Pa Mania General (เรื่องทั่วไปปามาเนีย) > Pa Mania On Tour & Meetings

ทริบ New Year 2014 ศรีสัชนาลัย-แพร่-เชียงราย

<< < (2/18) > >>

ตูมตาม:
มาต่อกันที่วัดที่ 2 ครับ วัดช้างล้อม เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เนื่องจากมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาโบราณสถานที่พบในอุทยานนี้ จากศิลาจารึกนั้นทำให้ทราบว่าวัดนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และได้มีการขยายให้ใหญ่โตขึ้นในสมัยพ่อขึนรามคำแห่ง โดยมีวิหารแจกออกจากพระมหาเจดีย์อย่างชัดเจน

ที่ด้านในสุดของวิหารยังมีซากของฐานพระประธานเก่าให้เห็น ซึ่งสร้างขึ้นด้วยศิลาแรงทั้งหมด จึงเชื่อว่าพระประธานที่นี่น่าจะสร้างขึ้นมาจากศิลาแรงด้วยเช่นกัน แต่เสียดายที่ไม่เหลือสภาพให้เห็นองค์พระแล้ว เหลือแต่เพียงฐาน และสิ่งตรงหัวเข่าขององค์พระนิดหน่อยให้เห็นอยู่



เดินผ่านวิหารเข้ามาจะมาเจอกับทางเข้าไปยังพระมหาเจดีย์ บริเวณทางมีกำแพงกั้นระหว่างวิหารและเจดีย์ (ไม่เหมือนวัดนางพญาที่วิหารกับเจดีย์อยู่ติดกัน) กำแพงทั้งหมดสร้างจากศิลาแรงเช่นเดียวกัน ในศิลาจารึกบันทึกไว้ว่าพ่อขุนรามคำแหงต้องการจรรโลงพระศาสนา และเป็นอนุสรณ์ในการรบชนะพ่อขุนเม็งรายที่ยกทัพมาบุก จึงให้ทำการขยายวัดช้างล้อมนี้ออกไปให้ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยใช้เวลาในการก่อสร้างทั้งหมด 9 ปี



พอเข้ามาบริเวณพระมหาเจดีย์ จะเห็นว่ารอบด้านมีรูปปั้นช้างล้อมเจดีย์อยู่ทั้ง 4 ทิศ โดยวัดช้างล้อมนี้เป็นวัดเดียวที่มีรูปปั้นช้างแบบเต็มตัวยืนล้อมเจดีย์อยู่ ซึ่งแตกต่างจากวัดที่สุโขทัยและกำแพงเพชร ที่มีวัดช้างล้อมเช่นกัน แต่ที่นั่นรูปปั้นช้างจะเป็นแบบครึ่งตัว ไม่เหมือนที่นี่ที่จะเป็นแบบเต็มตัว ลอยตัวออกมาจากฐานของเจดีย์อย่างชัดเจน



ปัจจุบันรูปปั้นช้างนั้นได้หักพังไปมากแล้ว งวง งา ไม่มีเหลือ ทำให้รูปปั้นมองไม่ค่อยเหมือนช้างซักเท่าไหร่ หลายๆตัวพังลงไปหมดเหลือเพียงขาหลังให้เห็นอยู่เท่านั้น



มีคำกล่าวขานกันว่าหากอธิษฐานสิ่งใดในวัดช้างล้อมนี้ จะสำเร็จสมความปรารถนาจะต้องนับช้างให้ได้ครบตามจำนวนจริงที่มีอยู่รอบพระมหาเจดีย์ ใครมีโอกาสได้ไปลองไปนับดูนะครับ ดูเหมือนจะไม่ยาก แต่นับๆไปก็มีงงๆเหมือนกัน คณะผมไปกัน 20 กว่าคน มีอยู่ 4-5 คนที่นับออกมาแล้วได้จำนวนไม่เหมือนคนอื่นๆด้วยนะ แบบว่าเยอะจนตาลาย  :sd42: :sd42:

โบ๊ท[Sathu49]:
มาอีกแล้ว ภาพสวยๆ ของพี่ตาม  :L6428: :L6428:

ตูมตาม:
มาถึงที่วัดสุดท้ายที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยกันนะครับ ที่นี่คือ วัดเจดีย์เจ็ดแถว

วัดเจดีย์เจ็ดแถว เป็นวัดทีมีเจดีย์อยู่เยอะมากๆ หากนับจริงๆจะมีทั้งหมด 9 แถว แต่มีอยู่ 2 แถวที่หักพังลงไปเหลือแต่ฐาน ทำให้ผู้ที่ค้นพบครั้งแรกนับได้เพียง 7 แถว จึงตั้งชื่อนี้มานับตั้งแต่นั้น

วัดเจดีย์เจ็ดแถวก็คล้ายกับวัดนางพญา และวัดช้างล้อม ที่จะมีพระมหาเจดีย์อยู่ด้านหลังพระวิหาร ที่ตอนนี้เหลือแต่เพียงเสาให้เห็น แต่ที่ไม่เหมือนคือ ด้านข้างวิหารของวัดเจดีย์เจ็ดแถวนั้นจะจะมีเจดีย์อีกจำนวนมาก สร้างเรียงรายกันเป็นแถวๆ ซึ่งสันนิษฐานว่าเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาด้านข้างของวิหารทั้ง 2 ฝั่งนั้น เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐฐิของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน และพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยนั้น



อีกสิ่งหนึ่งที่วัดนี้แตกต่างจากวัดนางพญา และวัดช้างล้อมคือศิลปะขององค์เจดีย์ที่เป็นทรงรวงข้าวที่เป็นศิลประในยุคสุโขทัย แตกต่างจากอีก 2 วัดที่องค์เจดีย์เป็นรูประฆังคว่ำที่เป็นศิลปะในยุคกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทำให้ผมแปลกใจมาก เนื่องจากเมืองศรีสัชนาลัยนี้รุ่งเรืองในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ในอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งเกิดขึ้นก่อนอาณาจักรศรีอยุธยา แต่ทำไมเจดีย์จึงนำเอาศิลปะอยุธยามาสร้างไว้ได้

หลังจากสอบถามผู้รู้จึงทราบว่า เป็นความเชื่อของกษัตริย์ในสมัยโบราณ เมื่ออาณาจักรสุโขทัยเซื่อมโทรมลง และอาณาจักรศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองขึ้น จนในที่สุดอาณาจักรสุโขทัยล่มสลาย กลายเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาได้มาสร้างเจดีย์ด้วยศิลปะแบบกรุงศรีฯ ครอบเจดีย์เดิมไว้ เหมือนเป็นการข่มให้สุโขทัยอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาตลอดกาล ทำให้ทราบว่าเจดีย์ที่เป็นทรงระฆังคว่ำที่เป็นศิลปะในยุคอยุธยานั้นถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ครอบองค์เจดีย์เดิมไว้ และทำให้ไม่มีใครทราบว่าองค์เจดีย์เดิมนั้นมีรูปร่างหน้าตาเป็นยังงัย



พระพุทธรูปในวัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้มีให้เห็นหลงเหลืออยู่บ้าง พระพุทธรูปที่นี่จะไม่เหมือนที่อื่นๆคือจะสร้างจากศิลาแรง แล้วเอาปูนมาปิดทับอีกที ตอนนี้ปูนที่ปิดทับไว้แตกสลายไปหมด เหลือให้เห็นแต่โครงสร้างขององค์พระที่สร้างจากศิลาแรง คนโบราณมีความพยายามจริงๆครับ เอาหินศิลาแรงมาแกะให้เป็นองค์พระ สุดยอดมากๆ

ตูมตาม:
เอาละครับ หมดละสำหรับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยส่วนตัวผมรู้สึกชอบนะครับที่นี่ ที่นี่ยังคงกลิ่นอายของความเป็นของโบราณไว้ได้ดีมาก เนื่องจากการบูรณะนั้นยังมีน้อย จึงยังคงความเดิมๆไว้ได้มาก ประกอบกับรอบบริเวณส่วนใหญ่จะเป็นต้นไม้ใหญ่โบราณอายุเป็นร้อยปี จึงทำให้เข้ากับบรรยากาศของการเยี่ยมชมโบราณสถานมากกว่าอุทยานที่สุโขทัย ที่ทำใหม่ ต้นไม้ปลูกใหม่ทั้งหมด จนรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในรีสอร์ทมากกว่าจะอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์

ที่นี่มีโบราณสถานอีกมากมายที่ขุดค้นพบแล้ว แต่ยังไม่มีการศึกษา และตั้งชื่ออย่างจริงๆจัง มีวัดเล็กๆจำนวนมากระหว่างเดินผ่านไป หลายๆวัดเห็นแค่ฐานพระพุทธรูป และวิหารขนาดเล็ก ยังไม่มีชื่อวัด มีแต่ป้ายบอกเป็นเลขที่ไว้ ซึ่งเลขเหล่านี้ไล่เรียงตามลำดับการค้นพบของโบราณสถานนั้นๆ

การเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์ที่นี่ใช้เวลาไม่นานมากครับทั้งหมดประมาณชั่วโมงกว่าๆครับ แต่ผมเดินถ่ายรูปมุมโน้นมุมนี้มากหน่อยจึงใช้เวลาไปเกือบ 2 ชั่วโมง

หลังจากหาขนม อาหารรองท้องกันนิดหน่อยแล้ว ก็เตรียมตัวเดินทางต่อ ออกจากอ.ศรีสัชนาลัย ใช้เส้นทางที่จะมุ่งหน้าอุตรดิษฐ์ แต่เลี้ยวซ้ายก่อนถึงแยกอุตรดิษฐ์ให้เส้นทางหลวง (เลข 4 ตัว) มุ่งหน้าเข้าอ.วังชิ้นต่อไปครับ

ตูมตาม:
ใช้เวลาอยู่ประมาณชั่วโมงกว่าๆ ถึงตัวอ.วังชิ้น จากนั้นแยกซ้ายออกไปใช้ทางหลวงเส้น เถิน-วังชิ้น มุ่งหน้าไปทางเถิน บ้านรุ่นพี่อยู่ที่ ต.บ้านป่าสัก อยู่ห่างจากตัวอ.วังชิ้นไปทางเถินประมาณ 18 กม.

บ้านป่าสัก เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ระหว่างทางระหว่างเถินและอ.วังชิ้น มีป่าสักเยอะมากสมชื่อ ชาวบ้านนิยมปลูกต้นสักกันมาก ที่ดินตรงไหนที่ทำนา ทำสวนไม่ได้ ชาวบ้านจะเอาต้นสักมาปลูกไว้กันมาก

มาถึงบ้านรุ่นพี่ก็ประมาณช่วง 6โมงเย็นละ อากาศเย็นมากเลยทีเดียว มาถึงก็จัดการกางเต้นท์กันก่อน ทริบนี้มีให้เลือกนอนได้นะครับ บางครอบครัวก็ไปนอนในบ้าน บางครอบครัวอยากนอนเต้นท์ก็กางที่สนามหน้าบ้านได้ ผมเลือกนอนเต้นท์ เอาบรรยากาศอากาศเย็นๆ รับลมหนาวซะหน่อย



เต้นท์ของผมคราวนี้เอาพระเอกประจำครอบครัวมาครับ Instant tent กางเสร็จภายใน 1 นาที คราวนี้มาพร้อมอุปกรเสริมใหม่ครับ Rain Fly เอามาลองดูว่าจะกันน้ำค้างได้ดีหรือเปล่า



อากาศเย็นมากครับ ช่วงค่ำๆอุณหภูมิน่าจะไม่เกิน 20 ช่วงดึกๆนี่มีต่ำกว่า 10 แน่นอน ดังนั้นขาดไม่ได้เลยครับ อุปกรณ์ช่วยให้อบอุ่น มีทั้งที่พวกเราเตรียมมาจากกรุงเทพ และชาวบ้านแถวนั้นหามาให้ เผื่อไว้แก้หนาวครับ  :sd42: :sd42: :L4384: :L4384:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

Go to full version