ผู้เขียน หัวข้อ: อาจอยู่ใน 1 ใน 17 เหตุผลที่ทำธุรกิจครั้งแรกแล้วเจ๊ง...!!! โดย คุณ healingoftarot  (อ่าน 12602 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ หยก Dev

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 64
  • Like: 4
  • เพศ: ชาย
  • Software Dev.
หลักการและข้อคิดที่ได้จากการ reengineering บริษัทที่อยากเอามาแชร์นะครับ หวังว่าพี่ๆคงได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

1. การลดค่าใช้จ่าย สำคัญกว่าการเพิ่มรายได้

นี่คือเรื่องที่แทบทุกคนละเลย ทุกคนคิดแต่อยากจะเพิ่มรายได้ โดยไม่หาวิธีลดค่าใช้จ่าย หรือโดยปกติเวลาดูค่าใช้จ่าย มันจะหยุมหยิม เล็กๆน้อยๆ เยอะแยะ บวกๆกันไปมันถึงจะเยอะ พอบอกว่าให้ลดค่าใช้จ่าย คิดไม่ออก เพราะไม่รู้จะลดตรงไหนดี ตรงนั้นก็ลดไม่ได้ ตรงนี้ก็ลดไม่ลง หรือประเภทคิดว่า ลดลงได้ก็นิดหน่อย อย่าไปลดมันเลย ... แบบนี้อันตรายครับ ... การลดค่าใช้จ่ายต้องยึดหลัก "ลดไป 1 บาท เท่ากับได้กำไรเพิ่ม 1 บาท" การเพิ่มรายได้โดยละเลยการควบคุมค่าใช้จ่าย ก็เหมือนคุณเติมน้ำลงในแก้วที่รั่ว มันไม่มีวันเต็มหรอกครับ


2. กระแสเงินสด สำคัญกว่า กำไร

คนเริ่มทำธุรกิจส่วนตัวแทบทุกคน คิดถึงแต่กำไร แต่เชื่อมั๊ยครับ ธุรกิจใหม่ๆที่เปิดขึ้นมาแล้วเจ๊งไป ใน 10 บริษัทที่เจ๊ง มีถึง 8 บริษัทที่ทำแล้วมีกำไร ... แต่ที่เจ๊ง เพราะกระแสเงินสดครับ ง่ายๆคือ มันหมุนเงินไม่ทัน เพราะปกติคนเริ่มทำธุรกิจคิดแค่ว่าต้นทุนเท่าไหร่ ขายได้เท่าไหร่ หักลับกันแล้ว เหลือก็มีกำไร ... แต่บางทีลืมนึกไปว่า ต้นทุนหลายอย่างเราต้องจ่ายออกทุกวัน เลื่อนไม่ได้ ... แต่เวลาเราขาย ไม่ได้ขายได้ทุกวัน ยิ่งถ้าธุรกิจประเภทมี credit term เจอเข้าไปอีก 30-60 วันกว่าลูกค้าจะจ่าย ระหว่างนั้นค่าใช้จ่าย + ต้นทุน เราต้องควักออกไปก่อน ... สุดท้ายบริหารเงินสดไม่ดี หมุนไม่ทัน ต้องไปกู้มาหมุน โดนดอกเบี้ย เพิ่มภาระเป็นค่าใช้จ่ายเข้ามาอีก ... วนไปวนมาจนหนี้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด ยังไม่เข้าใจว่าเจ๊งได้ยังงัย เมื่อตัวเลขรายได้(ทางบัญชี) - ค่าใช้จ่าย เป็นบวกทุกเดือน


3. อย่าหลงรักสินค้า/บริการของตัวเอง

คนที่จะมาเปิดธุรกิจของตัวเอง ทุกคนเชื่อมั่นในสินค้า/บริการของตัวเองทั้งนั้น และความเชื่อมั่นนั้นมักจะอยู่บนคำว่า "สินค้า/บริการของเรา ดีกว่าคู่แข่ง" สินค้า/บริการของคุณดีกว่าหรือแย่กว่าคู่แข่งไม่ได้อยู่ที่คุณเป็นคนตัดสิน คนที่จะตัดสินคุณในสงครามธุรกิจคือลูกค้า ต่อให้คุณมีสินค้าที่แย่กว่าคู่แข่ง แต่ตราบที่ลูกค้าเชื่อว่าคุณดีกว่าคู่แข่งคุณก็ขายได้ สินค้าที่เราใช้กันทุกวัน สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ฯลฯ ถ้าลองไปดูที่ส่วนผสมและการผลิต คุณจะเห็นว่าเจ้าตลาดคุณภาพด้อยกว่ายี่ห้อเบอร์ 2 3 4 แทบทั้งนั้น แต่เจ้าตลาดกลับขายได้ดีกว่ายี่ห้อพวกนั้น 2-3 เท่า การทำสินค้า/บริการของคุณให้ดีเป็นแค่พื้นฐาน แต่คุณต้องทำให้ลูกค้าเชื่อว่าคุณดีกว่าคู่แข่งด้วยคุณถึงจะรอด


4. ลูกค้ามีแบบลูกค้าดี และก็มีแบบลูกค้าแย่

ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า เพราะพระเจ้าต้องดี แต่ลูกค้ามีดี มีเลว คุณต้องเลือกให้ดีว่าคุณจะเอาหรือรับลูกค้าแบบไหน ลูกค้าบางคนได้มา เรามีรายได้จริง แต่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นตามมาด้วย ต้นทุนมีทั้งแบบมองเห็นและมองไม่เห็น แค่ลูกค้าจ่ายช้าต้นทุนคุณก็เพิ่มแล้ว ดังนั้นคุณต้องเลือกลูกค้าให้ดีว่าคุณจะรับหรือไม่รับใคร อย่าลืมว่าการได้ลูกค้าไม่ดีมา คุณก็ต้องเสีย resource ไปให้กับเขา เมื่อลูกค้าดีๆเข้ามา resource ไม่พอคุณก็ทำงานให้เขาได้ไม่ดี แต่การเลือกลูกค้านั้นทำยากมาก เพราะส่วนใหญ่เจ้าของธุรกิจจะคิดแต่ในเรื่องรายได้ ไม่ได้มองต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อคุณรับลูกค้าไม่ดีเข้ามา คนที่จะเลือกลูกค้าได้คือคนทีมีต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายต่ำๆ คนพวกนี้ตั้งตัวเองอยู่ในสถานะที่ไม่ตายหรือตายยาก ดังนั้นไม่ต้องรับลูกค้าไม่เลือกหน้า เขาสามารถเลือกลูกค้าได้ ทุ่มเท resource ให้กับลูกค้าที่ดี ปล่อยลูกค้าไม่ดีให้ไปใช้บริการคู่แข่งไป ไปเป็นภาระให้คู่แข่ง


5. คนคือปัญหา

ปัญหาเรื่องคนเป็นปัญหาโลกแตก ยิ่งสมัยนี้ยิ่งหนัก ระบบการศึกษา + ระบบการเลี้ยงดูลูก ทำให้คนสมัยนี้ไม่สู้งาน ไม่อยากทำงานหนัก งานหนักไปพ่อแม่บังคับให้ลาออกซะงั้น จากประสบการณ์ 10 ปีที่บริหารทีม consult มีลูกน้องเข้าและออกเยอะแยะ ผมเรียนรู้ว่าความรับผิดชอบ สำคัญกว่าความฉลาด คนโง่สอนได้ คนไม่รับผิดชอบสอนยาก รับคนเก่งประสบการณ์เยอะ เงินเดือนก็มากตามมา ถ้าไม่รับผิดชอบ เอาเงินเดือนเยอะๆนี้ไปจ่ายให้คนไม่ค่อยเก่ง เด็กใหม่ไร้ประสบการณ์ เอามาปั้นเอามาสอนบางทีจะคุ้มค่ากว่า


6. เจ้าของต้องทำงานน้อย ลูกน้องต้องทำงานเยอะ

เจ้าของธุรกิจเยอะแยะ ทำงานหนัก เผลอๆหนักกว่าลูกน้องที่จ้างมาทำงานซะอีก บางคนลูกน้องเยอะแยะ แต่ต้องทำงานเองวันละหลายๆชั่วโมง อาทิตย์ละ 7 วันไม่มีพัก แบบนี้ดีมั๊ย ก็ดีครับสำหรับธุรกิจ แต่จะดีได้นานแค่ไหน คนไม่ใช่เครื่องจักร ต้องมีหยุด มีพัก ถ้าเจ้าของยังต้องทำงานหนัก แปลว่าธุรกิจอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเจ้าของ แบบนี้ธุรกิจไม่ยั่งยืน อายุของธุรกิจก็ไม่มีทางยาวนานกว่าอายุเจ้าของ เพราะถ้าเจ้าของตาย มันก็จบ ลูกน้องจ้างมาแล้วต้องให้เขาทำงาน ถ้าเมื่อไหร่เจ้าของทำงานมากกว่าลูกน้อง แสดงว่าทั้งเจ้านายลูกน้องด้อยคุณภาพพอกัน เจ้านายด้อยคุณภาพที่สอนลูกน้องไม่เป็น พัฒนาคนไม่ได้ ส่วนลูกน้องก็ด้อยคุณภาพที่ทำงานไม่ดี ไม่มีการพัฒนาตัวเอง ไม่สามารถทำให้เจ้านายไว้ใจได้ ทำงานแบบนี้เรียก "เตี้ยอุ้มค่อม" เจ้าของต้องทำงานให้น้อย เอาเวลาไปทำอย่างอื่นครับ ไปมองภาพรวม หาทางขยับขยายธุรกิจ อะไรประมาณนั้น ถ้าเจ้าของลงมาโม่ day to day operation แล้วใครจะควบคุมทิศทางธุรกิจ เหมือนเดินเรือ ถ้ากัปตันต้องลงมาพายเรือ แล้วใครจะคุมหางเสือของเรือ


จากข้อคิด 6 ข้อข้างบน ผมนำมาปรับใช้ในการ reengineering จากเดิมที่บริษัทที่ค่าใช้จ่ายประมาณ 6-7 แสนต่อเดือนที่ต้องจ่ายประจำ ตอนนี้เหลือแสนกว่าบาท จากต้องจ่ายค่าเช่า office เดือนละเป็นแสน ตอนนี้กลายเป็น virtual office พนักงานเข้า office เฉพาะวันที่มีประชุม ที่เหลือทำงานที่บ้าน พนักงานไม่ต้องเดินทาง ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา จากที่ต้องรับลูกค้าไม่เลือกหน้า ตอนนี้ผมปฏิเสธลูกค้าส่วนใหญ่ที่ติดต่อเข้ามา รับทำให้เฉพาะลูกค้าดีๆ ที่อยู่กับเราอยู่แล้วก็เหลือเฟือแล้ว จากงานที่ต้องทำให้ลูกค้าเยอะๆ ไม่มีคุณภาพ ปรับมาเป็นคุณภาพเน้นๆให้โดนใจลูกค้า เมื่อก่อนต้องไปเลี้ยงลูกค้า ไปเยี่ยมลูกค้า พาลูกค้าไปเที่ยว เดี๋ยวนี้ไม่ต้องแล้วครับ ลูกค้ามาต่อขอจองคิวทำ ต้นปีคิวเต็มยันปลายปี

การ reengineering ครั้งนี้นอกจากจะปรับบริษัทแล้ว ผมเองก็ปรับชีวิตผมด้วย จากเดิมที่ทำงานวันละ 15-16 ชั่วโมง ... ขนาดนั้นจริงๆนะ วันนึงผมได้นอนแค่ไม่กี่ชั่วโมง บางทีไม่ได้นอนเลย 2-3 วัน ทุกวันทำแต่งาน แทบไม่มีวันหยุด ปัจจุบันทำบ้างพักบ้าง เสร็จ 1 โปรเจคผมจะพัก 1 อาทิตย์เป็นอย่างต่ำ ทำงานแค่วันละ 8-9 ชั่วโมงพอ มีหนักบ้างช่วงปิดโปรเจค พอได้เงินโปรเจคก็พาครอบครัวไปเที่ยว ให้เวลากับครอบครัวเยอะๆ

"ถ้าเราตายไปวันนี้ ไม่กี่วันบริษัทก็หาคนมาทำงานแทนเราได้ แต่ครอบครัวเราซิที่ไม่มีวันจะหาใครมาแทนเราได้" นี่คือ concept ในการทำงานและใช้ชีวิตของผมทุกวันนี้ครับ


 :L4399: :L4399:

ขอบคุณครับ สำหรับข้อคิดดี ๆ ผมจะได้นำไปปรับใช้ครับ
คิด ทำ มี