ขออนญาตแชร์ ประสบการณ์ตามหัวข้อกระทู้บ้างครับ มีคนรอบข้างถามทั้งคนที่ติดเครื่องเสียงรถยนต์และไม่เคยติดเครื่องเสียงรถยนต์เลยว่า
ทำไมต้องไปติดไกลถึงชัยนาท 
จริงๆว่าจะนั่งพิมพ์ลงไว้ในกระทู้ที่ผมลงรูปรถผมไว้ วันนี้เห็นกระทู้นี้แล้วนึกถึงเรื่องหนึ่งเลยเอามาเหล่า แชร์ให้พี่ๆด้วยคนครับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ผมออก ปาเจโร่ มาเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ มอเตอร์โชว์เมื่อต้นปีนั้นแหละครับ ช่วงนั้นไม่มีความรู้เรื่องแต่งรถเลยครับ ก็ศึกษาจากหลายๆเวป ทั้งเวปปาเจโร่เอง และเวปของรถยี่ห้ออื่นๆ
ได้รายการที่จะแต่งรถเป็นของตัวเองก็ลีสต์ออกมาประมาณนี้ครับ - แต่งสวยงามภายนอก - แต่งภายใน - แต่งช่วงล่าง - แต่งเครื่องยนต์ - แต่งเครื่องเสียง และ accessories ต่างๆครับ
ความคิดช่วงนั้นด้วยกำลังมีน้อง และชีวิตต้องอยู่กับรถติดไปกลับ หลายชั่งโมง/วัน เลยคิดกับแฟนว่าจะติดเครื่องเสียงความบันเทิงในรถก่อน
พอวันที่ไปจองรถในงานมอเตอร์โชว์ในวันเดียวกันนั้นด้วยความตื่นเต้นอยากได้ความบันเทิงในรถก็ได้จองทำเครื่องเสียงไว้กับร้านใน กทม ร้านหนึ่งไว้(สุดท้ายผมต้องทิ้ง)
จากนั้นก็กลับมานั่งนับวันรับรถ และนั่งหาข้อมูลเรื่องเครื่องเสียงในเวปไปเรื่อยๆ พาแฟนเดินไปดูหน้าร้านต่างๆก็แยะ จนมาเจอ
ร้านชัยนาทซาวด์ ในหนังสือเครื่องเสียงรถยนต์และเวปต่างๆ ชู สโลแกน ไกลอีกนิดไม่ผิดหวัง มีเทคนิดการติดตั้ง เทคนิคการจูนเครื่องเสียง มีทฤษฎี
ยอมรับว่าลังเลพอสมควร กับเรื่องราคาหรือของที่ได้
แต่สุดท้ายและท้ายสุดจริงๆ ผมตัดสินใจไปชัยนาทเพราะคำว่า
"เชิงช่างเทคนิดมีทฤษฎี" เพราะบังเอิญผมทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการรับรู้ (perception) ประสาทสัมผัส ( Sense Organs ) อยู่พอดีครับ สิ่งที่ผมศึกษาอยู่นี้สามารถศึกษาได้หลายสาขาอย่าง ประสาทวิทยา จิตวิทยา วรรณคดี แต่ผมศึกษาด้าน (perception) ทางด้านภาษาศาสตร์ครับ
ขออนุญาตเหล่าให้ฟังนะครับวิจัยผมจะเน้นไปที่ความผิดปกติทางประสาทสัมผัส หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ ศึกษาพวกที่ใช้ประสาทสัมผัสหนึ่ง ไปใช้กับอีกสัมผัสหนึ่ง หรือที่เรียกว่า ซินเนสทีเชีย
(synesthesia) พวกที่มีความผิดปกติลักษณะนี้จะมีอาการเช่น เห็นตัวเลขเป็นสี ได้ยินได้ฟังโน๊ตดนตรีเป็นสีต่างๆ เห็นสีบางสีแล้วรับรู้ได้ถึงรสชาติหวาน เผ็ด เปรี้ยว เป็นต้นครับ
โดยอาการพวกนี้ก็เกิดขึ้นกับคนธรรมดาได้เช่นกันครับ และผมก็เห็นว่า คำที่แสดงถึงความผิดปกติเหล่านี้ มักถูกใช้ในชีวิตประจำวันโดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัวครับ เช่น
เสียงใส - เสียง (การได้ยิน/หู) + ใส(การมองเห็น/ตา)
เสียงหวาน - เสียง(การได้ยิน/หู) + หวาน(การรับรส/ลิ้น)
เสียงนุ่ม - เสียง(การได้ยิน/หู) + นุ่ม(การสัมผัส/ผิวหนัง)
ฯลฯ ครับ
คำสำนวนเหล่านี้แหละครับ กับคำว่า ทฤษฎี ทำให้ผมขับรถไปชัยนาทครับ
วันที่ไปถึงที่ร้านก็เขอะๆเขินๆ ไม่รู้จะเริ่มพูดยังไงอะไร เพราะเจ้าของร้าน...
พี่โก้ให้คำแนะนำดีมากๆครับ ข้อมูลความรู้เพียบ และที่ประทับใจมากๆ และดีใจสุดๆก็คือ พี่โก้ตอบปัญหาผมได้สมกับ ไกลอีกนิดไม่ผิดหวังจริงๆครับ
หนึ่งในบทสนทนาวันนั้น/// ผมถามพี่โก้ว่า พี่ได้มีการเก็บข้อมูลการจูนเสียงไว้บ้างมั้ย ถ้ามีลูกค้าเดินเข้ามา บอกผมอยากได้เสียงใส เสียงคม เสียงนุ่ม พี่จะทำให้ได้มั้ย

แล้วก็ไม่ผิดหวังครับพี่โก้บรรยายพร้อมกดโน่นกดนี่ให้ผมดู พี่โก้บอกว่าตามภาษาช่างนะครับ

จะมีสักกี่ร้านที่เจ้าของลงมาต้อนรับลูกค้าเอง
จะมีสักกี่ร้านที่รับทำเครื่องเสียงตามคำสั่งลูกค้า
จะมีสักกี่ร้านที่มีเทคนิคทฤษฎีมารองรับคำถามของลูกค้า
ฝากพี่ๆไว้เป็นข้อมูลครับ เชียร์หรือแชร์อยู่วิจารณญาณนะครับ แล้วจะรู้ไกลอีกนิดไม่ผิดหวังครับ
ขอบคุณครับ

ปล. ลงไว้ 2 ภาพเผื่อผมพิมพ์แล้วตกหล่นครับ
