณให้ ไม่คิดเห็นแก่ตัว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด และทนได้ต่อทุกอย่าง

ออฟไลน์ ตูมตาม

  • Founder Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 6,865
  • Like: 260
  • เพศ: ชาย
พี่ธีครับ เป็นห่วงนิดนึง เพราะพี่ธีจัดรายการชุดใหญ่ นั่นคือเปลี่ยนปั๊มน้ำด้วย ผมไม่แน่ใจว่าช่างได้ไล่อากาศในระบบไว้ดีแค่ไหน  และพี่ธีไม่มี SMG ซะด้วย ... แต่เข้าใจว่ามี Water Temp วัดอยู่ ขอให้สังเกตุระดับความร้อนด้วยนะครับในการใช้งาน หากมีอาการความร้อนขึ้นวูบวาบ คงต้องมาไล่อากาศกันอีกรอบนะครับ

 :L4399: :L4399:
We are put in situations to build our characters, not to destroy us.

ออฟไลน์ Goodboy

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 2,813
  • Like: 35
  • เพศ: ชาย
พี่ธีครับ เป็นห่วงนิดนึง เพราะพี่ธีจัดรายการชุดใหญ่ นั่นคือเปลี่ยนปั๊มน้ำด้วย ผมไม่แน่ใจว่าช่างได้ไล่อากาศในระบบไว้ดีแค่ไหน  และพี่ธีไม่มี SMG ซะด้วย ... แต่เข้าใจว่ามี Water Temp วัดอยู่ ขอให้สังเกตุระดับความร้อนด้วยนะครับในการใช้งาน หากมีอาการความร้อนขึ้นวูบวาบ คงต้องมาไล่อากาศกันอีกรอบนะครับ

 :L4399: :L4399:
พี่ตามครับผมขออนุญาตถามแบบไม่รู้จริงๆๆนะครับ ที่ว่า "คงต้องมาไล่อากาศกันอีกรอบนะครับ" นี่คือ แม้เราดำเนินการกับศูนย์แล้ว แต่เพื่อความชัวร์ เรามาไล่อากาศกันอีกรอบ อันนี้มันทำได้ด้วยหรือไม่อย่างไร เพียงใดครับ ขอบพระคุณพี่ตามครับสำหรับข้อมูล
ด้วยความนับถืออย่างสูงครับ :sd23: :sd23: :sd23:
Pamania so good

ออฟไลน์ ธี สวนผัก

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 2,397
  • Like: 47
  • เพศ: ชาย
  • ความรักนั้นก็อดทนนาน และทนได้ต่อทุกอย่าง
พี่ธีครับ เป็นห่วงนิดนึง เพราะพี่ธีจัดรายการชุดใหญ่ นั่นคือเปลี่ยนปั๊มน้ำด้วย ผมไม่แน่ใจว่าช่างได้ไล่อากาศในระบบไว้ดีแค่ไหน  และพี่ธีไม่มี SMG ซะด้วย ... แต่เข้าใจว่ามี Water Temp วัดอยู่ ขอให้สังเกตุระดับความร้อนด้วยนะครับในการใช้งาน หากมีอาการความร้อนขึ้นวูบวาบ คงต้องมาไล่อากาศกันอีกรอบนะครับ

 :L4399: :L4399:

ขอบคุณมากๆครับพี่ตาม จะลองสังเกตุดูครับผม  :L2734:
ความรักนั้นก็อดทนนาน และกระทำคุณให้ ไม่คิดเห็นแก่ตัว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด และทนได้ต่อทุกอย่าง

ออฟไลน์ ธี สวนผัก

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 2,397
  • Like: 47
  • เพศ: ชาย
  • ความรักนั้นก็อดทนนาน และทนได้ต่อทุกอย่าง
รายการใบงานและค่าใช้จ่ายครับประมาณนี้






กองอะหลั่ยบางส่วน


น้ำยาหม้อน้ำมิตซูตลอด 3 ปีกว่าๆ


เท่านี้ครับ  :sd23:
ความรักนั้นก็อดทนนาน และกระทำคุณให้ ไม่คิดเห็นแก่ตัว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด และทนได้ต่อทุกอย่าง

ออฟไลน์ พีท < Pitt Za >

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 414
  • Like: 4
  • เพศ: ชาย
สบายใจ สบายกระเป๋าไปเลยไหมครับพี่ธี  :L2888: :L2734: :L2734:
กิจการ : บริการ พรบ., ประกันภัยรถยนต์และต่อภาษี ; ติดต่อตามที่นี่ : http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,3900.0.html
ติดต่อ: พิทยา (Pitt Za) ;Tel  098-6596364 ; Line ID: GRACEANDGUSS ; e-mail: Hi_Daw@hotmail.com

ออฟไลน์ ตูมตาม

  • Founder Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 6,865
  • Like: 260
  • เพศ: ชาย
พี่ตามครับผมขออนุญาตถามแบบไม่รู้จริงๆๆนะครับ ที่ว่า "คงต้องมาไล่อากาศกันอีกรอบนะครับ" นี่คือ แม้เราดำเนินการกับศูนย์แล้ว แต่เพื่อความชัวร์ เรามาไล่อากาศกันอีกรอบ อันนี้มันทำได้ด้วยหรือไม่อย่างไร เพียงใดครับ ขอบพระคุณพี่ตามครับสำหรับข้อมูล
ด้วยความนับถืออย่างสูงครับ :sd23: :sd23: :sd23:

การไล่อากาศออกจากระบบสามารถทำได้ และเป็นเรื่องที่ควรทำครับ เพียงแต่ช่างศูนย์เท่าที่ผมเคยเห็นนะครับ ไม่ค่อยจะทำกัน ต้องกำชับกันเป็นมั่นเหมาะว่าต้องทำให้ด้วย บางครั้งต่อให้กำชับแล้วก็ทำครับ แต่ก็ไล่ออกไม่ค่อยจะหมด

จริงๆระบบเครื่องยนต์ของเรามันสามารถไล่อากาศออกจากระบบได้ในตัวอยู่แล้วนะครับ ... ลองนึกภาพของเครื่องยนต์ ใช้น้ำระบายความร้อน น้ำไหลเข้าเครื่องจากด้านบน ไหลผ่านเครื่องลงด้านล่าง หอบเอาความร้อนจากเครื่อง วิ่งผ่านปั๊มน้ำ ผ่านวาล์วน้ำ เข้าไปที่หม้อน้ำ ถ่ายเทความร้อนที่หม้อน้ำ แล้วก็วิ่งขึ้นไปข้างบนเพื่อไหลกลับเข้าเครื่องอีกครั้ง ... ระบบนี้เป็นระบบปิดนะครับ ไม่สามารถมีอากาศเข้าไปในระบบได้ หรือถ้าเข้าได้ก็น้อยมากๆ

ทีนี้พอเราเปลี่ยนถ่ายน้ำในหม้อน้ำ ตอนเราเปลี่ยน เราจะเปลี่ยนตอนเครื่องเย็น นั่นหมายความว่าวาล์วน้ำจะปิดอยู่ ... การเปลี่ยนถ่ายทำได้โดยเปิดน็อตถ่ายที่ด้านล่างหม้อน้ำ เมื่อเปิดแล้วน้ำก็จะไหลออกมาจากหม้อน้ำ แต่เนื่องจากวาล์วน้ำปิดอยู่ ดังนั้นน้ำที่ยังคงอยู่ในเครื่องยนต์จะไม่ไหลออกมาด้วย นั่นหมายความว่าถ้าเราถ่ายน้ำยาหม้อน้ำตามปกติ เราจะถ่ายออกประมาณค่อนนึง คือส่วนที่อยู่ในหม้อน้ำ และของเดิมจะเหลืออยู่อีกส่วนหนึ่ง คือส่วนที่อยู่ในเครื่องยนต์

เมื่อเราถ่ายน้ำออกมา สิ่งที่เข้าไปแทนที่คืออากาศ เมื่อเราเติมน้ำใหม่ลงไป อากาศที่อยู่ด้านล่างของหม้อน้ำจะไม่มีทางไป เพราะด้านนึงถูกกั้นไว้ด้วยวาล์วน้ำ ส่วนด้านบนมีน้ำที่เราเติมไปใหม่กดลงมา อากาศส่วนนี้แหละครับที่เราต้องไล่ออกไป เพราะถ้าไม่ไล่มันจะไหลเวียนอยู่ในระบบน้ำ จนกว่าจะถึงระดับหนึ่งแล้วเครื่องถึงจะสามารถไล่ออกมาเองได้

เครื่องไล่อากาศออกมาได้อย่างไร ..... เมื่อเราเติมน้ำเข้าไปในหม้อน้ำ อากาศด้านล่างยังคงอยู่ หากเราไม่ไล่ออกไป มันจะคงอยู่อย่างนั้น ทีนี้พอเราสตาร์ทรถ และใช้งาน ระบบน้ำจะเวียนไปแบบปกติ และสิ่งที่เวียนไปกับน้ำด้วยก็คืออากาศ เพราะแรงดันของน้ำก็จะดันให้อากาศเคลื่อนที่ไปด้วย .... อย่างที่ผมบอก มันคือระบบปิด อากาศมันออกไม่ได้ .... แต่เครื่องยนต์มีการออกแบบเป็นเป็นระบบเปิดเพื่อระบายแรงดัน .... ตัวระบายแรงดันก็คือฝาหม้อน้ำ .... นั่นคือเมื่อความร้อนสูงขึ้น แรงดันน้ำในระบบมากขึ้น จนถึงระดับหนึ่ง จะดันให้ฝาหม้อน้ำเปิด เพื่อระบายแรงดัน และน้ำบางส่วนออกไปที่หม้อพักน้ำสำรอง .... และจังหวะนี้เองที่สามารถระบายอากาศออกไปได้ด้วย ถ้าอากาศมาอยู่ในตำแหน่งของฝาหม้อน้ำพอดี

สมมติว่าอากาศที่ค้างอยู่วิ่งวนมาอยู่ตรงฝาหม้อน้ำพอดีตอนฝาเปิด อากาศก็จะถูกดันออกไปทางสายยางเล็กๆ ไปที่หม้อพัก ปริมาตรน้ำ+อากาศในระบบจะลดลง แรงดันลดลง ฝาหม้อน้ำก็ปิด และน้ำในหม้อพักก็จะถูกดูดจากด้านล่างเข้ามาในระบบแทน

ด้วยหลักการแบบนี้ เวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหม้อน้ำ ช่างศูนย์จึงชอบเติมน้ำในหม้อพักไว้ให้เยอะๆ เพราะเผื่อไว้ว่าเวลาอากาศระบายออกมาแล้ว จะมีน้ำดูดเข้าไปแทนที่ แบบนี้ไม่ต้องไล่อากาศให้เหนื่อยครับ แค่เติมน้ำไว้เยอะๆในหม้อพักก็พอ เจ้าของรถเอาไปใช้ก็ไม่รู้หรอกว่ามันมีอากาศอยู่ในระบบ

แต่ถ้ารถคันไหนมี SMG เวลาไม่ไล่อากาศออกจากระบบ จะเห็นระดับความร้อนขึ้นลงผิดปกติ เนื่องจากอากาศที่ค้างอยู่ในระบบ ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนจากเครื่องได้ดีเท่าน้ำ ดังนั้นในเครื่องยนต์ที่อากาศไหลผ่านไปจะไม่สามารถถ่ายเทความร้อนออกมาได้ ความร้อนก็จะสะสมไว้เยอะ จนเมื่อน้ำวิ่งผ่านไปทีนี้พอความร้อนมาเยอะ น้ำก็ไประบายความร้อนให้หม้อน้ำไม่ทัน ทำให้ความร้อนที่เห็นจาก SMG มันจะดูผิดปกติ

นอกจากนั้นไอ้ระบบเติมน้ำไว้ในหม้อพักเยอะๆนั้น อย่างที่บอกครับ มันต้องรอให้อากาศวิ่งวนมาอยู่ตรงฝาหม้อน้ำพอดี มันถึงจะออกไปได้ ถ้าเกิดตอนมันวิ่งผ่านมาฝาหม้อน้ำดันไม่เปิด มันก็วิ่งวนกลับเข้าไปในเครื่องอยู่ดี ต้องรอจนฝาหม้อน้ำเปิดแล้ววิ่งวนมาใหม่อีกรอบ หรืออีกไม่รู้กี่รอบถึงจะพอดี ฝาหม้อน้ำปกติของน้องปา จะเปิดที่แรงดัน 1.1 บาร์ หรือถ้าคำนวนเป็นอุณหภูมิจะเปิดที่ความร้อนอยู่ประมาณ 95-96 องศา ดังนั้นถ้าจะระบายอากาศด้วยวิธีนี้ต้องใช้รถให้อยู่ในระดับความร้อนแบบนี้อยู่ซักระยะหนึ่งครับ อาจต้องใช้เวลาหลายวันกว่าอากาศจะหมด เพราะไม่ใช่ทุกครั้งที่ฝาหม้อน้ำเปิดจะระบายอากาศออกมาได้
We are put in situations to build our characters, not to destroy us.

ออฟไลน์ ตูมตาม

  • Founder Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 6,865
  • Like: 260
  • เพศ: ชาย
ทีนี้การไล่อากาศต้องทำยังไง

หลักการง่ายๆครับ คือทำให้ระบบไหลเวียนของน้ำเป็นระบบเปิด จนกว่าอากาศจะออกมาแล้วเป็นส่วนใหญ่แล้วค่อยปิด ... การทำให้ระบบเป็นระบบเปิดทำได้ง่ายๆคือ เปิดฝาหม้อน้ำทิ้งไว้แล้วสตาร์ทรถ เมื่อเปิดฝาหม้อน้ำไว้ ทำให้ไม่ต้องรอให้ฝาหม้อน้ำเปิดนะครับ คืออากาศวนมาเมื่อไหร่มันก็ออกไปได้เลย แต่ถ้าเราเปิดไว้เฉยๆ พออากาศออกไป น้ำมันเข้าแทนที่ไม่ทัน ระบบก็จะดูดอากาศกลับเข้าไปใหม่ ดังนั้นวิธีการที่ใช้กันก็คือ คือกรวยใส่น้ำอุดไว้ที่ช่องบนของหม้อน้ำ เมื่ออากาศออกมาระบบก็จะดูดเอาน้ำในกรวยเข้าไปแทนที่ หรือจะใช้ขวดน้ำพลาสติกก็ได้นะครับ

การไล่อากาศแบบนี้จะบังคับให้อากาศออกจากระบบเร็วกว่าปล่อยให้มันระบายออกมาเอง ป้องกันปัญหาเรื่องความร้อนผิดปกติจากการที่มีอากาศเหลืออยู่ในระบบ แต่การจะทำอย่างนี้ถ้ามี SMG จะช่วยได้ครับ เพราะอากาศจะถูกดันออกมาได้ต้องตอนที่วาล์วน้ำเปิดเท่านั้น ถ้าวาล์วน้ำปิดอยู่ น้ำจะไม่วนเข้ามาที่หม้อน้ำ แต่จะวนไปมาอยู่ภายในเครื่องไม่ออกมา ดังนั้นอากาศภายในที่ค้างอยู่ด้านล่างหม้อน้ำจะไม่ถูกน้ำดันออกมาเมื่อวาล์วน้ำปิดอยู่ การมี SMG จะทำให้เรารู้ระดับความร้อน ณ ขณะนั้น และรู้ว่าต้องไล่ไปถึงความร้อนระดับใด

ความร้อนที่วาล์วน้ำจะเปิดคือ 82องศา ... แต่กว่าที่น้ำจะดันอากาศออกมาได้อาจต้องรอจนถึงประมาณ 85องศา ... ถ้ารู้ระดับความร้อนแบบนี้ก็ง่ายครับ ดูที่ SMG ไว้ เมื่อใกล้ๆ 85 ก็มาคอยดูอากาศที่ออกมา .... แต่ถ้าไม่มี SMG ต่อให้รู้หลักการ ... ลองนึกภาพดูครับ แล้วจะรู้ระดับความร้อนที่วาล์วน้ำเปิดได้ยังงัย .... ถ้าไม่มี SMG ช่างก็สตาร์ทไปเรื่อยๆครับ หยุดเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ขี้เกียจแล้วก็หยุด ความร้อนจะได้ระดับที่ระบายอากาศได้หรือยังก็ไม่รู้ .... นี่คืออีกเหตุหนึ่งที่ผมมักแนะนำให้หา SMG มาติดไว้ ไม่ว่าจะมีการปรับแต่งหรือไม่นะครับ

ทั้งหมดที่เล่ามาคือการถ่ายน้ำจากหม้อน้ำเท่านั้น .... ย้ำอีกครั้งว่าการถ่ายน้ำจากหม้อน้ำ น้ำในเครื่องยังไม่อยู่นะครับ .... ลองนึกดูว่าถ้าเป็นการเปลี่ยนวาล์วน้ำ หรือเปลี่ยนปั๊มน้ำ ซึ่งจะทำให้น้ำในเครื่องไหลออกมาทั้หมดด้วย ..... นั่นแปลว่าในระบบไม่มีน้ำเหลืออยู่เลย .... ไม่เหลือเลยจริงๆนะครับ .... พอประกอบทุกอย่างกลับเข้าที่ ต่อให้เติมน้ำเข้าไป นึกดูเอาเองละกันครับว่าในระบบมีอากาศอยู่มากขนาดไหน .... แล้ว้ถ้าไม่ไล่อากาศให้ดีจะเกิดอะไรขึ้น

ฝาโก่งหรือไม่ บางครั้งก็ขึ้นกับจังหวะแบบนี้แหละครับ

 :sd23: :sd23:
We are put in situations to build our characters, not to destroy us.

ออฟไลน์ ธี สวนผัก

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 2,397
  • Like: 47
  • เพศ: ชาย
  • ความรักนั้นก็อดทนนาน และทนได้ต่อทุกอย่าง
 :sd23: ขอบคุณพี่ตามในข้อมูลมากๆครับ ผมจะสังเกตุอาการของรถ และสอบถามน้องช่างที่ศูนย์วันนั้นด้วยครับ  :sd23:
ความรักนั้นก็อดทนนาน และกระทำคุณให้ ไม่คิดเห็นแก่ตัว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด และทนได้ต่อทุกอย่าง

ออฟไลน์ Goodboy

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 2,813
  • Like: 35
  • เพศ: ชาย
ขอบคุณพี่ตามมากครับ :sd23: :sd23: :sd23:
Pamania so good

ออฟไลน์ พี่จิรศิษฏ์

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 178
  • Like: 36
  • เพศ: ชาย
  • มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มีสรรเสริญมีนินทา

ออฟไลน์ ปุ๊...kbo

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 1,307
  • Like: 25
  • เพศ: หญิง
รายการใบงานและค่าใช้จ่ายครับประมาณนี้






กองอะหลั่ยบางส่วน


น้ำยาหม้อน้ำมิตซูตลอด 3 ปีกว่าๆ


เท่านี้ครับ  :sd23:

 :L4399:  :L2758: ขอบคุณคะพี่ธี...สำหรับข้อมูลรายการ....เผื่อเป็นข้อมูลในการเปลี่ยนของปุ๊ในวันครบแสนโล...




ทีนี้การไล่อากาศต้องทำยังไง

หลักการง่ายๆครับ คือทำให้ระบบไหลเวียนของน้ำเป็นระบบเปิด จนกว่าอากาศจะออกมาแล้วเป็นส่วนใหญ่แล้วค่อยปิด ... การทำให้ระบบเป็นระบบเปิดทำได้ง่ายๆคือ เปิดฝาหม้อน้ำทิ้งไว้แล้วสตาร์ทรถ เมื่อเปิดฝาหม้อน้ำไว้ ทำให้ไม่ต้องรอให้ฝาหม้อน้ำเปิดนะครับ คืออากาศวนมาเมื่อไหร่มันก็ออกไปได้เลย แต่ถ้าเราเปิดไว้เฉยๆ พออากาศออกไป น้ำมันเข้าแทนที่ไม่ทัน ระบบก็จะดูดอากาศกลับเข้าไปใหม่ ดังนั้นวิธีการที่ใช้กันก็คือ คือกรวยใส่น้ำอุดไว้ที่ช่องบนของหม้อน้ำ เมื่ออากาศออกมาระบบก็จะดูดเอาน้ำในกรวยเข้าไปแทนที่ หรือจะใช้ขวดน้ำพลาสติกก็ได้นะครับ

การไล่อากาศแบบนี้จะบังคับให้อากาศออกจากระบบเร็วกว่าปล่อยให้มันระบายออกมาเอง ป้องกันปัญหาเรื่องความร้อนผิดปกติจากการที่มีอากาศเหลืออยู่ในระบบ แต่การจะทำอย่างนี้ถ้ามี SMG จะช่วยได้ครับ เพราะอากาศจะถูกดันออกมาได้ต้องตอนที่วาล์วน้ำเปิดเท่านั้น ถ้าวาล์วน้ำปิดอยู่ น้ำจะไม่วนเข้ามาที่หม้อน้ำ แต่จะวนไปมาอยู่ภายในเครื่องไม่ออกมา ดังนั้นอากาศภายในที่ค้างอยู่ด้านล่างหม้อน้ำจะไม่ถูกน้ำดันออกมาเมื่อวาล์วน้ำปิดอยู่ การมี SMG จะทำให้เรารู้ระดับความร้อน ณ ขณะนั้น และรู้ว่าต้องไล่ไปถึงความร้อนระดับใด

ความร้อนที่วาล์วน้ำจะเปิดคือ 82องศา ... แต่กว่าที่น้ำจะดันอากาศออกมาได้อาจต้องรอจนถึงประมาณ 85องศา ... ถ้ารู้ระดับความร้อนแบบนี้ก็ง่ายครับ ดูที่ SMG ไว้ เมื่อใกล้ๆ 85 ก็มาคอยดูอากาศที่ออกมา .... แต่ถ้าไม่มี SMG ต่อให้รู้หลักการ ... ลองนึกภาพดูครับ แล้วจะรู้ระดับความร้อนที่วาล์วน้ำเปิดได้ยังงัย .... ถ้าไม่มี SMG ช่างก็สตาร์ทไปเรื่อยๆครับ หยุดเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ขี้เกียจแล้วก็หยุด ความร้อนจะได้ระดับที่ระบายอากาศได้หรือยังก็ไม่รู้ .... นี่คืออีกเหตุหนึ่งที่ผมมักแนะนำให้หา SMG มาติดไว้ ไม่ว่าจะมีการปรับแต่งหรือไม่นะครับ

ทั้งหมดที่เล่ามาคือการถ่ายน้ำจากหม้อน้ำเท่านั้น .... ย้ำอีกครั้งว่าการถ่ายน้ำจากหม้อน้ำ น้ำในเครื่องยังไม่อยู่นะครับ .... ลองนึกดูว่าถ้าเป็นการเปลี่ยนวาล์วน้ำ หรือเปลี่ยนปั๊มน้ำ ซึ่งจะทำให้น้ำในเครื่องไหลออกมาทั้หมดด้วย ..... นั่นแปลว่าในระบบไม่มีน้ำเหลืออยู่เลย .... ไม่เหลือเลยจริงๆนะครับ .... พอประกอบทุกอย่างกลับเข้าที่ ต่อให้เติมน้ำเข้าไป นึกดูเอาเองละกันครับว่าในระบบมีอากาศอยู่มากขนาดไหน .... แล้ว้ถ้าไม่ไล่อากาศให้ดีจะเกิดอะไรขึ้น

ฝาโก่งหรือไม่ บางครั้งก็ขึ้นกับจังหวะแบบนี้แหละครับ

 :sd23: :sd23:

 :sd23:  :L2758: สำหรับข้อมูลความรู้ดีๆ  :L6428:  :L6428: ขอบคุณคะ...

ออฟไลน์ พี่นะ [Na ratchada]

  • Founder Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 14,896
  • Like: 435
  • นิยามของคำว่าพักผ่อน "กระเป๋าแหก"

ด้วยหลักการแบบนี้ เวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหม้อน้ำ ช่างศูนย์จึงชอบเติมน้ำในหม้อพักไว้ให้เยอะๆ เพราะเผื่อไว้ว่าเวลาอากาศระบายออกมาแล้ว จะมีน้ำดูดเข้าไปแทนที่ แบบนี้ไม่ต้องไล่อากาศให้เหนื่อยครับ แค่เติมน้ำไว้เยอะๆในหม้อพักก็พอ เจ้าของรถเอาไปใช้ก็ไม่รู้หรอกว่ามันมีอากาศอยู่ในระบบ

แต่ถ้ารถคันไหนมี SMG เวลาไม่ไล่อากาศออกจากระบบ จะเห็นระดับความร้อนขึ้นลงผิดปกติ เนื่องจากอากาศที่ค้างอยู่ในระบบ ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนจากเครื่องได้ดีเท่าน้ำ ดังนั้นในเครื่องยนต์ที่อากาศไหลผ่านไปจะไม่สามารถถ่ายเทความร้อนออกมาได้ ความร้อนก็จะสะสมไว้เยอะ จนเมื่อน้ำวิ่งผ่านไปทีนี้พอความร้อนมาเยอะ น้ำก็ไประบายความร้อนให้หม้อน้ำไม่ทัน ทำให้ความร้อนที่เห็นจาก SMG มันจะดูผิดปกติ


ขอเพิ่มข้อมูลจากพี่ตามอีกนิด  กรณีที่ผมเน้นไว้นั้นมีข้อดีและข้อเสียดังนี้

ข้อดี : การเติมน้ำไว้เผื่อระยะด้วยประสบการณ์ทางทฤษฏี  กับ spec หม้อน้ำเดิมคือเติมเผื่อไว้ประมาณ 600-900 cc ในหม้อพัก  ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็น เพื่อลดเวลาการทำงานของช่าง   เพื่อหวังในระบบทำงานปกติและดูดน้ำเข้าไปเองจนระดับน้ำปกติที่ขีด max

ข้อเสีย : การระบายความร้อนของระบบลดลงอยากมาก  ความร้อนสูงผิดปกติในการทำงานเมื่อใช้งาน โดยที่เข็มแสดงความร้อนไม่แสดงอาการ  เนื่องจากอากาศถูกแทรกตัวอยู่ในน้ำมากจึงไม่สามารถถ่ายเทความร้อนของระบบได้ดี  จนกว่าฝาหม้อน้ำจะร้อนจนเปิดและคลายแรงดันออกไปที่หม้อพักน้ำและระบบแวคคั่มที่เกิดภายในจะต้องดูดอากาศกลับแต่อาศัยจังหวะแบบนี้ดูดน้ำกลับมาเติมในระบบแทน   จนกว่าจะเต็มระบบ  มีผลให้การระบายความร้อนจะไม่ปกติภายใน 2-3 วันหลังนำรถออกมาจากศูนย์บริการ

ข้อควรระวัง : กรณีแบบนี้หากนำรถไปใช้แบบปกติในคนที่ขับรถเร็ว  ความร้อนจะสูงมากจนระบบจะดันน้ำล้นออกจากหม้อพักน้ำหกเลอะไปทั่วรถจนนึกว่าประเก็นเล็บน้ำดันเช่นรถผมเป็นต้น   หรือกรณีที่เรามีการเปลี่ยนหม้อน้ำใหญ่กว่าสเปคเดิมช่างจะคำนวณผิดผลาดซึ่งผมก็โดนมาแล้วเช่นกัน  นองเครื่องไปหมดจนต้องมาไล่อากาศใหม่เองอีกครั้ง   แต่ก็ไม่ได้โทษช่างในการคำนวณแต่สงสัยว่าทำไมช่างไม่ยอมใช้วิธีไล่อากาศแบบร้านหม้อน้ำเท่านั้นเอง
ขอต้อนรับสมาชิกใหม่ทุกท่าน เรียนรู้ปามาเนีย โปรดอ่านที่linkด้านล่าง
http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,1688.0.html

ออฟไลน์ ต๋อง_มาบตาพุด

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 135
  • Like: 1
  • เพศ: ชาย
  • ตังค์น้อย ค่อยๆ แหก
 :sd23:มาเก็บข้อมูลครับ :L2900:

ออฟไลน์ นายอ้น

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 107
  • Like: 0
  • เพศ: ชาย
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ พี่ๆ

ออฟไลน์ Goodboy

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 2,813
  • Like: 35
  • เพศ: ชาย
ขอเพิ่มข้อมูลจากพี่ตามอีกนิด  กรณีที่ผมเน้นไว้นั้นมีข้อดีและข้อเสียดังนี้

ข้อดี : การเติมน้ำไว้เผื่อระยะด้วยประสบการณ์ทางทฤษฏี  กับ spec หม้อน้ำเดิมคือเติมเผื่อไว้ประมาณ 600-900 cc ในหม้อพัก  ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็น เพื่อลดเวลาการทำงานของช่าง   เพื่อหวังในระบบทำงานปกติและดูดน้ำเข้าไปเองจนระดับน้ำปกติที่ขีด max

ข้อเสีย : การระบายความร้อนของระบบลดลงอยากมาก  ความร้อนสูงผิดปกติในการทำงานเมื่อใช้งาน โดยที่เข็มแสดงความร้อนไม่แสดงอาการ  เนื่องจากอากาศถูกแทรกตัวอยู่ในน้ำมากจึงไม่สามารถถ่ายเทความร้อนของระบบได้ดี  จนกว่าฝาหม้อน้ำจะร้อนจนเปิดและคลายแรงดันออกไปที่หม้อพักน้ำและระบบแวคคั่มที่เกิดภายในจะต้องดูดอากาศกลับแต่อาศัยจังหวะแบบนี้ดูดน้ำกลับมาเติมในระบบแทน   จนกว่าจะเต็มระบบ  มีผลให้การระบายความร้อนจะไม่ปกติภายใน 2-3 วันหลังนำรถออกมาจากศูนย์บริการ

ข้อควรระวัง : กรณีแบบนี้หากนำรถไปใช้แบบปกติในคนที่ขับรถเร็ว  ความร้อนจะสูงมากจนระบบจะดันน้ำล้นออกจากหม้อพักน้ำหกเลอะไปทั่วรถจนนึกว่าประเก็นเล็บน้ำดันเช่นรถผมเป็นต้น   หรือกรณีที่เรามีการเปลี่ยนหม้อน้ำใหญ่กว่าสเปคเดิมช่างจะคำนวณผิดผลาดซึ่งผมก็โดนมาแล้วเช่นกัน  นองเครื่องไปหมดจนต้องมาไล่อากาศใหม่เองอีกครั้ง   แต่ก็ไม่ได้โทษช่างในการคำนวณแต่สงสัยว่าทำไมช่างไม่ยอมใช้วิธีไล่อากาศแบบร้านหม้อน้ำเท่านั้นเอง
:sd23: :L2758: :sd23: :L2758:
Pamania so good

ออฟไลน์ ปุ๊...kbo

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 1,307
  • Like: 25
  • เพศ: หญิง
ขอเพิ่มข้อมูลจากพี่ตามอีกนิด  กรณีที่ผมเน้นไว้นั้นมีข้อดีและข้อเสียดังนี้

ข้อดี : การเติมน้ำไว้เผื่อระยะด้วยประสบการณ์ทางทฤษฏี  กับ spec หม้อน้ำเดิมคือเติมเผื่อไว้ประมาณ 600-900 cc ในหม้อพัก  ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาหล่อเย็น เพื่อลดเวลาการทำงานของช่าง   เพื่อหวังในระบบทำงานปกติและดูดน้ำเข้าไปเองจนระดับน้ำปกติที่ขีด max

ข้อเสีย : การระบายความร้อนของระบบลดลงอยากมาก  ความร้อนสูงผิดปกติในการทำงานเมื่อใช้งาน โดยที่เข็มแสดงความร้อนไม่แสดงอาการ  เนื่องจากอากาศถูกแทรกตัวอยู่ในน้ำมากจึงไม่สามารถถ่ายเทความร้อนของระบบได้ดี  จนกว่าฝาหม้อน้ำจะร้อนจนเปิดและคลายแรงดันออกไปที่หม้อพักน้ำและระบบแวคคั่มที่เกิดภายในจะต้องดูดอากาศกลับแต่อาศัยจังหวะแบบนี้ดูดน้ำกลับมาเติมในระบบแทน   จนกว่าจะเต็มระบบ  มีผลให้การระบายความร้อนจะไม่ปกติภายใน 2-3 วันหลังนำรถออกมาจากศูนย์บริการ

ข้อควรระวัง : กรณีแบบนี้หากนำรถไปใช้แบบปกติในคนที่ขับรถเร็ว  ความร้อนจะสูงมากจนระบบจะดันน้ำล้นออกจากหม้อพักน้ำหกเลอะไปทั่วรถจนนึกว่าประเก็นเล็บน้ำดันเช่นรถผมเป็นต้น   หรือกรณีที่เรามีการเปลี่ยนหม้อน้ำใหญ่กว่าสเปคเดิมช่างจะคำนวณผิดผลาดซึ่งผมก็โดนมาแล้วเช่นกัน  นองเครื่องไปหมดจนต้องมาไล่อากาศใหม่เองอีกครั้ง   แต่ก็ไม่ได้โทษช่างในการคำนวณแต่สงสัยว่าทำไมช่างไม่ยอมใช้วิธีไล่อากาศแบบร้านหม้อน้ำเท่านั้นเอง

 :L2758:  :L2758:  :L2758:  ขอบคุณจร้าพี่นะ... :L2900:  :L6428:  :L6428:  :L6428:

ออฟไลน์ กวาง ทองหล่อ

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 23
  • Like: 1
  • เพศ: ชาย
ของผมก็ใกล้แสนโลแล้วขอขอบคุณคำแนะนำพี่ๆทุกคนครับ :L2904: :L2900:

ออฟไลน์ พี่ต้น

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 479
  • Like: 28
  • เพศ: ชาย
  • " ความสุข" มีความหมาย..ก็ต่อเมื่อได้..."แบ่งปัน"
:L4399: :L4399:   
อะไหล่ ตัวที่ผมเปลื่ยน ดู part number ไม่มีในรายการของพี่ตามเลยครับ

ออฟไลน์ กอบ บางพลัด

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 100
  • Like: 4
  • เพศ: ชาย
น้องใหม่ได้ความรู้มากเลย ขอบคุณพี่ๆบ้านนี้จริงๆ :L2900: