จุ๊ จุ๊ เอามาฝากครับ (ห้ามเอ็ดละ)
ในใบสั่งจะระบุให้ไปชำระค่าปรับที่ไหน ภายในวันที่เท่าไร เช่นระบุให้ไปชำระค่าปรับภายในวันที่ ๑๑ มิ.ย.๕๒(ปกติ จพง.จะสั่งให้ไปชำระค่าปรับภายใน ๗ วัน นับแต่วันออกใบสั่ง) ความผิดฐานไม่ไปชำระค่าปรับตามคำสั่งเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดที่ระบุในใบสั่ง จะผิดตาม ม.๑๕๕ ระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ดังนั้นความผิดจึงเริ่มเกิดเมื่อวันที่ ๑๒ มิ.ย.๕๒ อายุความ ๑ ปี ลองนับดูว่าขาดอายุความเมื่อไร
งั้นก็แสดงว่า หากจะต่อภาษีผ่านได้นั้น ก็ต้องรอจนกว่าจะขาดอายุความ แล้วค่อยไปต่อภาษีใช่หรือป่าวครับ 
หรือว่า ๆๆๆ ให้เราไปชำระภาษีในวันที่ได้รับใบสั่งก่อนที่ความผิดจะเริ่มเกิดอ่าครับ 
พอดีตอนนี้กำลังจะครบต่อภาษี เผื่อจะได้เฟี้ยวฟ้าว ๆๆ ก่อนต่อ

ต่อได้ครับ ไม่ต้องรอหมดอายุความ จากอุทาหรณ์ข้างบน บอกว่า ในความผิดนั้นมีอายุความ 1 ปี หลังจากนั้น เจ้าพนักงานไม่สามารถกล่าวโทษ ร้องทุกข์ หรือฟ้องร้องผู้ทำผิดได้ ยกผลประโยชน์ให้จำเลย ฉนั้นพี่พงษ์เก็บไว้เป็นที่ระทึกครับ
***แต่สาระสำคัญ คือ 2 หน่วยงานราชการ ทำงานไม่สัมพันธ์กัน นี่คือบกพร่องทางราชการครับ
อีกอย่างไม่ได้ส่งเสริมหรือยุยง ให้พี่ๆน้องๆปามาเนีย กระทำผิด ขับรถควรปฏิบัติตามกฏหมายที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รักนะจึงมาบอก อิอิ
พี่ต๋อง ว่ากันตามตัวกฎหมายนะครับ ความผิดที่เขียนอยู่ในกฎหมายมี 2 ความผิดคือ
1. การทำผิดกฎหมายจราจร ซึ่งแจ้งอยู่ในใบสั่ง มีการสั่งให้เสียค่าปรับเท่านั้นเท่านี้
2. การทำผิดคำสั่งเจ้าพนักงาน คือเจ้าพนักงานสั่งให้เสียค่าปรับใน 7 วัน แต่ไม่ได้ไปเสีย อันนี้เป็นอีกความผิดหนึ่ง แยกออกจากความผิดข้อที่ 1 (เจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะสั่งปรับเพิ่มอีกในความผิดที่ 2 นี้ได้ต่างหาก โดยแยกจากความผิดที่1)
ในกฎหมายระบุอายุความไว้ 1 ปี สำหรับความผิดที่ 2 เท่านั้นนะครับ คือการไม่ไปจ่ายค่าปรับ นับจากวันสิ้นสุดในใบสั่ง 1 ปี หลังจากนั้นเจ้าพนักงานสั่งปรับในกรณีความผิดที่ 2 นี้ไม่ได้อีกแล้ว.....แต่ความผิดที่ 1 นั้นยังอยู่นะครับ...คือการทำผิดกฎจราจร และค่าปรับที่กำหนดไว้ในใบสั่งนั้นยังไม่ได้หมดอายุความตามไปด้วย ผมไม่แน่ใจว่าการทำผิดตามกฎหมายจราจรนั้นมีอายุความหรือเปล่า ถ้าไม่มี ก็ยังกลับมาเอาผิดได้อีกในอนาคต แต่ถ้ามีอายุความ ก็นับจากวันที่กระทำผิดไปตามอายุความนั้น หลังจากนั้นก็ปรับไม่ได้....อย่าเข้าใจผิดคิดว่าหลังจาก 1 ปี แล้วทั้ง 2 ความผิดหมดอายุความนะครับ
แต่ประเด็นสำคัญในกรณีนี้คือการทำงานของตำรวจ กับกรมการขนส่งทางบกนั้น ไม่ประสานสอดคล้องกัน ด้วยระบบนี้ต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ทั้งระบบ ซึ่ง infrastructure ทางด้าน IT นั้นยังยากที่จะรองรับระบบ online แบบ real time กับข้อมูลขนาดมหาศาลอย่างทะเบียนรถ และใบสั่งได้.....ระบบฐานข้อมูลของตำรวจเอง เก่ามาก ไม่มีการพัฒนามานานแล้ว....ส่วนระบบฐานข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ทันสมัยกว่าตำรวจ แต่ก็ยังห่างไกลจากการจะนำมาใช้งานได้จริงจังอีกเยอะ......แถมระบบฐานข้อมูลของกรมตำรวจ และกรมการขนส่งทางบกยังตั้งอยู่คนละที่....ไม่สามารถ sync เข้าหากันแบบ real time ได้อีก......และยิ่งเจอปัญหามากขึ้นอีกเวลา sync กัน เพราะ ฐานข้อมูลพัฒนามาจากคนละหน่วยงาน อยู่บนพื้นฐานของคนละระบบ มีการใช้ภาษา (คอมพิวเตอร์) ที่แตกต่างกันอีก......ดังนั้นคงยังอีกซักพักใหญ่ๆละครับ กว่าที่ระบบนี้จำทำงานได้จริงจัง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าใบสั่งทุกใบจะไม่ไปปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลของกรมการขนส่งทางบกนะครับ....มันมีบ้าง มีข้อมูลบางส่วนที่ถูกส่งไปจากทางตำรวจ และมีการนำไป sync เข้ากับระบบของกรมการขนส่งทางบก....มีบ้างที่เจอว่าต่อทะเบียนไม่ได้เพราะติดไม่ได้ชำระค่าใบสั่ง.....มีบ้าง แต่มากแค่ไหนไม่มีใครรู้....เหมือนอยู่ที่ดวง...ดวงดีก็รอดไปแบบพี่ต่อง ดวงซวยก็ไม่รอดครับ
เป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้พี่ๆนะครับ จากที่ผมได้ไปคุยกับพี่ที่อยู่จราจรกลางมาเมื่อเร็วๆนี้
