Pa Mania Tales (เรื่องเล่าปามาเนีย) > Wheels, Tires, Brakes & Suspension Systems
จัดไปกับผ้าเบรคใหม่+เจียร์จาน
สุภัทร (Pat):
รบกวนพี่ต้น รีวิวผลการใช้ผ้าเบรคด้วยนะครับ ว่ามีเสียงดังมากน้อยแค่ใหน
ผมใช้ดังเกือบ สองพันโล ตอนนี้ เงียบสนิทแล้วครับ แต่ จานดำมากๆ ซึ่งผมคิดว่า กินผ้าเบรค ดีกว่า กินจานเบรคครับ
ผมเปลี่ยนผ้าเบรคแต่ละครั้ง ไม่ได้เจียร์จาน และทำใจยอมรับ ระยะแรกๆ หลังเปลี่ยนผ้าเบรค ค่อยๆ กด ค่อยๆ เลียจานไปก่อนครับ
ซักพันโล หน้าจานก็เรียบใช้งานได้ปกติ แต่ถ้าใช้งานไม่ระวัง จนจานเบรคเป็นคลื่่นหรือแอ่นมาก ต้องเจียครับ
ส่วนใหญ่จะเกิดจาก การที่ขับรถใช้เบรคมากๆ แล้วล้างรถโดยไม่รอให้จานเย็นก่อนครับ เหล็กร้อนๆ เจอน้ำ มีโอกาสบิดตัวสูงมากครับ
พี่โต้ง Tongsom:
เครดิต แด่ http://www.captiva-club.com/cctforum/index.php?topic=19550.0 ลองอ่านดูครับ
รวมเรื่องเบรค และคำถาม
-ผ้าเบรคถูก แพง ต่างที่ความนิ่ม การสึกหรอ (หมดเร็ว, ฝุ่นกระจาย ) เสียง, การบวมน้ำ (เบรคราคาแพง ถึงลุยน้ำก็ยังพอเบรคอยู่) , แต่ใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน(จับสังเกตุค่อนข้างยาก) แต่เห็นผลชัดตอนกระทืบเบรคแรงๆ ถ้าแพงจะเอาอยู่กว่า ระยะทางเบรคก็สั้นกว่า
-ผ้าเบรคเสื่อมได้เหมือนยางรถ อยู่ที่ ชม.การใช้งาน สภาพการใช้งาน อายุ และสเปคของแต่ละยี่ห้อ ถ้าสับสนเรื่องเวลา ก็เฉลี่ยจอดรถเฉยๆ 2 ปี หรือใช้รถ 2 ปียังไม่หมดก็ควรเปลี่ยน. (น้ำมันเบรคก็เช่นกัน มีอายุควรเปลี่ยนตามวาระ)
-ผ้าเบรคที่ดีต้องคงประสิทธิภาพเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่ 6 เดือนแรกเบรคหัวทิ่มหัวตำ 6 เดือนหลังเบรคไม่ฉึกเหมือนเดิมทั้งที่เนื้อผ้าเบรคยังหนาเปงเซ็น
-ผ้าเบรคที่ดี หลังจากลุยน้ำ(บวมน้ำแล้ว) เท้าแตะแป้น(เลียเบรค)เบาๆ ไม่กี่ที ผ้าเบรคต้องกลับมาคงสภาพเดิมอย่างรวดเร็ว
-เบรคคุณภาพสูง (ขอใช้คำนี้ เพราะแพง ใช่ว่าจะมีคุณภาพเสมอไป)จะทนความร้อนดีกว่า หมายถึง ใช้งานหนัก ร้อน แต่ความสามารถชะลอความเร็วยังพอเชื่อใจได้
-ผ้าเบรคที่ดี (เบรคอาจนิ่ม) และอาจคายฝุ่นผงออกมาเยอะ จึงอาจกลายเป็นผ้าเบรคธรรมดา(หรือเลว) ในสายตาเจ้าของรถที่ใส่แม็กโตๆ สวยๆชิ
-และอีก ฯลฯ เชิญท่านผู้อ่านเสริมเพิ่มเติมได้เลยครับ
"""""""""""""""'"""""""""""""""
คำถาม คือ
"โดยทั่วไปถ้าเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ ต้องเจียรจานเบรคทุกครั้งไม๊ครับ?"
ตอบ. เรื่องนี้เถียงกันมานานเหมือนจอดรถติดไฟแดงต้องเหยียบเบรคไหม? มาฟังแนวคิดแต่ละฝ่าย
เจ้าของรถ: ไม่อยากเจียร เพราะเสียดายเนื้อจานเบรค (ยุคที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศมีน้อย จานเบรคต้องนำเข้า มีราคาแพง)ต้องเสียค่าแรงเพิ่ม(ค่าเจียร) อายุจานเบรคเหลือน้อยลง (ระยะเวลาควักงินเเซื้อจานเบรคใหม่ถอนร่อนเข้ามา)
ร้านทำเบรค: ส่วนใหญ่แนะให้เจียร เพื่อได้ค่าแรงเพิ่ม ลูกน้องมีงานทำ ที่สำคัญผลงานออกมาดี (เบรคเอาอยู่ ลูกค้าไม่มาด่าตามหลังว่าทำเบรคไม่ดี)
หลักการ: ผ้าเบรคที่ตั้งขนานกับจานดิสเบรค ทั้ง 2 ฝั่งมีผิวสัมผัสเรียบเนียน หมายถึงพื้นที่จับสัมผัสของ 2 วัสดุจะประกบกันสนิท เวลาจับเข้าหากัน จะเกิดแรงยึดเหนี่ยวเต็มพื้นที่ ประสิทธิภาพการหยุดชะลอจะทรงประสิทธิภาพสูงสุด
ความเป็นจริง: จานเบรคที่ใช้งาน ไม่มีอันไหนที่เรียบเนียน มีร่องลึกบ้างตื้นบ้าง ความเรียบเนียนหายไปเท่าไร ความขรุขระจะแทนที่ พื้นที่สัมผัสระหว่างผ้าเบรคกับจานจะลดลงมากเท่าใด ประสิทธิภาพการหยุดจะลดลงมากเท่านั้น
แนวคิดเก่า: จานดิสเบรคราคาแพง เป็นอะไหล่ถาวรคู่รถ เจ้าของรถไม่อยากเปลี่ยน ไม่อยากเจียร อยากใส่ผ้าเบรคไปทั้งอย่างนั้น เดี๋ยวผ้าเบรคกับจานสีกันไปมา ใช้เวลาสักพัก จะสนิทเข้าหากันเอง
แนวคิดปัจจุบัน: จานดิสเบรคราคาถูกลง (รถตลาด 1500-2500 บาท) และถือเป็นอะไหล่สิ้นเปลืองชนิดหนึ่ง (เจียร มากสุดเฉลี่ยไม่เกิน 3 ครั้ง บางยี่ห้อให้ 2 ครั้ง วัดความหนากันเป็นมิลลิเมตร)
สรุป... มี 3 ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการเจียรจานเบรคคือ
1.ปัจจัยด้านราคา
2.ปัจจัยด้านวิศวกรรม
3.ปัจจัยด้านความปลอดภัย
ปัจจัยแรกทรงอิทธิพลในอดีต ส่งผลให้มีแนวคิดไม่เจียรจานเบรค แต่เมื่อเข้าสู่ยุคปัจจุบัน จานเบรคมีราคาถูกลง ปัจจัยแรกเริ่มเสื่อมถอย คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจปัจจัยที่ 2 -3 แทน
ปัจจัยที่ 2 เกิดขึ้น เนื่องจากผู้ใช้รถฉลาดขึ้น ช่างเสาะหาความรู้ เข้าใจหลักการทำงานพื้นฐานของระบบเบรค และทำใจได้ว่า การสึกหรอ เกิดขึ้นทั้ง 2 ฝั่งคือ ผ้าเบรคและจานเบรค ทั้งคู่จึงเป็น อะไหล่สิ้นเปลืองที่ต้องเปลี่ยนเมื่อถึงเวลา
ปัจจัยที่ 3 ระบบเบรคเกี่ยวข้องความปลอดภัยโดยตรง ถ้าไม่เจียร อาจใช้เวลาสักพักกว่าที่ผ้าเบรคกับจานจะประกบกันสนิท (อยู่ที่ชั่วโมงการใช้งาน คุณภาพวัสดุ และความลึกของรอยสึกหรอเดิม) แต่อุบัติเหตุเกิดได้ทุกเมื่อ ไม่รอเวลา ทั่งนี้การเจียรจาน หากใช้รถปกติ อาจต้องรอกว่าเข้าที่ 1-3 วันเหมือนกัน แต่ถ้าไม่เจียร จะนานกว่านั้นแน่นอน ถ้ารอยลึกๆ แล้วเจอผ้าเบรคเนื้อแข็งๆ อาจใช้เวลาเป็นเดือนกว่าผ้าเบรคจะผสานกับจานเบรคจนสนิท (หรือหลายๆ วันกว่าเบรคจะได้ที่) ช่วงนั้นเลยต้องขับระวัง อย่าไปจี้ท้ายใคร
สิ่งที่ควรตระหนักเสมอ หลังจากที่นำรถไปทำระบบเบรค ไม่ว่าเปลี่ยนผ้าเบรค เปลียนมันเบรค หรือระบบใดๆ เกี่ยวกับการหยุดรถ คือ ต้องทำให้ระบบเบรคกลับมาทำงานเต็มร้อยในเวลาอัน"สั้น"ที่สุด.
น้ำหนักรถเกือบ 2 ตัน การหยุดรถต้องมีระบบเบรคที่พรั่งพร้อม
ด้วยเทคโนโลยี ณ วันนี้ . . .
ด้วยราคาแร่เหล็กที่ใช้ทำจานเบรค ณ วันนี้ยังไม่แพงเท่าทอง. . .
ด้วยความปลอดภัยที่ต้องคิดคำนึงถึงก่อนสิ่งอื่นใด. . .
จึงกลายเป็นที่มาของเหตุผล(ที่ผมคิด)ว่าควรที่จะ "เจียร" จานดิสเบรคในยามเปลี่ยนผ้าเบรคทุกครั้ง. ..
ถ้าลังเลในการตัดสินใจ ให้คิดว่ามันคือคืออะไหล่สิ้นเปลืองชิ้นหนึ่ง การเจียรจานเบรคคือทางลัดสุดที่ทำให้เบรคกลับมาสมบูรณ์ในเวลาอันสั้นสุด. หมายถึง คุณและทุกชีวิตบนรถ จะได้รับสิทธิเข้าถึงความปลอดภัย ในเวลาที่รวดเร็วสุดนั้น...เช่นกัน...)
,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,
แนวคิดนี้ ท่านอื่นอาจเห็นต่าง ซึ่งก็ไม่ผิด เพราะสุดท้ายแล้วการตัดสินใจเจียรหรือไม่เจียร อยู่ที่ความรู้สึกและตัดสินใจของเจ้าของรถล้วนๆ กับมุมมองของช่าง (ผลงานและการทำกำไร)
บทความนี้วิเคราะห์ด้วยเหตุผลด้านเศรษฐศาสตร์ ณ ปัจจุบัน (ต.ค.2556) รวมทั้งด้านวิศวกรรม และความปลอดภัย เมื่อเวลาผันเปลี่ยน ตัวแปรอาจเปลี่ยนผัน แนวทางที่ผมแนะนำอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอไป เช่นเดียวกับบางยุคสมัยในอดีต ด้านฝั่ง "ไม่เจียร" เคยมีเสียงดังกระหึ่มกึกก้อง. จนกลายเป็นประเด็นถกเถียงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน.
หนุ่ม ปา2.4(C06):
:L4365: ข้อมูลพี่หยกก็ดี :L2761: ข้อมูลพี่โต้งก็น่าคิด :L2749: .................. ฺฺBBB Gang :L2759:
:L2758: พี่ต้น เจ้าของกระทู้
:L2758: พี่ต๋อง เปิดประเด็น
:L2758: พี่หยก พี่Pat พี่โต้ง สำหรับข้อมูล
สวัสดีพี่ๆทุกท่านครับ :sd23:
พี่นะ [Na ratchada]:
การเจียรจานเป็นสิ่งเลี่ยงที่ไม่ควรทำ แต่ในด้านการใช้งานและการบริการคงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับผลตอบสนองหลังการซ่อมบำรุง
แบบที่ 1: เปลี่ยนผ้าเบรคตามระยะสึกหรอ โดยไม่เจียรจานเบรค
ผลจากข้อ 1 : หลังออกจากร้านแล้ว การเบรคจะไม่ต่างจากเดิมมากนักเพียงแต่มีเรื่องการเสียดทานของผ้าเบรคเพิ่มขึ้นและอาจจะได้เรื่องเสียงที่เพิ่มตามมา การเบรคระยะแรกจะลื่นและจับไม่ค่อยอยู่จนกว่าจะใช้งานไปสักระยะ(สำหรับผ้าเบรคกับจานนานหน่อย) ระยะที่ว่านานพอสมควรกว่าผ้าเบรคกับจานจะจับกันเต็มผิวสัมผัส การเปลี่ยนลักษณะแบบนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของรถทราบปัญหาดีขนาดไหนและยอมรับได้ไหม และหากจานเป็นรอยลึกมากๆอาจจะรอกันนานมาก จนเกิดประเด็นกับลูกค้าหลายรายที่ออกจากร้านแล้ววนกลับมาใหม่อีกครั้ง เพราะความไม่เข้าใจเรื่องนี้
แบบที่ 2: เปลี่ยนผ้าเบรคตามระยะสึกหรอ และเจียรจานเบรคด้วยเลย
ผลจากข้อ 2 : เสร็จจ่ายตังค์ ออกจากร้านเบรคดีขึ้นอบ่างเห็นได้ชัดเจน การหยุดรถตอบสนองได้ดีกว่าชัดเจน ผลอันเนื่องมาจากผ้าเบรคและจานเบรคจับกับเต็มพื้นที่มากกว่า แบบนี้ลูกค้าแฮปปี้ ร้านก็แฮปปี้ เข้าเร็ว ออกเร็ว ไม่มีย้อนกลับมีบอกปากต่อปาก สุดท้ายกลายเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ดี(แต่อาจไม่ถูกต้อง)
แบบที่ 3: เปลี่ยนผ้าเบรคตามระยะสึกหรอ แต่ใช้จานแพง คุณภาพดี และร้านจ้องจะเจียรจานให้ด้วย
ผลจากข้อ 3: เสียของอย่างแรง หากจะทำเต็มที่ยอมให้แค่เอากระดาษทรายหยาบลูปๆ ถูๆ เอาครับ อย่าไปเจียรเด็ดขาด
ที่มาของปัญหา :
* เกิดจากอายุการใช้งานและการสึกหรอ จากผ้าเบรคและจานเบรคคุณภาพธรรมดา ใช้งาน
* จานเป็นรอยเยอะ มักเกิดจากการใช้งานผ้าเบรคที่มีคุณภาพสูงทนความร้อนกว่าจานเบรค (พบได้บ่อยกับผ้าเบรคอัด หรือผ้าเบรคพวกเกรดดีๆ)
* ผ้าเบรคไหม้ เบรคไม่อยู่ เกิดจากใช้ผ้าเบรคคุณภาพต่ำกว่าจานเบรค (พบน้อย แต่พบได้ในกลุ่มผ้าเบรคราคาถูกๆ)
* ความร้อนจากการเบรคสูงและภาระเบรคมากเนื่องมาจากการขับรถเร็วและเบรคหนักหน่วง กว่าปกติ (ควรเลือกเปลี่ยนที่มีคุณภาพ)
*
หนุ่ม ปา2.4(C06):
--- อ้างจาก: พี่นะ [Na ratchada] ที่ 10 มีนาคม 2014, 09:16:12 ---การเจียรจานเป็นสิ่งเลี่ยงที่ไม่ควรทำ แต่ในด้านการใช้งานและการบริการคงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับผลตอบสนองหลังการซ่อมบำรุง
แบบที่ 1: เปลี่ยนผ้าเบรคตามระยะสึกหรอ โดยไม่เจียรจานเบรค
ผลจากข้อ 1 : หลังออกจากร้านแล้ว การเบรคจะไม่ต่างจากเดิมมากนักเพียงแต่มีเรื่องการเสียดทานของผ้าเบรคเพิ่มขึ้นและอาจจะได้เรื่องเสียงที่เพิ่มตามมา การเบรคระยะแรกจะลื่นและจับไม่ค่อยอยู่จนกว่าจะใช้งานไปสักระยะ(สำหรับผ้าเบรคกับจานนานหน่อย) ระยะที่ว่านานพอสมควรกว่าผ้าเบรคกับจานจะจับกันเต็มผิวสัมผัส การเปลี่ยนลักษณะแบบนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของรถทราบปัญหาดีขนาดไหนและยอมรับได้ไหม และหากจานเป็นรอยลึกมากๆอาจจะรอกันนานมาก จนเกิดประเด็นกับลูกค้าหลายรายที่ออกจากร้านแล้ววนกลับมาใหม่อีกครั้ง เพราะความไม่เข้าใจเรื่องนี้
แบบที่ 2: เปลี่ยนผ้าเบรคตามระยะสึกหรอ และเจียรจานเบรคด้วยเลย
ผลจากข้อ 2 : เสร็จจ่ายตังค์ ออกจากร้านเบรคดีขึ้นอบ่างเห็นได้ชัดเจน การหยุดรถตอบสนองได้ดีกว่าชัดเจน ผลอันเนื่องมาจากผ้าเบรคและจานเบรคจับกับเต็มพื้นที่มากกว่า แบบนี้ลูกค้าแฮปปี้ ร้านก็แฮปปี้ เข้าเร็ว ออกเร็ว ไม่มีย้อนกลับมีบอกปากต่อปาก สุดท้ายกลายเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ดี(แต่อาจไม่ถูกต้อง)
แบบที่ 3: เปลี่ยนผ้าเบรคตามระยะสึกหรอ แต่ใช้จานแพง คุณภาพดี และร้านจ้องจะเจียรจานให้ด้วย
ผลจากข้อ 3: เสียของอย่างแรง หากจะทำเต็มที่ยอมให้แค่เอากระดาษทรายหยาบลูปๆ ถูๆ เอาครับ อย่าไปเจียรเด็ดขาด
ที่มาของปัญหา :
* เกิดจากอายุการใช้งานและการสึกหรอ จากผ้าเบรคและจานเบรคคุณภาพธรรมดา ใช้งาน
* จานเป็นรอยเยอะ มักเกิดจากการใช้งานผ้าเบรคที่มีคุณภาพสูงทนความร้อนกว่าจานเบรค (พบได้บ่อยกับผ้าเบรคอัด หรือผ้าเบรคพวกเกรดดีๆ)
* ผ้าเบรคไหม้ เบรคไม่อยู่ เกิดจากใช้ผ้าเบรคคุณภาพต่ำกว่าจานเบรค (พบน้อย แต่พบได้ในกลุ่มผ้าเบรคราคาถูกๆ)
* ความร้อนจากการเบรคสูงและภาระเบรคมากเนื่องมาจากการขับรถเร็วและเบรคหนักหน่วง กว่าปกติ (ควรเลือกเปลี่ยนที่มีคุณภาพ)
*
--- End quote ---
:sd23: :sd23: :sd23: รวดเร็วทันใจจริงๆ :L2758: :L2758: :L2758:
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version