(เครดิต ทีมที่ปรึกษา รั้วสังกะสี)ตอน15 - Log History กับกล่องสมองกลที่อัจฉริยะ ?? หมายเหตุ : ข้อมูลที่จะแชร์ต่อไปนี้ป็นวิธีการในการสร้าง concept design และแนวคิดจากห้องอบรมแห่งหนึ่ง เป็นการเขียนภาพเพื่อสื่อสารข้อมูลเชิงแนวความคิดโดยของจริงอาจจะไม่ใช่แบบนี้ทั้งหมด สามารถใช้ในการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกันได้ อยากให้อ่านจนเข้าใจหลักการเบื้องต้นจะได้รู้ว่ากล่องสมองกลที่อัจฉริยะ มันให้อะไรเราบ้าง ในมุมผู้ใช้งานทำไมบางครั้ง วิ่งดี บางครั้งวิ่งไม่ออก บางทีไม่นุ่มนวล บางทีควันดำ กระตุก (นำเข้าศูนย์บริการหาย ออกมาก็เป็นอีก) งง ??มาเริ่มกันก่อน เช้านี้ เลยครับ

จากตารางให้เราดูในช่องสีส้ม จะเป็นค่าที่ตั้งค่ามาจากการออกแบบกล่องสมองกล ในช่องตาราง T1 ..2...3.. นั้น จะมีค่า range อยู่ในช่วงของการออกแบบระบบ พอเราเริ่มใช้งานรถยนต์ แต่ละช่วงเวลาแต่ละครั้ง กล่องมันจะเริ่มเก็บค่าตามระยะกดคันเร่งของเรา เพื่อบันทึกค่าลงในตารางประวัติ 1.2..3 ไปเรื่อยๆ จากนั้นกล่องสมองนี้จะประมวลค่าเพื่อหาค่าเฉลี่ยแต่ละตารางมาเป็น 1 ค่า ในช่วงตารางนั้น ของแต่ละตาราง เพื่อให้ได้ค่าค่าหนึ่งที่พร้อมนำไปประมวลผลกลาง สั่งให้ ECU สั่งจ่ายน้ำมันตามพฤติกรรมการใช้รถของแต่ละท่าน วนเวียนแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยค่าทั้งหมดที่วิ่งอยู่นั้นจะไม่เกินไปกว่าค่าของ range ที่ระบบมีอยู่ สืบไป
เมื่อเราเริ่มใช้งานรถเรา จะได้ค่าประมาณนี้
ในกรอบเขียว จะเป็นค่าที่กล่องจัดเตรียมไว้ให้ตามช่วง range ที่มีอยู่
ในกรอบแดง จะเป็นค่าประวัติบันทึกพฤติกรรมการขับขี่ของเราแต่ละครั้ง
กรอบฟ้าด้านบน เป็นตัวเลบเฉลี่ยจาก log ของพฤติกรรมการขับขี่มาประมวลเป็นค่าที่จะนำไปใช้งาน
***ฉะนั้นสังเกตุตรงนี้ว่า ถ้ารถที่ใช้งานแบบเรื่อยๆ ช้าๆ saveๆ จะมีค่าตัวเลขกระจายในตารางเป็นตัวเลขต่ำๆ แต่กับรถอีกคันที่ขับแบบ sport จะมีค่าตัวเลขในตารางเป็นตัวเลขที่สูงกว่า ตรงนี้จึงแสดงให้เห็นว่า การตอบสนองการขับขี่ของรถ 2 คันนี้ ต่างกัน แต่เราก็สามารถขับแบบ sport ได้เมื่อเราเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ เพียงแต่อาจจะใช้เวลาหน่อย จนกว่าตาราง his จะค่อยๆเปลี่ยนแปลง ไป
ผลจากการ learning reset 
การ learning reset จากศูนย์ด้วยเครื่องมือ จะทำการย้อนกลับเพื่อจ่ายค่าเดิมปกติให้กับตาราง ตามค่าที่กำหนดไว้ และพร้อมกันน้ยังมีหน้าที่ตรวจสอบ checking ระบบ sensor ต่างๆ วาวล์ ลิ้้น ต่างๆ เพื่อเป็นการทดสอบค่าเปิดปิด ตรวจสอบค่าเป้าหมาย ว่าอุปกรณ์และระบบ ยังให้ค่าแบบเดิมได้ไหม ดำเนินการตามขั้นตอนจนจบจะได้ประมาณนี้ ในกรอบแดงจะได้ค่าตัวเลข his ค่าหนึ่งตามโปรแกรมระบบตั้งให้ เป็นค่าเฉลี่ยจากาออกแบบ ค่าในกรอบฟ้า จะเป็นค่าที่เฉลี่ยจากค่าที่กำหนดมา (แทนที่ด้วยค่า X....?) **พอเรานำมาใช้งานปกติ ค่าตัวเลขในตารางกรอบแดง จะบันทึกใหม่ ทั้งนี้จะไม่เกิน range ของค่าในกรอบเขียว ของกล่องหลัก
การ Up Firmware
การ upgrade firmware เป็นการแก้ปัญหาที่ทางผู้ผลิตได้ปรับปรุงแก้ไขโปรแกรม ให้ทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น บางอย่างอาจไม่ดีกว่าเดิม บางอย่างอาจดีกว่าเดิม จุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหา ลดปัญหา หลบปัญหา ปรับลดลงจะได้ไม่เป็นเหตุที่มาของปัญหา ก็สุดแล้วแต่เราจะโดน versions ไหน ดังเช่น
ในกรอบเขียว แทบสีส้ม ของค่ากล่่องหลัก ถูกเปลี่ยนแปลงค่าของ range ให้มีช่วงกว้างกว่าเดิม หรือบางอย่างลดลงแล้วแต่ แต่ให้ผลคือค่าในการบันทึกของตารางhis จะมีตัวเลขของ range ใหม่มาช่วยในการเป็นตัวฌฉลี่ยค่าให้กับการใช้งานปัจจุบัน อย่างเช่นตัวเลขในวงแดงๆ และเป็นไปตามที่อธิบายไว้ข้างบนครับ
การพ่วงกล่องหรือใส่กล่องแต่งมีผลอะไร ให้ผลอะไร ทำไมถึงแรงได้

จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าค่าตัวเลขที่ ecu นำไปใช้นั้น จะดึงค่าจาก history ไปก่อน หากไม่มีก็จะดึงส่วนที่สำรองไว้ไปแทนที่ ฉนั้นการพ่วงกล่องหรือใส่กล่องเพิ่มก็คือการเพิ่มค่า หลอกค่า ชดเชยค่าต่างๆให้กับตารางหลัก เพื่อให้ประมวลผลแบบเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ต้องไปจูนหรือเขียน โปรแกรมกล่องหลัก(คล้ายหลักการการ up ค่าในfirmware) ตามตัวอย่างนี้
ลูกศรแดง เป็นค่าที่ได้จากโปรแกรมกล่องหลัก+his ของการบัยทึกการขับขี่
ลูกศาเขียว เป็นค่า ที่ให้หลักการเหมือนตัวคูณในระบบ(ตามหลักการของกล่องนั้นๆ) เพื่อเพิ่มค่าต่างๆเข้ามา จนได้ค่าที่เปลี่ยนแปลงไป
ลูกศรฟ้า เป็นค่าใหม่ที่จะสั่ง ecu ให้ทำงานใหม่ด้วยค่าที่ชดเชยกันมา และตอบสนองการขับขี่ให้ผู้ขับขี่รู้สึกได้ ในการใช้งาน
มาเข้าประเด็น " รถวิ่งไม่สมูธ ควันกระจาย เกียร์ไม่เปลี่ยน วิ่งไม่พุ่ง "เมื่อเราเข้าใจรถ เข้าใจหลักการแล้ว ก็ใช้มันให้เป็นครับ ในการออกแบบรถนั้นเขาจะออกแบบตารางแบบก้าวหน้า คือชดเชยค่าในตารางไปเรื่อยๆ ยิ่งพวก VG turbo นั้นมีข้อดีในการสลัดใบพัดเพื่อเพิ่มบูสอีก เมื่อรอบได้และความเร็วเครื่องยนต์พอ ก็จะจ่ายค่าชดเชยให้เครื่องยนต์ทำงานได้ตามประสิทธิภาพของการออกแบบ
คราวนี้ในการออกแบบ คงไม่มีใครคิดหรอกว่า พอรถเริ่มวิ่งรอบเริ่มมา เทอร์โบเริ่มจะตื่น น้ำมันเตรียมจะจ่าย ทันใดนั้นมีการลดความเร็วลง ทำให้อารมณ์ sport ค้างเหมือนห้อย พอระบบค้างเราก็เร่ง ผลก็คือการเพืี้ยนของการทำงาน แสดงออกมาในลักษณะต่างๆ รู้ไหมว่าแบบไหนที่มันออกอาการนี้
" ก็การใช้รถในเมืองนี้แหละ คืออยากมันส์เพราะเทคโนโลยีแรง พอจะมันส์ก็ต้องเบรคเพราะ รถติด พอจะเหยีบบ ควันท่วมตูด กระตุก กระเด้ง กระเด้า จาเจ้าของรถรู้สึกเซ็ง " พอไปแจ้งศูนย์ ช่างก็กุมขม่ำ จับอาการไม่ถูก เอาว่ะกรู up ecu learning ไปก่อนแล้วกัน
***แล้วคราวนี้รู้หรือยังว่าทำไมอาการมันดีขึ้น ยิ้มออกจากศูนย์ พอใช้ไปสัก 4-5 วันอาการกลับมาอีกล่ะ เบื่อ งง จนอยากจะขายรถทิ้ง


?
คำแนะนำ1. ใช้รถให้คุ้มค่าตามความเป็น sport ของมัน โดยขับเร็วบ้าง ใช้คันเร่งให้ลึกๆ เร็วๆ ขยี้ๆ บ้าง ระวังขับช้าๆ จะสิ้นเปลืองกว่าเดิม
2. clear batt ข้ามคืนไปเลบ เพื่อลบค่าในตารางhistory ออก (ตามรูป) จะได้ผลเร็วกว่าการเปลี่ยนวิธีการขับขี่ และให้กล่องมันเรียนรู้เองใหม่ โดยที่ไม่ได้ clear batt
***** 5 - 6 ตารางนี้ คงพอจะแชร์ให้ได้รู้ถึงกล่องสมองกลที่อัจฉริยะของ Pajero Sport ของเราได้บ้างนะครับ ตารางนี้ทำขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลเท่านั้นขอให้ท่านใช้รถอย่างมีความสุข นะครับ......แล้วพบกัน