Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Performance Talks & Engine Modifications

หนูขาวเข้าห้องทดลอง ... ตอน Transmission Oil Cooler

(1/70) > >>

ตูมตาม:
สวัสดีพี่ๆปามาเนียทุกท่าน ขอถือโอกาสนี้เปิดมหากาพย์เรื่องใหม่ "หนูขาวเข้าห้องทดลอง"  เนื่องจากช่วงนี้ไม่รู้จะทำอะไร ไม่ค่อยมีอะไรมาให้  :L6415: :L6415: เลยถือโอกาสหาความรู้ หาข้อมูลไปเรื่อง สนใจเรื่องไหนก็เอามาทดลองติดตั้ง ดัดแปลงกับน้องปาดูครับ :sd42: :sd42: :sd42:

ตอนนี้ขอเสนอเป็นตอนแรก ... กับการทดสอบ Transmission Oil Cooler หรือที่เรียกสั้นๆว่า Gear Oil Cooler ภาษาไทยแปลตรงตัวว่าระบบระบายความร้อนน้ำมันเกียร์

ก่อนอื่นต้องขอเล่าถึงต้นสายปลายเหตุซะก่อนนะครับ ถ้าจะต้องเล่าย้อนหลังไปนั้นคงต้องท้าวความกันยาวถึงเรื่องของความร้อนของน้องปาหนูขาวของผม ถ้าให้เล่าคงยาว พี่ๆที่ยังไม่เคยอ่านลองอ่านดูนะครับ

http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,914.0.html

http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,1175.0.html

หลังจากวนแก้ปัญหาเรื่องความร้อนมาพอสมควร ณ ตอนนี้ถือได้ว่า "เอาอยู่" ครับ คือมันไม่ถึงกับจบแบบไม่ร้อนเลย แต่ก็สามารถใช้งานไปได้โดยที่มันไม่ร้อนมากนัก แต่ถ้ามีการอัด กดหนักๆ ความร้อนก็ยังคงวนเวียนมาเยี่ยมเยียนสม่ำเสมอ

หลังจากจบกับการแก้ปัญหาเรื่องความร้อน และใช้งานไปซักระยะ เริ่มมีปัญหาใหม่เกิดขึ้นครับ คือมีอาการไฟ AT Temp ขึ้นโชว์ที่หน้าปัด มันเป็นไฟเตือนถึงอาการอุณหภูมิน้ำมันเกียร์สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม อาการไฟ AT Temp โชว์ เกิดขึ้นแล้ว 3 ครั้งในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

ครั้งแรก
เกิดขึ้นขณะขับรถขึ้นเหนือเมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว ช่วงผ่านนครสวรรค์มุ่งหน้าพิษณุโลก ระยะทางประมาณ 100 กว่ากม. ช่วงนั้นเป็นช่วงถนนตรง ผมต้องการทำเวลาเพราะออกเดินทางกันสาย จึงใช้ความเร็วค่อนข้างสูง ประกอบกับถนนมีสภาพไม่ค่อยดี เป็นหลุมเยอะ ทำให้รถที่ขับร่วมทางมานั้นวิ่งกันทั้งเลนซ้ายเลนขวา เมื่อผมทำความเร็วสูง ก็ต้อง "มุด" และจากการมุดนี่เองที่ทำให้มีการใช้งานเกียร์ค่อนข้างมาก มีการ kick down บ่อยครั้งเพื่อเร่งแซง ช่วงนั้นระดับความร้อนก็อยู่ค่อนข้างสูงครับ ประมาณ 98-99 มุดไปมุดมาจากนครสวรรค์ ผ่านพิจิตร จนอีกประมาณ 10 กม. จะถึงพิษณุโลก ปรากฎว่าไฟ AT Temp ปรากฏขึ้นมา เลยต้องจอดแวะร้านข้าวแกงข้างทาง พักกินข้าว พร้อมพักเครื่อง หลังจากมาสตาร์ทใหม่ ไฟก็หายไป นั่นคือครั้งแรกที่ไฟนี้ปรากฏขึ้นมากวนใจ

ครั้งที่2
จากนั้นไม่นาน ผมต้องเดินทางไปจันทบุรีเพื่อไปดูงานที่โรงงานแถวแก่งหางแมว ขากลับฝนตกค่อนข้างหนัก ถนนเปียกลื่น และมี "บ่อน้ำ" บนถนนอยู่พอสมควร ด้วยความที่เกรงว่าจะเสียการทรงตัวจากการใช้ความเร็วบนถนนเปียกลื่น และผ่านบ่อน้ำแบบที่มองไม่เห็นอีกบ่อยครั้ง ผมจึงขับมาด้วยเกียร์ 4H ตั้งแต่ออกจากแก่งหางแมว ผ่านเขาชะเมา มาออกเส้นบ้านบึง-แกลง ขับยาวจนมาถึงบ้านบึง มุ่งหน้าจะขึ้น Motorway เพื่อกลับกรุงเทพ ช่วงก่อนขึ้น Motorway กลับมีไฟ AT Temp โชว์ขึ้นมาอีก ทั้งๆที่ฝนตก อากาศเย็น ระดับความร้อนของเครื่องก็อยู่ไม่สูงมากเหมือนครั้งแรก อยู่ที่ประมาณ 94-95 และผมไม่ได้ขับแบบมุดมาก เพราะฝนตก แต่เข้าใจว่าการใช้เกียร์ 4H ในระยะทางยาวขนาดนั้นก็เป็นการทรมาณเกียร์ชนิดหนึ่งเหมือนกัน ผมต้องจอดแวะปั๊มบนเส้นบ้านบึงก่อนถึงแยก Motorway เล็กน้อย เพื่อพักรถ เข้าห้องน้ำ ซื้อกาแฟกินแก้ง่วง พอกลับมาสตาร์ทอีกครั้ง ไฟก็หายไป

ครั้งที่3
เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ตอนไปเที่ยวคลองมะเดื่อกับพี่ๆ ขากลับฝนตกหนักเช่นกัน ผมจึงใช้เกียร์ 4H ตั้งแต่ออกจากปั๊มน้ำมันที่แวะด้วยกัน วิ่งยาวจนมาเข้าคลอง 13 ตัดจากคลอง13 เข้าเส้นลำลูกกา แล้ววิ่งยาวมาออกพหลโยธิน แล้วจึงเข้ากองทัพอากาศมาออกดอนเมือง และเข้าแจ้งวัฒนะเพื่อกลับบ้าน ฝนมาซาเอาช่วงเข้ากองทัพอากาศ ผมจึงปลดเกียร์จาก 4H ลงมาที่ 2H วิ่งต่อมาซักพัก จนวนมาเข้าแจ้งวัฒนะปรากฏว่าไฟ AT Temp ก็โชว์ขึ้นมาอีก ครั้งนี้แปลกใจกว่าทุกครั้งทีผ่านมาเพราะช่วงใช้ 4H ไฟดันไม่โชว์ มาโชว์ขึ้นตอนปลดไปเป็น 2H ได้ซักพักนึงแล้ว และตอนนั้นเป็นตอนกลางคืนแล้ว หลังจากฝนตกลงมา อากาศก็เย็นดี ความร้อนเครื่องก็ไม่สูงมาก เพราะไม่ได้เค้นเครื่องมาก ขับไปธรรมดา แต่ไฟก็ยังโชว์อยู่ดี

เดี๋ยวมาต่อกันนะครับ

 :L4399: :L4399:

ตูมตาม:
หลังจากเกิดเหตุการณ์ไฟ AT Temp โชว์ขึ้นมาแล้ว 3 ครั้ง ก็มานั่งวิเคราะห์ถึงสาเหตุดู สาเหตุมันชัดเจนครับ ที่ไฟโชว์ขึ้นมาเพราะระบบระบายความร้อนไม่สามารถระบายความร้อนน้ำมันเกียร์ได้ทัน แต่เหตุใดมันระบายไม่ทันนี่ต้องวิเคราะห์กันต่อไป

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับระบบระบายความร้อนของน้ำมันเกียร์กันก่อน น้องปาเราระบายความร้อนน้ำมันเกียร์ด้วยการส่งน้ำมันเกียร์ผ่านไปที่หม้อน้ำ โดยการระบายความร้อนนั้นจะระบายได้ 2 จุดหลักๆ คือที่หม้อน้ำ โดยน้ำมันเกียร์จะถูกส่งเข้าไปที่หม้อน้ำด้านล่างสุด เพื่อถ่ายเทความร้อนสู่โลหะของหม้อน้ำ โดยหวังว่าลมที่ผ่านหม้อน้ำมานั้นจะพาเอาความร้อนดังกล่าวออกไป อีกจุดหนึ่งทำหน้าที่ระบายความร้อนก็คือที่กะโหลกเกียร์ หรือที่เสื้อเกียร์ หรือแม้กระทั้งที่อ่างน้ำมันเกียร์ โดยสามารถสังเกตุได้ว่า น้องปารุ่นใหม่ๆ จะมีกันแคร้งมาให้แค่ส่วนหน้าเพียงส่วนเดียว ส่วนกันแคร้งช่วงกลางที่ปกป้องเกียร์นั้นรุ่นหลังๆไม่มีมาให้ ทั้งนี้เพื่อให้ลมสามารถผ่านตัวเกียร์ได้ง่ายขึ้น เพื่อที่จะช่วยระบายความร้อนอีกทางหนึ่ง ไม่ได้พึ่งเพียงหม้อน้ำเพียงอย่างเดียว

ส่วนเรื่องความร้อนของน้ำมันเกียร์นั้น ผมได้รวบรวมบทความต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นบทความภาษาอังกฤษจากเว็บต่างประเทศที่กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้น้ำมันเกียร์ร้อน ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงคล้ายๆกันคือการใช้งานเกียร์อย่างหนัก เช่น การลากจูง (น้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก ทำให้เกียร์ทำงานหนักขึ้น) การขึ้นเขาหรือทางชัน รวมถึงการขับแบบ Kick down บ่อยๆ ก็เป็นการใช้งานเกียร์อย่างหนักเช่นกันซึ่งทำให้น้ำมันเกียร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นได้

ส่วนสาเหตุที่ระบายความร้อนไม่ทันนั้น ผมทั้งอ่านจากบทความที่รวบรวมไว้ โทรปรึกษากับพี่นะ พี่อ๊อด และได้พูดคุยในกลุ่มเพื่อนผมที่ชอบเอารถไปแข่งกันในสนาม พอจะสรุปสาเหตุได้ดังนี้ครับ

1. สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่รถผมมีระดับความร้อนค่อนข้างสูงอยู่แล้ว โดยที่หม้อน้ำระบายความร้อนของ engine coolant ไม่ค่อยจะทันอยู่แล้วเป็นปกติ ทำให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนของน้ำมันเกียร์ลดลงไปด้วย เพราะเมื่อหม้อน้ำร้อนกว่าปกติ การที่น้ำมันเกียร์เข้ามาที่หม้อน้ำจึงอาจไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้มากเท่าที่ควร ทำให้ความร้อนสะสมจึงเหลืออยู่ค่อนข้างมาก เมื่อใช้งานเกียร์ค่อนข้างหนักจึงทำให้ระบบไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน

2. การระบายความร้อนน้ำมันเกียร์อีกจุดหนึ่งคือที่เสื้อเกียร์ หรืออ่างน้ำมันเกียร์ ในรถผมนั้นในส่วนนี้ก็อาจมีประสิทธิภาพไม่ดีนัก เพราะเดิมนั้นกันแคร้งกลางในรถผมมีมาให้ แต่มีช่องให้ลมเข้าค่อนข้างมาก เมื่อผมเปลี่ยนมาใส่กันแคร้ง ARB ที่ให้การปกป้องเกียร์ที่ดีกว่า แต่สิ่งที่ต้องแลกคือช่องให้ลมเข้าก็มีน้อยกว่า จึงทำให้การระบายความร้อนในส่วนนี้อาจมีประสิทธิภาพลดลงตามไปด้วย

3. การใช้งานเกียร์อย่างหนักนั้น ส่วนใหญ่ในบทความภาษาอังกฤษจะอ้างถึงการ "ลากจูง" เป็นหลัก หมายถึงการเพิ่มน้ำหนักกับตัวรถ และการทำให้เกิดภาระกับเกียร์ที่มากขึ้น โดยในบทความมักกล่าวว่า รถที่ควรจะใช้ Secondary Transmission Oil Cooler นั้นควรเป็นรถที่ "ลากจูง" บ่อยๆ ซึ่งฝรั่งเขาใช้รถกันนั้นเขาไม่แต่งอะไรกันมากมาก ใช้แต่รถ Standard เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการเพิ่มภาระของเกียร์จนถึงขนาดต้องติด Cooler นั้น จึงมักจะอ้างถึงการ "ลากจูง" เป็นหลัก แต่น้องปาผมไม่ได้ Standard เหมือนรถปกติทั่วๆไป ทั้งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของตัวรถจากอุปกรณ์ต่างๆที่ติดเสริมเข้าไป เท่านั้นยังไม่พอ ขนาดของล้อที่ใหญ่โตมากขึ้นก็มีส่วนเพิ่มภาระให้กับเกียร์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะยาง AT ที่มีดอกยางใหญ่ หน้าสัมผัสเยอะ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เกียร์ต้องรับภาระหนักเช่นกัน เมื่อประกอบกับการขับแบบมุด หรือการใช้เกียร์ 4H ในระยะทางยาวๆ จึงอาจเป็นการเพิ่มภาระหนักมากให้กับเกียร์ จนทำให้อุณหภูมิน้ำมันเกียร์เพิ่มสูงขึ้นได้

ตูมตาม:
หลังจากวิเคราะห์หาสาเหตุแล้ว ผมจึงให้ความสนใจกับ Transmission Oil Cooler เพื่อมาช่วยระบายความร้อนน้ำมันเกียร์เพิ่มขึ้น แต่ในขั้นต้นนั้นยังไม่ได้ตัดสินใจ ก็ลองหาข้อมูลไปเรื่อยๆ ว่าระบบ Cooler นั้นทำงานอย่างไรบ้าง ช่วยอะไรได้บ้าง และมีผลข้างเคียงอะไรที่ต้องคำนึงถึงบ้างหรือไม่ เรื่องผลข้างเคียงนี้เป็นสิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะมันอาจจะก่อให้เกิดปัญหาซีเรียสกับเกียร์ได้

ผมได้มีโอกาสได้คุยกับพี่อ๊อด สอบถามความเห็นของพี่อ๊อดในประเด็นเรื่อง Cooler นี้ พี่อ๊อดได้เล่าให้ฟังว่า มีความน่าจะเป็นที่น้องปาของเรานั้นออกแบบมาครั้งแรกมีระบบ Transmission Oil Cooler มาให้ด้วย เนื่องจากในคู่มือการดูแลรักษารถนั้นได้กำหนดปริมาณน้ำมันเกียร์ที่ต้องเติมเมื่อมีการถ่ายน้ำเกียร์ออก และหากเติมตามปริมาณดังกล่าวจะพบว่า เมื่อวัดระดับน้ำมันเกียร์ ระดับน้ำมันเกียร์จะสูงกว่าขีด Max ที่กำหนดไว้บนก้านวัดน้ำมันเกียร์ ซึ่งจริงๆแล้วการเติมน้ำมันเกียร์มากเกินปริมาณที่กำหนดนั้น ไม่ส่งผลดีต่อเกียร์ แต่การที่คู่มือดังกล่าวกำหนดปริมาณที่เติมแล้วระดับมันมากกว่าที่กำหนดนั้น เป็นไปได้ที่การคำนวนปริมาณน้ำมันเกียร์ที่ต้องเติม คำนวนตามการออกแบบของรถที่มีระบบ Cooler มาด้วย แต่เมื่อมาถึงขั้นตอนการผลิต อาจมีการตัดระบบ Cooler นี้ออกไป และกลับมาใช้ระบบระบายความร้อนที่หม้อน้ำแทน แต่ปริมาณน้ำมันเกียร์ที่ต้องเติมไม่ได้ทำการคำนวนใหม่ ทำให้เมื่อเติมตามปริมาณที่กำหนดแล้ว มันจะมากกว่าขีด Max ขึ้นไป

หลังจากนั้นผมก็ได้ปรึกษากับพี่อ๊อด และช่างที่สนิทกันถึงเป็นไปได้ที่จะลองติดระบบ Cooler เข้ามา ซึ่งจากความเห็นทั้งหมดนั้นเห็นว่าสามารถทำได้ ผมจึงสนใจที่จะลองติดเพื่อทดสอบผลดูว่าเจ้าระบบนี้มันจะให้ความแตกต่างหรือไม่ จึงเป็นที่มาของโปรเจคนี้ครับ

ตูมตาม:
หลังจากนั้นผมก็ลองศึกษาถึงระบบการทำงานของ Cooler ดูก่อนครับว่ามันทำงานอย่างไร จากที่ลองศึกษาจากบทความของเมืองนอก ระบบ Transmission Oil Cooler สามารถติดตั้งให้ทำงานได้ 2 ระบบ



1. ระบบ Secondary Transmission Oil Cooler

ระบบนี้จะติดตั้งเข้าไปเพื่อ "เสริม" ระบบระบายความร้อนเดิมที่ระบายจากหม้อน้ำ โดยจะติดตั้งแผงระบายความร้อนเข้าไปเพิ่มขึ้น แต่ระบบการไหลเวียนของน้ำมันเกียร์ยังคงผ่านหม้อน้ำอยู่ โดยมีการ bypass ระบบ ให้น้ำมันเกียร์เมื่อเข้าสู่หม้อน้ำแล้ว แทนที่จะไหลกลับไปที่เกียร์ทันที จะ bypass ให้ไหลเข้าไปที่ Cooler ก่อน เพื่อระบายความร้อนเพิ่มขึ้น จากนั้นจึงไหลวนกลับเข้าไปที่เกียร์ ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นระบบที่ติดตั้งเพิ่มเติมเข้าไป เป็นการเสริมประสิทธิภาพ โดยที่ระบบเดิมที่ระบายที่หม้อน้ำนั้นก็ยังคงอยู่

2. ระบบ Primary Transmission Oil Cooler

ระบบนี้จะติดตั้งเข้าไปเพื่อ "ทดแทน" ระบบระบายความร้อนเดิมที่ใช้อยู่ โดยจะไม่ให้น้ำมันเกียร์ไหลผ่านไปที่หม้อน้ำเลย และให้ไหลผ่านเข้ามายัง Cooler ทันหมด จากนั้นจึงไหลกลับเข้าไปที่เกียร์ ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นการปิดระบบเดิมลงอย่างสิ้นเชิง และใช้ตัว Cooler เป็นระบบใหม่ที่จะระบายความร้อนให้กับน้ำมันเกียร์

ระบบทั้ง 2 มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน โดยหากติดในระบบที่ 2 ซึ่งเป็นการทดแทนระบบเดิมนั้นจะช่วยลดภาระการระบายความร้อนของหม้อน้ำ โดยให้หม้อน้ำระบายความร้อนจาก Engine coolant เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องยุ่งกับน้ำมันเกียร์ และยังเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการรั่วของ engine coolant เข้าไปปนกับน้ำมันเกียร์ได้อีกด้วย (จะเกิดขึ้นในกรณีที่หม้อน้ำมีการรั่วซึม)

แต่ระบบที่ 2 นี้ก็อาจมีปัญหาตามมาได้เช่นกัน คือการอุ่นน้ำมันเกียร์ โดยปกติน้ำมันเกียร์จะทำงานได้ดีต้องอยู่ในช่วงอุณหภูมิที่กำหนด เย็นไปก็ไม่ดี ร้อนไปก็ไม่ดี ลองสังเกตุว่าตอนเช้าๆ หากสตาร์ทรถแล้วออกรถเลยโดยไม่มีการวอร์มเครื่องก่อน เกียร์จะเปลี่ยนไม่เนียนเหมือนตอนที่วิ่งไปแล้วซักพัก เพราะช่วงนั้นน้ำมันเกียร์ยังมีอุณหภูมิต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งระบบที่ 2 เมื่อน้ำมันเกียร์ไม่ผ่านหม้อน้ำ ก็ไม่สามารถใช้ความร้อนจากหม้อน้ำมาอุ่นน้ำมันเกียร์ได้ จึงทำให้ในช่วงสตาร์ทรถใหม่ๆ และใช้งานเลย อุณหภูมิน้ำมันเกียร์กว่าจะอุ่นจนได้ที่จะใช้เวลานานกว่า และหากมีการใช้เกียร์หนักๆในช่วงที่น้ำมันเกียร์ยังไม่ได้อุณหภูมิอาจทำให้เกิดการสึกหรอได้มากกว่า

กลับกัน ระบบที่ 1 อาจเป็นระบบที่ไม่ยุ่งกับการอุ่นน้ำมันเกียร์เพราะน้ำมันเกียร์ยังคงผ่านหม้อน้ำอยู่ ดังนั้นยังงัยก็อุ่นได้เร็วกว่า แต่ภาระของหม้อน้ำยังไม่ลดลง เพราะยังคงต้องระบายความร้อนให้น้ำมันเกียร์อยู่ดี และหากหม้อน้ำมีอาการรั่วซึ่งจะทำให้ coolant อาจไหลมาปนกับน้ำมันเกียร์ได้

ระบบทั้ง 2 แตกต่างกัน ผมคงต้องเลือกระบบใดระบบหนึ่งในการทดสอบก่อน แต่ในใจคิดว่าเดี๋ยวคงจะทดลองทั้ง 2 ระบบ

เดี๋ยวพรุ่งนี้มาเหลาต่อนะครับ วันนี้ขอไปนอนก่อน ดึกแล้ว พรุ่งนี้ประชุมเช้าอีก  :L4399: :L4399:

พี่ไซ:
 :L4365:

ผมเดาว่าพี่ตามเลือกแบบที่ 2 เพราะของเก่าก็ตัวร้อนอยู่แล้ว
ไหนๆจะติด oil gear ทั้งทีมันต้องได้ทั้งสองอย่าง

 :L4400: :L4400: :L4400:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version