ผมก้อไม่ได้อะไรหนิพี่ก้อเหมือนกับสปริงพี่อะ
แต่ผมเป็นเรื่องเครื่องเสียง.
ร้านนึงบอกดีเลยไม่ต้องรอเบิร์น
อีกร้านนึงบอกต้องรอเบิร์นก่อนถึงจะดี. แค่นั้นเอง. คล้ายๆๆกันนิครับ. ที่ผมไปอ่านมา 
ขอแชร์ ตามที่ผมเข้าใจและทราบมานะครับ
Burn in test : ในขั้นตอนการผลิต product บางอย่างหรือสินค้าหลายชนิดเมื่อทำการผลิตเสร็จจะมีขั้นตอนของการตรวจสอบ QC หรือบางผลิตภัณฑ์จะมีขั้นตอนของ burn in test เข้ามาร่วมด้วย เพื่อหาค่าเฉลี่ยของความผิดผลาดจากการผลิตและเพื่อตรวจปรับให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดตามspecification ของการนำไปใช้งานของผู้บริโภค
หลักการแบบย่อของการ burn-in คือการให้อุปกรณ์นั้นๆทำงานในสภาวะต่ำสุด สภาวะต่อเนื่อง และสภาวะพีคสูงสุดของอุปกรณ์แบบทำซ้ำไปซ้ำมา แต่ก่อนการทดสอบนี้ต้องมีการ warm อุปกรณ์ตามขั้นตอนต่างๆด้วย และมีเงื่อนไขการทดสอบโดยแยกกันไปว่าแต่ละชนิดจะต้องทดสอบด้วยวิธีการใด เช่น
-
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนและมีการหมุน รวมไปถึงเครื่องยนต์กลไกล: ทดสอบการเดินเครื่อง การwarm การเพิ่ม load การทำงานต่อเนื่องในสภาวะอุณภูมิ การทำงานแบบ max load ทำวนทำซ้ำจนครบรอบของการทดสอบเพื่อตรวจปรับวัดค่าและปรสิทธิภาพที่ได้ นับเป็น รอบของการทำงาน โดยแต่ละรอบของการทดสอบประมาณเวลาเป็นช่วงชั่วโมงนาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการทดสอบ เครื่องที่ผ่านการทดสอบนี้จะได้รับเอกสารยืนยันหรือการ prove ว่าผ่านการตรวจสอบในรูปแบบต่างๆ
- ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า : ก็คือการทดสอบด้วยหลักการเดียวกัน คือ operate > continue >peak > loop back ด้วยเงื่อนไขต่างๆ
- ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องใช้สร้างขึ้น : สี เฟอร์นิเจอร์ ปูนก่อ เบาะ เก้าอี้ กลุ่มนี้จะใช้วิธีปล่อยให้เซ็ทตัวกับสภาวะอุณภูมิ แต่จะเลือกมาทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพสูงสุดเพียงจำนวนหนึ่งเพื่อหาความผิดผลาดและแก้ไขในขั้นตอนการผลิต เพราะกลุ่มนี้คือของใช้ประเภทใช้งานแล้วเสื่อมสภาพตามอายุ
- ผลิตภัณฑ์กลุ่ม โช๊ค สปริง : ก็คือการทดสอบด้วยหลักการเดียวกัน คือ operate > continue >peak ยิ่งถ้าโรงงานดีๆมีมาตรฐานจะทดสอบมาให้ในขั้นตอนการผลิตมาเลย และประทับตราผ่านการทดสอบพร้อมการันตีการใช้งาน หรือใช้วิธีสุ่มทดสอบจากสัดส่วน%ของยอดการผลิต กรณีแบบนี้ถ้าการทดสอบของผู้ใช้งาน 2 ท่านเป็นแบบนี้ละ
o คนที่ 1 ติดตั้งแล้วนำไปใช้งานปกติทั่วไป ไม่มีการบรรทุก ไม่มีการโดยสาร ให้ขับไปสัก 1000โลก็น่าจะ cover หลักการ operate > continue >peak ได้
หรือป่าวหรือต้องมากกว่านั้นอีก
o คนที่ 2 ติดตั้งแล้วนำไปใช้งานปกติทั่วไป ด้วยหลักการ operate > continue >peak และทำซ้ำ ด้วยระยะทางเพียงแค่ไม่ถึง 500 โล อาจจะได้
ประสิทธิภาพการใช้งานเร็วกว่าคนที่ 1
เครดิตจากกระทู้พี่หยก นาทีที่ 2.52 - 2.59
ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=bE2GmV8zelA
- มาถึงเครื่องเสียง สายไฟ แอมป์ : ลองหาวิธีว่าทำอย่างไร ให้ได้หลักการ คือ operate > continue >peak
- และลำโพง : เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุในการให้เสียงสะท้อนด้วยการทำงานของขดลวด และให้การตอบสนองความถี่ต่างๆ ด้วยวัสดุที่แต่ละยี้ห้อเลือกสรรกันมา ฉะนั้นการทดสอบประเภทนี้ต้องมุ่งไปที่การปล่อยความถี่ต่างๆเข้าไปให้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ได้ทำงานในช่วงความถี่นั้นๆ หรือลำโพงพวกซับเบสที่ต้องให้ทำงานแบบช้าไปเร็ว ไปช้า ไปกระแทก ไปต่อเนื่อง บางผู้ผลิตถึงขนาดทำแผ่น burn ออกมาด้วยซ้ำเช่น burn ด้วยความถี่ต่างๆกัน เพียงใช้หลักการและช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ก่อนการปรับแต่งเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ตัวอย่างเช่น
o คันที่ 1 ติดตั้งเสร็จ ให้นำไปใช้งานอีกสัก 100-200 ชม. วันหนึ่งขับรถเปิดฟัง 1-2 ชม ต้องใช้ถึง 100 -200 วัน อาจจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือนก็ได้ แล้วเสียง
จะดีขึ้น กว่านี้มาก ( แต่ถ้าคันที่ 1 นี้เปิดเบาๆ ไม่เคยเร่ง ไม่เคยทำให้ peak เขาจะได้รับอรรถรสนั้นไหม)
o คันที่ 2 ติดตั้งเสร็จ ใช้แผ่น Force ความถี่ ตามหลักการซัก 10 ชม. กับลำโพงทุกตัว แล้วปรับจูนเก็บอีกครั้ง แล้วส่งมอบรถ
**หมายเหตุ : จาก 2 ตัวอย่างนี้เพื่อนๆสมาชิกว่า ระหว่างคันที่ 1 กับคันที่ 2 คันไหนจะให้ประสิทธิภาพดีกว่ากัน ความเห็นส่วนตัว ฝากไว้เป็นข้อมูลอีกแนวทางสำหรับสมาชิกปามาเนียนะครับ
