ผู้เขียน หัวข้อ: เจ็บจี็ดส.....รถป้ายแดงมีปัญหา ผู้ขายทำอย่างไร?  (อ่าน 3316 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ พี่โต้ง Tongsom

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 6,283
  • Like: 186
  • เพศ: ชาย
  • Never Say Never ไม่มีแผนเดียว ในการแก้ปัญหา

แก้ไข แก้ตัว แก้ผ้า เมื่อผู้ขายเจอปัญหาของผู้ซื้อ พวกเขาทำอย่างไร? (หนังสือนักเลงรถ)
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก นักเลงรถ


          สินค้าที่จำหน่ายแบบ Mass Product ผลิตโดยกรรมวิธีต่าง ๆ มีทั้งทันสมัยบ้างล้าหลังบ้าง แต่ผลิตทีละเยอะ ๆ เพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภค ย่อมมีอยู่บ้างที่จะตกสำรวจเกิดความบกพร่องในบางจุดหรือหลาย ๆ จุด โดยเกิดจากความบกพร่องในขั้นตอนการผลิตหรืออาจจะเกิดจากชิ้นส่วนที่ขาดคุณภาพ

          ถ้าสายพานผลิตรถยนต์มีสภาพเหมือนโรงงานผลิตขนม หากตรวจพบชิ้นไหนอันไหนที่บกพร่องบูดเบี้ยว คนคุมการผลิตก็อาจ “ดีดทิ้ง” ออกจากสายพาน กลายเป็นของไม่มีคุณภาพหรือคุณภาพไม่ถึงเท่าที่ต้องการ แบบนั้นทำได้เพราะของราคาไม่เท่าไร แต่ถ้าเป็นรถยนต์หรือสินค้าแพง ๆ คนผลิตจะทำอย่างไร ถ้าเป็นเสื้อผ้าหรือข้าวของเครื่องใช้บางชนิดก็จะเก็บไว้รอจำหน่ายใน “ราคาพิเศษ” ประเภทล้างสต๊อคกวาดโกดัง ในวาระพิเศษที่พยายามหาให้ได้สักวาระหนึ่งในสมัยก่อน ส่วนสมัยนี้ไม่ต้องรอวาระครบรอบหรืออะไรพวกนั้น บอกไปเลยว่าจะลดข้ามวันข้ามคืน ผู้คนที่ชอบของถูกก็จะพากันมาอุดหนุนเนืองแน่นถึงขนาดต้องทำประชาสัมพันธ์ให้ระวังว่าอย่าช้อปจนลมแดร๊กนะเจ้าคะ




         สำหรับการผลิตรถยนต์ จะไป “เคียะ” รถที่ไม่ผ่านการควบคุมและตรวจเช็คคุณภาพที่เรียกว่า Quality Control หรือ QC ออกก็ไม่ได้เพราะต้นทุนสูงไม่น้อย จึงต้องมีความระมัดระวังกันตั้งแต่การออกแบบทั้งตัวรถ เครื่องยนต์ ระบบต่าง ๆ การเลือกชิ้นส่วนเพื่อประกอบขึ้นเป็นคัน จนไปถึงขั้นตอนการประกอบเป็นรูปเป็นร่าง ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้การควบคุมคุณภาพ จึงต้องมีการจัดตั้งระบบควบคุมคุณภาพตลอดจนผู้ควบคุมภาพเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณค่าตามมาตรฐานและข้อกำหนดที่เป็นที่พอใจทั้งคนขายคนซื้อ

          แต่แม้จะมีการควบคุมกันแล้ว แต่โดยธรรมชาติก็ยังมีการบกพร่องอยู่บ้าง เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลจากความชุ่ยมักง่าย รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือบางทีก็รู้มาก




 ปัญหาในการผลิตแบบนี้มีการ “ดัก” ไว้แล้ว ผู้ผลิตที่มีจริยธรรมต้องจัดให้มีระบบการตรวจสอบแก้ไข (Corrective Action) เมื่อพบว่าผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด มีความเสียหายบกพร่องหรือเกิดปัญหาอะไรก็ตาม และจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนแก้ไขปรับปรุงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกหรือโอกาสจะเกิดมีน้อยลงด้วยความเอาใจใส่ ต้องการเป็นผู้ผลิตในระดับมาตรฐานและเหนือมาตรฐาน ไม่ให้ใครมาชี้หน้าว่าผลิตของห่วย ๆ คุณภาพแย่ ๆ ออกขายโดยไม่รับผิดชอบ

          เมื่ออุปสงค์ หรือ Demand มีมาก อุปทานหรือ Supply ขยับตัวขึ้นไม่ทัน จึงต้องเกิดการเร่งผลิตทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชิ้นส่วนมากซัพพลายเออร์มาเข้าโรงงาน แม้จะมีข้อกำหนดข้อปฏิบัติกันอยู่แล้วว่าการตระเตรียมชิ้นส่วนพวกนี้ต้องเตรียมการกัน ล่วงหน้าไม่ต่ำกว่าสามเดือน แต่ก็ใช่ว่าจะทันในทุกกรณียิ่งเมื่อมี Demand ล้นเหลือเกินกว่าจะคาด บางค่ายต้องยอมเปิดโรงงานแบบ 7-11 ไม่ต้องปิดไม่ต้องหยุดกันเลยเพื่อให้ทันกับออเดอร์คงค้าง

          แล้วคิดว่าทั้งรีบทั้งเร่งแบบนี้จะมีอะไรหลุดลอดสายตาของผู้ควบคุมคุณภาพที่ปลายสายพานบ้างมั้ยล่ะ??

          ไม่เป็นไร...เพราะบอกแล้วว่ารถทั้งคันไม่ใช่ขนมหรือชิ้นส่วนไก่อันไหนไม่เข้าเกณฑ์จะได้ดีดทิ้ง รถที่ไม่ผ่าน QC ต้องลงไปจอดรอ เพื่อตรวจเช็คให้แน่อีกทีว่าบกพร่องตรงไหน เป็นหน้าที่ซึ่งยากลำบากไม่น้อยนะ ที่ว่ายาก คือต้องวิเคราะห์เท่าที่สายตาเห็น และคิดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วน ลำบาก ก็คือ ลำบากใจ เพราะตรวจเข้มเจอเยอะก็หมายความว่ารถในสายพานนี้กำลังมีปัญหา ตรวจแล้วพบปัญหาบ่อยครั้งเกินไปหรือมากเกินไป ตัวคนตรวจนั่นแหละที่จะมีปัญหากับคนทำงานฝ่ายอื่น ๆ รวมทั้งกับซัพพลายเออร์ ตรวจแล้วปล่อยผ่านไปแล้วไปพบปัญหาทีหลัง ก็อาจแปลได้ว่าตัวผู้ที่ทำหน้าที่ QC นั่นแหละที่ไม่มีสมรรถนะบกพร่องซะเอง

          ตัดตอนมาถึงเมื่อรถออกจากโรงงานมาจอดอยู่ที่โชว์รูมรอคนมาซื้อ คราวนี้หากมีปัญหาจะไม่ใช่เรื่องของผู้ผลิตฝ่ายเดียวแล้ว แต่เกี่ยวข้องกับผู้จำหน่ายและผู้ให้บริการด้วย บางครั้งผู้ผลิตรู้ว่ารถล็อตนี้มีปัญหาแต่ก็เงียบ ๆ ไว้ ส่งให้ผู้จำหน่ายไปขายและเสี่ยงเอาเองว่าจะมีลูกค้ามาร้องเรียนหรือไม่ หรือบางทีรถขนส่งมาจากโรงงานเกิดอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ยังไม่เท่าไรพอจะซ่อมแซมได้ แต่บางทีรถตกจากแร็มป์ตอนขึ้นโชว์รูมยังมีการบิลท์เอามาขาย ดังนั้นจะเห็นว่าบางทีรถอาจไม่ได้เกิดปัญหามาจากโรงงานแต่มาเกินปัญหาทีหลังก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับ “ผู้ประกอบการ” ว่าจะมีความรับผิดรับชอบกันขนาดไหน

          เมื่อรถถูกซื้อไปแล้วเกิดปัญหา เช่น ใช้งานไม่ได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ บกพร่องตรงจุดโน้นจุดนี้หรือบางทีลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองได้รับรถย้อมแมวมาใช้ ผู้บริโภคพวกนี้จะทำอย่างไร...

          อย่างแรกสุดก็คงมาแจ้งให้ผู้ขายทราบเป็นขั้นตอนตามปกติ ในเมื่อเป็นผู้ขายก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบดูแลบริการผู้ซื้อ ไม่ควรรีบเรื่องไว้อย่างเดียวต้องหาทางแก้ไขด้วย การแก้ไขก็ว่ากันไปตามปัญหา ได้บ้างไม่ได้บ้างก็ต้องคุยกัน แต่หลายโชว์รูมไม่ค่อยยอมรับว่ารถที่ขายหรือคนที่ให้บริการกันแน่ที่ “มีปัญหา” หลายครั้งเหตุที่แก้ไม่ได้เป็นเพราะช่างบริการมือไม่ถึง โง่กว่ารถ หรือไม่ก็ชุ่ยเพราะเคยทำงานแต่กับอู่ข้างทาง กำลังคนขาดแคลนเขาก็เลยไปห้างมา ทำอะไรก็งู ๆ ปลา ๆ กา ๆ ไก่ ๆ ไปตามเรื่อง บางทีเป็นเด็กจบใหม่ไร้ประสบการณ์เอารถลูกค้าเป็นเครื่องฝึกฝีมือไปพลาง ๆ แบบนี้ก็มีเยอะ

          อันที่จริง สิ่งที่ผู้ขายหรือตัวแทนจำหน่ายต้องเตรียมให้พร้อมคือเรื่องของบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เครื่องมือบริการ และสถานที่ซึ่งพร้อมให้บริการ ถ้าไม้มีสิ่งเหล่านี้ถือเป็นความผิดของ “ผู้ผลิต” หรือบริษัทต้นสังกัดที่ระริกระรื้อยากเปิดโชว์รูมตัวแทนจำหน่ายให้ได้ปริมาณเยอะ ๆ แต่ทะลึ่งขาดคุณภาพปล่อยให้ผู้ซื้อไปเสี่ยงเอาเอง กรรมมันจะย้อนกลับมาหาเมื่อผู้ซื้อมีปัญหา สิ่งแรกที่จะนึกถึงคือ รถยี่ห้อ...#@$%$#@$%...มันห่วย

          แต่ก็มีอยู่ไม่น้อยที่ตัวรถต่างหากที่มีปัญหาจากการขาด QC หรือขาดคุณธรรมในอาชีวะ ใช้ของถูกของตกรุ่นหรือของไม่มีคุณภาพมาประกอบขึ้นเป็นรถเพื่อลดต้นทุน สมมุติตัวเลขรถ 100 คันที่มีปัญหาประมาณไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์หรอกที่มีปัญหาจากผู้ใช้ที่ใช้งานไม่ถูกต้อง นอกนั้นคลำไปให้ดีจะพบข้อบกพร่องที่มาจากรถทั้งสิ้นด้วยเหตุผลขาดคุณภาพการออกแบบ คุณภาพชิ้นส่วน คุณภาพการผลิต และคุณภาพของคนทำงาน



  วิธีการรับมือกับปัญหาลูกคำร้องเรียน

          ดังตัวอย่างที่เห็นมา ทันทีที่รู้ปัญหา จะมีการ “ชั่ง-ตวง-วัด” ทันทีระหว่างสิ่งที่จะเสียและสิ่งที่จะได้ หากสามารถประนีประนอมกับลูกค้าที่มีปัญหา เสียรถคันใหม่แลกกับใจลูกค้า หลายครั้งคุ้มค่า แต่การตัดสินใจมอบรถคันใหม่ไปเลยนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายต้องมีการสืบสวนว่าแท้จริงแล้วเป็นความบกพร่องของผู้ผลิตและ/หรือผู้จำหน่ายหรือไม่ อย่างใด ก่อนจะตัดสินใจแบบนั้น ไม่ใช่ลูกค้าร้องเรียนทุกรายจะจบแบบนี้ เพราะหลายครั้งเหมือนกันที่สืบเสาะเจาะลึกแล้ว เป็นความบกพร่องหรือใช้งานผิดประเภทโดยตัวลูกค้าเอง แต่จะมาเรียกร้องทั้งที่ทราบดีแก้ใจว่าเป็นความผิดของตัวแต่แกล้งทำเนียนไป หรือบางครั้งก็ต้องมีการอธิบายให้เข้าใจว่าไม่ใช่ความบกพร่องของรถ ถ้าลูกค้ายอมฟังก็จบตรงนั้นแต่ถ้ายังยืนยันว่าไม่ใช่ความผิดของตนก็ต้องฟ้องร้องกันแน่นอน

          บางค่ายผู้บริหารทำเมินเฉย อาจเป็นเพราะไม่ได้รับรายงานหรือมีการรายงานแล้วแต่รายงานนั้นกระดึ๊บกระดึ๊บยังไปไม่ถึง และมีหลายครั้งที่รับรายงานแล้วแต่ไม่รีบคิดแก้ไข ลูกค้าอดรนทนไม่ได้ ร้องเรียนสื่อมวลชน ร้องเรียนหน่วยงานที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เรื่องก็ยังไปไม่ถึงเท่าที่ต้องการ รู้สึกเหมือนโดนลอยแพไม่มีใครสนใจ แบบนี้ถึงมีการทุบรถเผารถติดสติ๊คเกอร์ข้อความประจานต่าง ๆ นานาเพื่อให้รู้บ้างว่า “เจ็บ...และไม่ยอมจบแน่นอน”

 
  สรุป 3 วิธีที่ให้ผลแตกต่างกัน

          แก้ไข : นั่นคือพยายามหาสาเหตุแล้วรีบแก้ไขด้วยวิธีนุ่มนวล สลายปัญหา ยอมได้ต้องยอม ต้องขอโทษในความผิดไม่ใช่ทำปากแข็ง ร้อนมาต้องสยบด้วยความเย็นและการแสดงออกที่จริงใจ จากนั้นใช้การเจรจาต่อรองและหาข้อเท็จจริง ข้อสำคัญเมื่อพบความบกพร่องแล้วต้องรีบนำไปเป็นข้อมูลในการแก้ไขหากมีกรณีแบบนี้อีก รวมทั้งมีการตรวจสอบความบกพร่องจากต้นตอไปเลย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำซาก สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความพึงพอใจ ลูกค้าจะโอนอ่อนลงกว่าครึ่งเพราะมีผู้เห็นใจในปัญหาและมีแนวโน้มในการแก้ไขปัญหานั้น

          แก้ตัว : บางค่ายใช้วิธี “โบ้ย” ปัญหานอกจากไม่ขอโทษ (ขอโทษในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าท่านจะผิด เพราะยังไม่รู้ว่าใครผิดกันแน่ แต่เป็นการขอโทษในความรู้สึกที่เสียไปของลูกค้า) แล้วยังบอกว่าเรื่องความบกพร่องของรถเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ นี่คือประโยคที่เลวร้ายที่สุดในสถานการณ์ที่มีผู้ใช้รถมาร้องเรียนถึงปัญหา อีกประโยคที่เลวและร้ายพอกันคือ “รถรุ่นนี้ก็ยังงี้แหละเจอกันทุกคัน” ลูกค้าจะคิดทันที อ้าว...แล้วทำไมกรุต้องเป็นคนเจอ (ด้วยวะ) ซ้ำร้ายบางค่ายใช้คนไม่มีประสบการณ์ (แม้จะเคยทำงานกับบริษัทรถยนต์อื่นมาแล้วแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเชี่ยวชาญแต่ประการใด) ไม่มีจิตวิทยา พูดข้าง ๆ คู ๆ ออกมาแก้ตัวให้กับบริษัทต้นสังกัด ยิ่งพูดสถานการณ์กลับยิ่งเลวร้าย เพราะบอกว่าเป็นจำนวนที่รับได้และเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของการผลิต (มีเสียงจากผู้บริโภคบอกลอยลมไปว่า “เป็นธรรมดาของการผลิตรถเฮี่ย ๆ น่ะสิ”)

          แบบนี้ไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น นอกจากแก้ตัวให้พ้นผิดแบบดริฟท์แถไปเรื่อย ๆ แล้วยังโยนระเบิดเข้ากองไฟด้วยการบอกว่าน่าจะเป็นความผิดของผู้ใช้รถที่ นำไปติดก๊าซบ้าง นำไปโมดิฟายบ้าง หรืออื่น ๆ บ้าง ทั้ง ๆ ที่จุดอันเกิดปัญหานั้นไม่เกี่ยวกับเชื้อเพลิงหรือเครื่องยนต์แต่อย่างใด ยกตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี้ มีกลุ่มผู้ใช้รถรุ่นหนึ่งประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน เช่น รอบเครื่องไม่นิ่ง ระบบเกียร์ทำงานแบบไม่สมบูรณ์ ความเร็วของรถเพิ่มหรือลดลงเอง ควบคุมไม่ได้ ปัญหาเหล่านี้ ผู้ใช้เข้าไปแจ้งแก่ผู้ให้บริการคือฝ่ายบริการของบริษัทรถยนต์และโชว์รูมตัวแทนจำหน่าย แก้แล้วไม่หาย ในที่สุดผู้ใช้รถรวมตัวกันได้เป็นกลุ่มใหญ่ ทางบริษัทผู้ผลิต จึงยอมเจรจาด้วยแต่ยังไม่จบง่าย ๆ เพราะโทษกันไปโทษกันมานี่เอง ที่แน่ ๆ สังคมให้ภาพลบไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ตอนออกมาชี้แจง (สุภาษิตไทย : คนดีคิดแก้ไข ที่เหลือไปต่อเองเองนะจ๊ะ)



          แก้ผ้า (เอาหน้ารอด) : อีกวิธีที่ไม่มีความจริงใจในการแก้ปัญหา แต่แก้ตัวแก้ไขแบบขอไปที คำว่า “แก้ผ้าเอาหน้ารอด” แม้จะมีความหมายว่า สละสิ่งจำเป็น เพื่อแก้ไขสถานการณ์หรือรักษาชื่อเสียง แต่ก็มีความหมายในทางลบว่า ทำยังไงก็ได้ให้รอดพ้นผ่านไปก่อน จากนั้นรอเวลาให้สถานการณ์คลี่คลายแล้วทำเนียน ๆ ไม่รู้ไม่ชี้ชะงั้น เป็นอันว่าปัญหาก็ยังคงอยู่ แต่ลูกค้าอ่อนใจไปเอง ลืมระวังว่าลูกค้าอาจใช้วิธีอื่นที่ไม่เป็นผลดีกับองค์กร

          ผู้ประกอบการหลายรายมักคิดว่า ลูกค้าแค่หยิบมือที่มีปัญหาไม่สามารถชี้เป็นชี้ตายได้ คิดแบบนี้สะสมนานไป ยอดลูกค้าที่ไม่พอใจและไม่พึงใจย่อมมากขึ้น ในที่สุดแม้แต่ผ้าก็คงไม่มีให้แก้อีกพวกที่ชอบดูถูกผู้บริโภคและไม่มีจริยธรรม อีกไม่นานก็เจ๊ง แถมยังอาจโคนฟ้องร้องเสียทั้งชื่อเสียงและเสียเงิน ในประเทศที่เขาพัฒนาแล้วจึงต้องระมัดระวัง เพราะมันได้ไม่คุ้มเสีย ดูแลตั้งแต่ต้นย่อมดีกว่ามาแก้ไขภายหลังเป็นไหน ๆ จริงมะ??
กิจการ คาร์แคร์ดูแลรักษารถครบวงจรด้วย Product Meguiars เคลือบแก้ว ติดตั้ง ยางลดเสียง Stuffit ติดต่อ: สมชาย Tel : 097-131-2335
Line ID: Tongsom1371 ร้านขายสินค้า: http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,3554.0.html

ขาวเข้ม

  • บุคคลทั่วไป
Re: เจ็บจี็ดส.....รถป้ายแดงมีปัญหา ผู้ขายทำอย่างไร?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2013, 02:39:00 »
ขอบคุณครับพี่โต้งข้อมูลดีๆอีก1กระทู้ครับ  :L2900:
 เริ่มง่วงแล้ว เดี๋ยวพรุ่งนี้มาอ่านต่อล่ะกัน :L2736:
ก่อนไปนอนขอมอบ  :L6428: ให้พี่โต้งเพิ่มอีก1like ที่42 สำหรับข้อมูลดีๆทั้งสามกระทู้ ขอบคุณครับ  :sd23:

ออฟไลน์ หยก วาฬน้ำเงิน

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 5,467
  • Like: 124
  • เพศ: ชาย
Re: เจ็บจี็ดส.....รถป้ายแดงมีปัญหา ผู้ขายทำอย่างไร?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2013, 08:29:37 »
ขอบคุณครับพี่โต้ง อ่านสนุกแถมได้ประโยชน์ด้วย :L2900: :L2758:

Let's rest in Pa-Mania's style......!!!

ออฟไลน์ พี่โต้ง Tongsom

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 6,283
  • Like: 186
  • เพศ: ชาย
  • Never Say Never ไม่มีแผนเดียว ในการแก้ปัญหา
Re: เจ็บจี็ดส.....รถป้ายแดงมีปัญหา ผู้ขายทำอย่างไร?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2013, 10:33:55 »
ขอบคุณครับ ถ้า forward ให้ ผู้บริหารของ บ.รถยนต์ อ่าได้ ก็ดีนะ เราแค่ผู้บริโภคตัวเล็กๆ
กิจการ คาร์แคร์ดูแลรักษารถครบวงจรด้วย Product Meguiars เคลือบแก้ว ติดตั้ง ยางลดเสียง Stuffit ติดต่อ: สมชาย Tel : 097-131-2335
Line ID: Tongsom1371 ร้านขายสินค้า: http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,3554.0.html

ออฟไลน์ พี่ปอ Lumlukka

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 855
  • Like: 31
  • เพศ: ชาย
  • Born to be Rock Star
Re: เจ็บจี็ดส.....รถป้ายแดงมีปัญหา ผู้ขายทำอย่างไร?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2013, 11:01:36 »


นั่นๆๆ พี่โต้งผมจัด Juke เข้าแล้ว....
เป็นรถ SUV ราคาประหยัดมากกกกกกก....

ผมยังชอบเลย แต่ติดตรงไฟหน้านี่แหละ....
อยากพึ่งบารมีพี่โต้งนะ... แต่พี่โต้งบอก Honda ช่วยไม่ได้...

 :sd21:
มิตรภาพดีๆ หาซื้อไม่ได้ด้วยเงิน

ออฟไลน์ น้อย..romberry

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 231
  • Like: 12
  • เพศ: ชาย
Re: เจ็บจี็ดส.....รถป้ายแดงมีปัญหา ผู้ขายทำอย่างไร?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2013, 11:03:47 »
ขอบคุณพี่โต้ง..มีของดีๆมาให้ความรู้ :L2900:

ออฟไลน์ ตูมตาม

  • Founder Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 6,865
  • Like: 260
  • เพศ: ชาย
Re: เจ็บจี็ดส.....รถป้ายแดงมีปัญหา ผู้ขายทำอย่างไร?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2013, 11:34:29 »
 :L2758: :L2758: :L2758: ขอบคุณพี่โต้งครับสำหรับบทความดีๆ เพิ่งได้มีเวลามานั่งอ่านอย่างละเอียด และเห็นด้วยกะพี่โต้งมากๆครับ  :L4399: :L4399: :L4399:
We are put in situations to build our characters, not to destroy us.

ออฟไลน์ ต๋อง Fuddy

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 8,332
  • Like: 170
  • เพศ: ชาย
  • *Love You Always*
Re: เจ็บจี็ดส.....รถป้ายแดงมีปัญหา ผู้ขายทำอย่างไร?
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2013, 12:15:34 »
ถ้าเกิดการ ฟ้องร้อง กฏหมายไทย ไม่เคยเข้าข้าง ผู้บริโภค  :L4386: :L4386: :L4386:

ออฟไลน์ พรเทพ จอมทอง

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 675
  • Like: 77
  • เพศ: ชาย
Re: เจ็บจี็ดส.....รถป้ายแดงมีปัญหา ผู้ขายทำอย่างไร?
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2013, 13:24:16 »
ขอบคุณครับ ถ้า forward ให้ ผู้บริหารของ บ.รถยนต์ อ่าได้ ก็ดีนะ เราแค่ผู้บริโภคตัวเล็กๆ

ถ้าไปทีละคัน ก็แค่ผู้บริโภคตัวเล็กๆ แต่ถ้าไปกันทั้งบ้านนี่น่าคิดนะพี่โต้ง

ออฟไลน์ พี่โต้ง Tongsom

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 6,283
  • Like: 186
  • เพศ: ชาย
  • Never Say Never ไม่มีแผนเดียว ในการแก้ปัญหา
Re: เจ็บจี็ดส.....รถป้ายแดงมีปัญหา ผู้ขายทำอย่างไร?
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2013, 15:29:23 »
เรื่องจริงครับ ก่อนหน้านี้หลายๆครั้ง ที่ผมเคยเขียนเอาไว้ ใครเป็นลูกจ้างค่ายไหน ไม่ซื้อยี่ห้อนั้น นอกจากจะได้ราคาถูกจริงๆ

Nissan Juke ที่ผลิต อินโด เรียนตามตรงว่า ไม่น่าซื้อครับ เพราะว่า Nissan ที่ อินโด ตลาดเล็กมาก ขายสู้ Daihasu Toyota ไม่ได้

Hodda Freed หรือ ฝืด ก็เหมือนกัน แต่อาศัย แรงงานไม่แพง อุปกรณ์ ความคงทนสู้ ผลิตเมืองไทยไม่ได้ นี่เรื่องจริง

ไม่ต้องเชื่อผม เชื่อครึ่งเดียวพอครับ ญี่ปุ่น ที่ซี้ๆกัน เล่าให้ฟัง
กิจการ คาร์แคร์ดูแลรักษารถครบวงจรด้วย Product Meguiars เคลือบแก้ว ติดตั้ง ยางลดเสียง Stuffit ติดต่อ: สมชาย Tel : 097-131-2335
Line ID: Tongsom1371 ร้านขายสินค้า: http://www.pajerosportmania.com/forum/index.php/topic,3554.0.html

ออฟไลน์ พรเทพ จอมทอง

  • Full Member
  • Pa Mania
  • *
  • กระทู้: 675
  • Like: 77
  • เพศ: ชาย
Re: เจ็บจี็ดส.....รถป้ายแดงมีปัญหา ผู้ขายทำอย่างไร?
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 10 ธันวาคม 2013, 16:58:29 »
เรื่องจริงครับ ก่อนหน้านี้หลายๆครั้ง ที่ผมเคยเขียนเอาไว้ ใครเป็นลูกจ้างค่ายไหน ไม่ซื้อยี่ห้อนั้น นอกจากจะได้ราคาถูกจริงๆ

Nissan Juke ที่ผลิต อินโด เรียนตามตรงว่า ไม่น่าซื้อครับ เพราะว่า Nissan ที่ อินโด ตลาดเล็กมาก ขายสู้ Daihasu Toyota ไม่ได้

Hodda Freed หรือ ฝืด ก็เหมือนกัน แต่อาศัย แรงงานไม่แพง อุปกรณ์ ความคงทนสู้ ผลิตเมืองไทยไม่ได้ นี่เรื่องจริง

ไม่ต้องเชื่อผม เชื่อครึ่งเดียวพอครับ ญี่ปุ่น ที่ซี้ๆกัน เล่าให้ฟัง
ผมเข็ดแล้วรถอินโด คันเก่าผมอินโนวา คุณภาพแย่มาก เคลม ขอบยางประตู เคลมกุญแจอิมโม มีจดหมายมาให้ตรวจล็อตผลิตล้อแมค ที่พักเท้าหัก พลาสติกล็อคค้ำฝากระโปรงหัก พลาสติกเสากรอบง่าย ชิ้นส่วนพลาสติกในตัวรถประกอบมาไม่เข้ารูปหลุดๆ ที่ว่ามาในประกันนะครับ ไปเคลมที่พักเท้า 0บอกไม่ได้เสียจากการใช้งานก็ผมเหยียบมันหัก เคลมขอบยางประตูซ้ายแต่0มันเปลี่ยนประตูขวาตอนไปเอารถรอยฉีกเดิมยังอยู่ 0เลยเคลมให้สองข้างเลย พอแระขี้เกียจบ่น